Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร เก็บเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินได้ไหม | เงินทองของจริง в хорошем качестве

พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร เก็บเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินได้ไหม | เงินทองของจริง Трансляция закончилась 11 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร เก็บเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินได้ไหม | เงินทองของจริง

อีกหนึ่งเครื่องการเก็บเงิน พันธบัตรรัฐบาล มันคืออะไร ได้ผลตอบแทนอย่างไร วันนี้มีคำตอบ พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) หรือตราสารหนี้รัฐบาล เป็นตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ โดยผู้ซื้อหรือนักลงทุน จะมีสถานนพเป็นเจ้าหนี้ ที่จะได้รับการชำระหนี้ และผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย จากลูกหนี้ คือ รัฐบาลหรือหน่วยงานที่ออกพันธบัตรนั้น ๆ การลงทุนในพันธบัตรจึงไม่ซับซ้อนเท่าการลงทุนแบบอื่น นักลงทุนสามารถซื้อพันธบัตรมาเก็บไว้ จนถึงเวลาไถ่ถอนก็จะได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเฉลี่ยปีละประมาณ 3 โดยผู้ซื้อธนบัตรรัฐบาลประหนึ่งเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล ทำให้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล จากลูกหนี้คือรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ออกพันธบัตรนั้น ๆ ข้อดีของพันธบัตรรัฐบาล คือ มีความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หาย ได้รับผลตอบแทนที่ดี โดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากำหนด ระยะเวลาลงทุนไม่นานมาก เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี 7 ปี โดยคุณซื้อพันธบัตรมาเก็บไว้จนถึงเวลาที่ต้องไถ่ถอนตามกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยรายปี ๆ แต่เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุน จึงย่อมมีความเสี่ยงและเงื่อนไขการลงทุนที่เราต้องศึกษา พันธบัตรแบ่งเป็น 4 ประเภท 1.พันธบัตรตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) เป็นพันธบัตรที่มีความมั่นคงสูงสุด เพราะออกโดยกระทรวงการคลัง จึงมีความเสี่ยงน้อย แต่ผลตอบแทนต่ำ ตั๋วเงินคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย แต่ใช้วิธีขายต่ำกว่าเพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน โดยระยะเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี 2.พันธบัตรตั๋วสัญญาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructure Bill) เป็นพันธบัตรที่ออกโดยสถาบันการเงิน เพื่อระดมทุนช่วยเหลือฟื้นฟูกองทุน และพัฒนาสถาบันการเงิน มีความเสี่ยงมากกว่าตั๋วเงินคลัง ให้ผลตอบแทนด้วยวิธีขายต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนคืนเต็มราคา และไม่ได้รับดอกเบี้ย ไถ่ถอนได้ภายใน 6 เดือน 3.พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับพันธบัตรประเภทนี้ ที่ออกโดยรัฐบาลเพื่อระดมทุนไปใช้ในการบริหารประเทศ ลดการขาดดุลทางการเงิน ถือเป็นตราสารหนี้ระยะยาว มีอายุมากกว่า 1 ปี ส่วนใหญ่อยู่ที่ 3-7 ปี มีการจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง 4. พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Saving Bond) เป็นการซื้อพันธบัตรเพื่อออมทรัพย์ โดยจะขายให้กับบุคคลทั่วไปและองค์กรไม่แสวงหากำไรในสังกัดของรัฐบาล มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ความเสี่ยงหรือมีข้อควรระวัง การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลถูกจัดให้เป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนจึงมีความเสี่ยงในการลงทุนเป็นธรรมดา ก่อนจะลงทุนในพันธบัตรคุณต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ก่อน ความเสี่ยงที่ว่านี้ แบ่งออกเป็น 1. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่คุณหมดสิทธิ์ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นตาม เพราะพันธบัตรรัฐบาลเป็นดอกเบี้ยตายตัว คุณก็จะเสียผลประโยชน์ในจุดนี้ไป 2. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) เพราะพันธบัตรมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ต้องถือให้ครบตามสัญญาจึงจะได้เงินคืน ไม่สามารถไถ่ถอนก่อนถึงกำหนดเวลาได้ 3. ความเสี่ยงด้านสภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Risk) ในกรณีที่ค่าเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ แต่ดอกเบี้ยจากพันธบัตรยังเท่าเดิม ก็จะไม่คุ้มค่าที่ลงทุนไป ถ้าคุณคิดว่ารับความเสี่ยงนี้ได้ ก็ลุยต่อ แต่สิ่งต่อมาที่คุณต้องพิจารณาคือ ภาษี มีทั้งภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ โดยผลตอบแทนจากดอกเบี้ยของพันธบัตรต้องถูกนำมาคิดภาษีด้วย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ภาษีที่ผู้จ่ายเงินปันผลหรือผู้ออกพันธบัตรต้องหักเอาไว้ 10 ในทุกกรณี ขณะที่ภาษีเงินได้ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาจะเสียภาษี 15 จากดอกเบี้ยที่ได้รับ พบกับ โค้ชหนุ่ม และ กาย สวิตต์ ได้ใน เงินทองของจริง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero #เงินทองของจริง #TERODigital #CH7HDNews

Comments