Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ตัวเหนี่ยวนำ EP.3 (ความถี่ VS ตัวเหนี่ยวนำ จะเกิดอะไรขึ้น...!!) в хорошем качестве

ตัวเหนี่ยวนำ EP.3 (ความถี่ VS ตัวเหนี่ยวนำ จะเกิดอะไรขึ้น...!!) 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ตัวเหนี่ยวนำ EP.3 (ความถี่ VS ตัวเหนี่ยวนำ จะเกิดอะไรขึ้น...!!)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY สำหรับ วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆมาดูว่า เมื่อนำ ตัวเหนี่ยวนำมาอนุกรมกัน กับโหลด แล้วก็ป้อนความถี่เข้าไป มันจะส่งกระทบ ยังไงให้กับความถี่ได้บ้างครับ ในตัวอย่างนี้ ผมจะทดสอบ โดยใช้เครื่อง Mokugo 1 Output เป็นตัวเจนสัญญาณสแควเวฟ 1Khz ออกมา แล้วก็ใช้ตัวมันเอง เป็นแหล่งจ่าย 5V VPP ไปในตัว โดยให้ค่า Duty cycle อยู่ที่ 50% นะครับ หลังจากนั้น ผมจะทดสอบจ่ายความถี่ ผ่านโหลด ที่มีความต้านทานอยู่ที่ 10 ohm ในช่อง input ที่ 1 และ ผมก็จะทดสอบ โดยการจ่ายความถี่ผ่าน ตัวเหนี่ยวนำค่าอยู่ในช่วง mH และก็มาผ่านโหลด 10ohm ในช่อง input ที่ 2 สังเกตุที่ หน้าจอ นะครับ รูปคลื่น ที่ความถี่ 1kHz ก็ยังแลดูปกติ ทั้งคู่ ทีนี้ เอาใหม่ครับ ถ้าหากผมป้อน คลื่นสแควเวฟที่ 500kHz เข้าไปในวงจร ทีนี้ สังเกตุว่า คลื่นที่ผ่านตัวเหนี่ยวนำ ใน input 2 คลื่นมัน เริ่มดูแปลกตาไป บ้างแล้วครับ เนื่องจากว่า ตัวเหนี่ยวนำ มันมีความล้าช้าอยู่ มันต้องใช้เวลาในการ จัดเก็บและปล่อยพลังงานในตัวเหนี่ยวนำ ออกมาครับ ผมจะไม่รอช้า ผมจะทดลองที่ความถี่ 1MHz กันต่อเลยนะครับ เพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ชัดเลยครับว่า ตัวเหนี่ยวนำ จะใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงที่นานขึ้นไปอีก คลื่นที่ออกมาแทบที่จะกลายเป็น คลื่น Triangle wave เพราะฉะนั้นในตอนนี้เอง เราเริ่มที่จะสามารถหาค่าเฉลี่ย ของกระแสไฟฟ้าพวกนี้ได้ เราก็เลยสามารถ ออกแบบวงจร กรองความถี่ต่่ำ ที่ใช้เพียงแค่ L 1 ตัว กับ C อีก 1 ตัว เป็นตัว Lowpass filter ได้ครับ สำหรับการ คำนวณ เดี๋ยวผมจะทำคลิปแยกไว้อีกคลิปหนึ่ง ให้ละนะครับ กลับมาดูที่วงจรของเรากันอีกครั้งหนึ่ง ครับ ถ้าผมเพิ่มตัวเก็บประจุเข้าไปหลังตัวเหนี่ยวนำ ค่า 1,000 uF สังเกตุว่า แรงดันไฟ output ที่ออกมา ค่อนข้างเรียบเป็นเส้นตรง มากๆเลย ครับ พลังงานที่ได้เหล่านี้ ก็จะ สะอาด ปราศจาก noise เข้ามารบกวน นอกจากนั้น ถ้าหากนำตัวเหนี่ยวนำ เนี้ยะ มาต่อกับแหล่งจ่ายที่เป็นไฟฟ้ากระแสตรงอยู่แล้ว มันก็แทบที่ จะไม่ส่งผลกระทบ อะไรให้กับวงจรเลย มันช่วยสำรองกระแสไฟ ยิ่งเป็นผลดี ด้วยซ้ำ แต่ก็อาจจะมีความต้านทาน จากสายไฟที่มันพันบ้าง นิดหน่อยในระดับ ไม่กี่ มิลิโอห์ม แค่นั้นเองครับ สำหรับคลิปนี้ ปูทางสั้นๆไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวติดตามกันต่อใน EP ถัดๆไปครับ ขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามรับชมครับ

Comments