Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ตัวเหนี่ยวนำ EP.2 (ตัวเหนี่ยวนำ เก็บ พลังงานได้อย่างไร ?) в хорошем качестве

ตัวเหนี่ยวนำ EP.2 (ตัวเหนี่ยวนำ เก็บ พลังงานได้อย่างไร ?) 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ตัวเหนี่ยวนำ EP.2 (ตัวเหนี่ยวนำ เก็บ พลังงานได้อย่างไร ?)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY หลังจากที่ผม เคยทำคลิปคลิปหนึ่ง ได้อธิบายไปแล้วนะครับ ว่า ตัวเหนี่ยวนำคืออะไร ก็ถือว่า ได้รับความสนใจจาก เพื่อนๆเป็นจำนวณมาก หลายๆคน ก็สามารถ เอาไปต่อยอด ใช้กับงานต่างๆได้เลย แต่ อีกหลายๆท่าน ก็ยัง มองภาพไม่ค่อยออก ยังสอบถามเข้ามาเรื่อยๆ งั้นเดี๋ยวคลิปนี้ ผมจะทำเป็น คลิป EPที่2 ให้เพื่อนๆได้รับชมอีกครั้ง ละกันนะครับ ก็เปรียบเสมือน ว่า เป็นการค่อยๆต่อจิกซอ ให้เพื่อนๆได้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะว่า ตัวเหนี่ยวนำเอง ค่อนข้าง มีความ สำคัญมาก ในหลายๆวงจร อย่างเช่นวงจร เพิ่ม หรือ ลด แรงดันไฟฟ้า ก็จะใช้หลักการของตัวเหนี่ยว นี้แหละครับเป็นหัวใจหลัก เดี๋ยว ผมจะขออนุญาตอธิบาย Basic พื้นฐาน กันต่อ ตามความเข้าใจของผมเอง อธิบายง่ายๆ ตามสไตล์ของช่อง ZimZim ละกันนะครับ เพราะฉะนั้น ข้อมูลส่วนไหน ที่มีข้อผิดพลาดเพื่อนๆก็สามารถ เสนอแนะ หรือ โต้แย้ง เข้ามาได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ ตัวเหนี่ยวนำ ถ้าเรา กลับมาย้อนความทรงจำสักนิดส์ หนึ่ง มันก็คือตัวเก็บพลังงาน ไว้ชั่วคราว ในรูปแบบของสนามแม่เหล็ก วิธีการสร้างมันขึ้นมาก็ไม่ได้ยากอะไรเลยครับ เราจะเห็นว่า แม้แต่ ลวดทองแดง เพียง 1 เส้น ก็ยังสามารถสร้าง สนามแม่เหล็ก วงเล็กๆให้เกิดขึ้นได้..... ถ้าหากเรามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน.... ส่วน ทิศทางของ สนามแม่เหล็ก เราก็ ทราบได้จาก กฎการกำมือขวา หัวแม่ ชี้ไปทางไหน นั้น ก็ คือทิศทางของกระแสไฟ ส่วนนิ้ว อื่นๆ ที่กำอยู่ นั้น ก็คือทิศของสนามแม่เหล็ก แต่ถ้าหาก เราเพิ่มเติม ด้วยการ ม้วน ขดลวดทองแดง เพิ่มเข้าไปอีก เราก็จะสามารถ สร้าง สนามแม่เหล็กที่เข้มข้นมากขึ้นไปอีกได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอื่นๆอีกเช่น ขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง ความยาว จำนวนรอบ และก็ประเภทของแกน ก็มีผลทั้งสิ้น ในลักษณะการทำงานของตัสเหนี่ยวนำ ถ้าหาก เราป้อน กระแสชุดแรกเข้าไป กระแสมันก็จะเริ่มไหลผ่านขดลวดเข้าไปใช่ไหมครับ ระหว่างกระแสไหลผ่าน สนามแม่เหล็กก็จะเริ่มเกิดขึ้น และเริ่ม ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมันขยายจนได้ที่ มันถึงจะยอม กระแสไหลผ่านตัวมันได้สะดวก ถ้าเรามาสังเกตุ ที่กราพ ในช่วงแรก เราก็จะเห็นว่า กระแส มันไม่ได้ไหล ขึ้นเป็นเส้นตรงเป๊ะ เมื่อเทียบกับเวลา แต่กระแสมันจะค่อยๆเพิ่มๆขึ้น คล้ายกับ ฟังกชั่น Square Root ที่เป็นอย่างงั้นเพราะว่า ในช่วงแรก อย่างที่ผมบอก