У нас вы можете посмотреть бесплатно ฎีกา InTrend EP.66 ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยติดจำนองที่จะใช้สิทธิไถ่ถอน..ต้องเสนอชดใช้อย่างไร или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
ฎีกา InTrend EP.66 ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยติดจำนองที่จะใช้สิทธิไถ่ถอน..ต้องเสนอชดใช้อย่างไร The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์ การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเป็นวิธีการหนึ่งที่อาจทำให้ได้ทรัพย์สินมาในราคาพอเหมาะพอสม หรือหากโชคดีอาจได้ทรัพย์ในราคาถูกกว่าท้องตลาด แต่หากมีการขายทอดตลาดโดยติดจำนองไปด้วย ผู้ซื้อทรัพย์ที่รับโอนทรัพย์นั้นมาก็มีสิทธิขอไถ่ถอนจำนองได้ แต่ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยติดจำนองซึ่งต้องการจะใช้สิทธิไถ่ถอนจำนองจะต้องเสนอชดใช้ให้เจ้าหนี้จำนองมากน้อยเพียงใด นายกุ้งกู้ยืมเงินจากธนาคารโดยนำที่ดินแปลงหนึ่งไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันให้ไว้แก่ธนาคาร ตามสัญญาจำนองระบุว่าจำนองเป็นประกันเงินต้นขั้นสูงสุด 83,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นอกจากนั้นนายกุ้งยังกู้ยืมเงินจากนางเขียว นายกุ้งผิดนัดไม่ชำระเงินให้นางเขียว จนถูกนางเขียวฟ้องและแพ้คดี นางเขียวได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงดังกล่าว นายไก่ต้องการซื้อที่ดินเพื่อมาปลูกบ้านอยู่อาศัยจึงได้ไปตรวจดูข้อมูลการประกาศขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีปรากฏว่าเจอที่ดินของนายกุ้งที่มีการประกาศขายทอดตลาดโดยติดจำนองที่มีอยู่กับธนาคารไป ตามประกาศระบุว่าผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้จำนองด้วยและประเมินราคาทรัพย์จำนองไว้ 500,000 บาท โดยคิดถึงวันประกาศขายทอดตลาดมีหนี้จำนองทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชำระ 700,000 บาท นายไก่ประมูลซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวได้ในราคา 49,000 บาท ต่อมานายไก่ขอไถ่ถอนจำนองโดยเสนอชำระเงินตามจำนวนเงินต้นในสัญญาจำนอง พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 160,000 บาท ธนาคารไม่ยอมรับไถ่ถอน นายไก่จึงมาฟ้องธนาคารเป็นจำเลย ขอให้บังคับธนาคารให้ยอมให้ไถ่ถอนจำนองตามข้อเสนอดังกล่าว ตามปกติของผู้ที่รับโอนทรัพย์ที่มีการนำไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเพื่อชำระหนี้ก็จะมีสิทธิของตนที่แยกต่างหากจากสิทธิหน้าที่ของผู้จำนองเดิม สิทธิที่สำคัญประการหนึ่งคือสิทธิที่จะไถ่ถอนจำนองเพื่อทำให้ทรัพย์นั้นหลุดพ้นจากการตกเป็นภาระจำนองที่อาจถูกยึดไปบังคับคดีได้ในอนาคต แต่สิทธิดังกล่าวจะมีต้องไม่ใช่กรณีที่ผู้รับโอนทรัพย์นั้นเป็นตัวลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้เอง หรือเป็นทายาทของลูกหนี้หรือทายาทของผู้ค้ำประกัน เพราะในกรณีดังกล่าวลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันยังคงมีหนี้ที่ต้องชำระตามเงื่อนไขและจำนวนในมูลหนี้ที่จำนองนั้นเป็นประกัน มิฉะนั้นย่อมเป็นทางให้หลีกหนีจากภาระที่ตนต้องรับผิดชอบอยู่ได้ ปัญหาที่สำคัญสำหรับกรณีนี้คงเป็นในส่วนที่การไถ่ถอนจำนองดังกล่าวของผู้รับโอนทรัพย์จะต้องเสนอชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนองมากน้อยเพียงใดจึงจะทำให้เกิดหน้าที่ของผู้รับจำนองที่ต้องยอมให้มีการไถ่ถอนจำนองทรัพย์นั้น การเสนอขอไถ่ถอนจำนองนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 738 กำหนดไว้ว่าผู้รับโอนที่จะไถ่ถอนจำนองจะต้องเสนอชดใช้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์ ดังนั้น แม้ว่าหนี้จำนองจะสูงกว่าราคาทรัพย์นั้นเพียงใด ผู้รับโอนมีหน้าที่เพียงเสนอชดใช้ให้พอเหมาะพอควรกับราคาทรัพย์ก็สามารถขอไถ่ถอนจำนองได้ ปัญหาของกรณีนี้เกิดจากการที่นายไก่เสนอขอไถ่ถอนจำนองโดยอ้างว่าตามสัญญาจำนองระบุต้นเงินเพียง 83,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี จึงได้เสนอชดใช้เป็นจำนวน 160,000 บาท แต่แม้ยอดเงินตามสัญญาจำนองจะระบุไว้ดังกล่าว แต่กรณีนี้ปรากฏว่ายอดหนี้ที่ค้างชำระจริง ๆ สูงถึง 700,000 บาท ทำให้ธนาคารไม่ยอมไถ่ถอนจำนอง อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ในการประกาศขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินราคาทรัพย์ไว้ที่ 500,000 บาท เมื่อไม่มีการนำสืบให้เห็นว่าราคาตลาดของที่ดินแปลงนี้เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น การจะใช้สิทธิไถ่ถอนจำนอง อย่างน้อยนายไก่จึงต้องเสนอชดใช้เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท แม้จำนวนที่จะต้องใช้จะมากกว่าที่นายไก่เสนอตอนแรก แต่นายไก่เองก็ประมูลซื้อมาในราคาเพียง 49,000 บาท เพราะเป็นราคาที่ต้องคำนึงถึงภาระหนี้จำนองอยู่แล้ว เมื่อรวมกับจำนวนเงินไถ่ถอนอีก 5 แสนบาทก็น่าจะสมเหตุสมผลอยู่ อย่างน้อยก็ชำระน้อยกว่ายอดหนี้ที่ค้างจริง ๆ อีกมากอยู่ ดังนั้น กรณีที่ผู้รับโอนทรัพย์จำนองจะไถ่ถอนทรัพย์จำนองได้ แม้ไม่ต้องชดใช้เท่ากับยอดหนี้จำนองที่ค้างชำระทั้งหมด แต่อย่างน้อยต้องพอสมควรกับราคาตลาดของทรัพย์จำนองนั้นในเวลาที่ขอไถ่ถอนจำนองจึงสามารถบังคับเจ้าหนี้จำนองให้ยอมรับการไถ่ถอนได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2563)