มันมีการสร้าง สนามแม่เหล็ก ความต้านทานจึงสูงอยู่นั้นเอง แต่พอมันถึงจุดๆหนึ่ง ที่สนามแม่เหล็กเริ่มอิ่มแล้ว มันถึงจะปล่อยกระแส ไหลได้อย่างสะดวก กระแสก็จะ เสถียรและคงที่ อย่างงั้นไปตลอด เราก็จะมีพลังงานส่วนหนึ่ง ที่เก็บไว้ในสนามแม่เหล็ก ตรงนี้ ตราบใดที่กระแส ยังคงไหลผ่านตัวมันไปเรื่อยๆ แต่ก็จะมี บางเหตุการณ์ ที่ทำให้ ตัวเหนี่ยวนำ เริ่มมีบทบาท อย่างเช่น โหลดที่ต่อ ต้องการดึงกระแสไปใช้มากกว่าปกติ ตัวเหนี่ยวนำ มันก็จะยอมเสียสละ สนามแม่เหล็กบางส่วน ของมันไป เพื่อให้ โหลดเนี้ยะ ยื่ม กระแส เอาไปใช้งานก่อน เพื่อเป็นรักษา ระดับ กระแส ให้โหลด คงที่ หรือ บางเหตุการณ์ กระแสไฟฟ้า เดินมาไม่ค่อยเรียบ noise มีสไปร์ท เกิดขึ้น มันก็พยายามที่จะ ขจัดสิ่งเหล่านั้นทิ้งไป หรือว่า กระแสไฟฟ้าที่เราใช้อาจจะมีความถี่สูงเกินไป ตัวเหนี่ยวนำ หรือ ตัว L ก็สามารถทำหน้าที่เป็น ตัวกรอง ได้ด้วยเหมอืนกัน และสิ่งที่ ตัวเหนี่ยวนำ ไม่อยากให้เกิดขึ้นที่สุดก็คือ การตัดกระแส จากแหล่งจ่าย ทิ้ง ถ้าหากอยู่ดีๆเราหยุดป้อนกระแสไฟจากแหล่งจ่ายไปเลย สนามแม่เหล็ก ที่กำลัง หมุนวนอย่าง สนุกๆสนาน มันก็เริ่มรู้สึกได้แล้วนะครับ ว่ากระแสมันเริ่มขาด มันก็ พยายามที่จะหาทาง ให้กระแส กลับมาไหลผ่านตัวมัน ให้ได้ เหมือนเดิม แต่ ในเมื่อ เราตัดกระแส จาก แหล่งจ่ายไปแล้ว... มันทำจะทำยังไง ? ไม่น่าเชื่อครับ ว่าตัวมันเนี้ยะ ยอมยุ๊บ สนามแม่เหล็ก บางส่วน เพื่อที่จะรักษาให้ กระแสยังไหลต่อไปได้ แต่พอมันยุ๊บสนามแม่เหล็ก ทีละวงสองวง ก็ดูเหมือนว่า ยิ่งยุ๊บ ตัวมัน ก็จะสูญเสียพลังงานลงไปเรื่อยๆ เมื่อไม่มี กระแสไฟจากแหล่งจ่ายใดๆมาเติม สนามแม่เหล็กมัน ก็จะยุ๊บหายไป จนหมด ทีนี้ตัวมัน ก็ไม่มีทั้งกระแส หรือว่า สนามแม่เหล็กใดๆ หลงเหลืออยู่ เลยครับ ถ้ามาดูที่กราฟ ก็จะ คล้ายกับ ฟังก์ชั่น Reciprocal (รีซีฟโพรคอล) ก็คือกระแสจะดิ่งลง แล้วค่อยๆหมดไป ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ มันจะคล้ายๆ กับเราป่าลูกโป่ง นั้นแหละครับ ถ้าเราเป่า ลมเข้าไป ลมก็เปรียบเสมือน กระแสไฟ ลูกโป่ง จะเป่าลมเข้ายากมาก ในช่วงแรก แต่ถ้าลูกโป่งเริ่มพอง มันก็จะเป่าง่ายขึ้นมาก ลูกโป่งที่พองเต็มที่ ก็เปรียบเสมือน สนามแม่เหล็ก ที่อิ่ม และปลายด้านหนึ่งของลูกโป่ง จะมีท่ออากาศ ต่อออกไป เป็น Output เพื่อนำไปใช้กับโหลดต่างๆ ถ้าผมยังเป่าลูกโป่งอย่างงี้ไปตลอด Output ก็ยังได้รับกระแสไปออกไปใช้ แบบปกติ ลูกโป่งอาจจะมียุ๊บ บ้างพองบ้าง แล้วแต่ ว่าโหลดจะดึงกระแสไปใช้เท่าไหร่อ ถ้าผม หยุดเป่าลม ก็จะเท่ากับผมหยุด ป้อนกระแส มันก็จะใช้ลม จากตัวลูกโป่งเองที่มันพอง ค่อยๆหดตัวยุ๊บเป็นลมออกมา เมื่อลมถูกใช้จนหมด ทีนี้ก็ไม่เหลือพลังงานใดๆ อีกแล้วครับ และนี้ก็คือพื้นฐาน EP2 ของตัวเหนี่ยวนำ ผมหวังว่า เพื่อนๆ จะมองภาพได้ชัดเจนขึ้นมาบ้างแล้ว เดี่ยวพบกันกับ EP ถัดๆไปครับ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติตดามรับชมครับ

Comments