Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб พระนางพญา ความเก่าของเนื้อและมวลสารตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา в хорошем качестве

พระนางพญา ความเก่าของเนื้อและมวลสารตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา 3 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



พระนางพญา ความเก่าของเนื้อและมวลสารตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา

พระนางพญา เป็นพระกรุเมืองพิษณุโลก และถูกจัดให้เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีหลัก พิมพ์หลักๆ ที่ถูกบันทึกไว้จะมี ๖ พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์อกนูนใหญ่ อกนูนเล็ก พิมพ์เทวดา สีออกน้ำตาลแดง แต่วรรณจะออกไปทาง ดำ น้ำตาลแดง ส้มอ่อน และเขียว ตามความร้อนในขณะเผา และถ้าจะหาพระที่มีพุทธคุณดีๆ ไว้ใช้ ให้เน้นพิจารณาที่เนื้อและความเก่าตามธรรมชาติเป็นหลักนะครับ เพราะพระนางพญาไม่ได้ถูกสร้างแค่ครั้งเดียว มีอีกหลายพิมพ์นอกจากนี้ และยังมีการบรรจุไว้อีกหลายกรุ ยังไม่รวมกับเนื้อที่ไม่ผ่านกรุนะครับ พระนางพญาเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและแร่ในกลุ่มแร่รักษา แล้วนำไปเผาให้มีความแข็งแกร่ง คงทน พุทธศิลป์เป็นพระพุทธรูป​ปาง​มารวิชัย​ ไม่​มีฐาน​ ไม่มีซุ้ม​ ตัดขอบ​เป็น​รูป​สามเหลี่ยม​ ด้านหลัง​เรียบ​ สันนิษฐาน​ว่า​ พระวิสุทธิกษัตรีย์เป็นผู้จัดสร้างในยุคของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระนางพญาส่วนมากอกจะนูนสูง ในยุคนั้นเรามีความเชื่อในเรื่องพิธีกรรม เครื่องรางของขลังไสยศาสตร์และคาถาอาคม พระนางพญาจึงเป็นหนึ่งในวัตถุมงคลที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อระลึกถึงคุณของพระศรีสุริโยทัยที่ทรงเสียสละพระชนม์ชีพเพื่อประเทศชาติ และสร้างความฮึกเหิม เสริมขวัญกำลังใจ ป้องกันอันตรายจากศาสตราวุธยามออกรบ พิธีปลุกเสก จะใช้วิธีอัญเชิญเทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกและมีฤาษีผู้ทรงฤทธิ์ พระสงฆ์ผู้ทรงศีล ร่วมกันปลุกเสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พุทธคุณของพระนางพญา เน้นในเรื่อง ป้องกัน แคล้วคลาด ปลอดภัย และเสริมบารมี เนื่องจากอยู่ในช่วงสงคราม มีการสู้รบและปกป้องบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง ว่านยาและแร่ต่างๆ ที่ใช้เป็นมวลสาร น่าจะเป็นว่านยาที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนแร่ๆ ต่าง นอกจากช่วยเรื่องความแข็งแรงของร่างกาย น่าจะเป็นแร่ประเภทที่ช่วยเสริมสร้างสภาวะจิตใจ ให้มีความห้าวหาญและฮึกเหิมในการออกรบ การสร้างพระนางพญา ตามหลักวิชาการสร้างพระเนื้อดินตั้งแต่โบราณ เริ่มต้นจากการปั้นพระต้นแบบ หลังจากนั้นจะนำดินเหนียวมากดที่พระต้นแบบ ก็จะได้แม่พิมพ์พระ ช่างจะทำแม่พิมพ์ตามจำนวนที่ต้องการแล้วนำไปเผา เพื่อให้แม่พิมพ์มีความคงทน สามารถนำไปใช้เพื่อกดพิมพ์พระได้จำนวนมากโดยไม่แตกหักเสียหาย เมื่อนำดินมาผสมกับมวลสาร ว่านยาและแร่แล้ว จึงนำไปกดกับแม่พิมพ์ ก็จะได้องค์พระ และนำไปเผาเพื่อให้เนื้อพระแข็งตัว จุดนี้ว่านยาจะถูกเผาละลายไปในเนื้อพระ พระองค์ที่วางใกล้ไฟจะมีสีเข้มกว่าและต่างกับองค์ที่อยู่ไกลไฟ มวลสารที่มักพบในพระนางพญา ดินจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เหล็กไหลไพลดำ ผงถ่านใบลาน เหล็กน้ำพี้ เม็ดพระธาตุสีขาวขุ่นและออกสีชมพู เกสรดอกไม้ ว่าน 108 และบางครั้งจะพบทรายเงินทรายทอง การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของพระนางพญา จุดแรกคือ ความเก่า เนื้อพระต้องเหี่ยว มีจุดกร่อนหรือยุ่ย มีความหลากหลาย เนื้อพระมักไม่เป็นสีเดียวกันทั้งองค์ ควรมีสีและผิวเนื้อที่แตกต่างกันบ้างในแต่ละจุด มีทั้งดินฉ่ำ และดินเนื้อด้านๆ ธรรมชาติของพระเนื้อดินเก่า เราจะพบความฉ่ำมันของเนื้อดิน แต่ต้องไม่ลื่นมือเหมือนพลาสติกนะครับ แร่ แร่ในเนื้อพระเป็นหนึ่งในจุดสำคัญมากๆ พระนางพญาเป็นพระที่ผสมแร่จำนวนมาก เราจะเห็นแร่ต่างๆ กระจายทั่วองค์พระ ทั้งที่เป็นแร่ในเนื้อ และแร่ลอยเป็นก้อน แร่จะมีลักษณะเป็นจุด มีหลายขนาดปะปนกัน มีสีเข้มอ่อนต่างกัน แร่ที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนมากตรงกลางจะสีเข้ม และมีสีอ่อนกว่าบริเวณรอบๆ ก้อนแร่ จะมีทั้งสีน้ำตาลแดง สีขาว สีดำ ที่สำคัญคือต้องมีความกร่อน เหี่ยว มีความซับซ้อนในจุดเล็กๆ ลักษณะจะมีความเก่า มองภายนอกจะดูแห้ง แต่เมื่อส่องดู จะมีความฉ่ำ จุดสำคัญคือ ขอบของก้อนแร่ต้องผสานไปกับเนื้อพระ คราบไขกรุ หรือคราบดินนวล ดินของพระกรุอายุหลายร้อยปี ส่วนมากจะมีคราบดินนวล มีลักษณะเป็นไขสีขาวนวลบางๆ คลุมตามผิวองค์พระ บางจุดจะดูเป็นเหมือนฝ้าสีขาว บางจุดจะดูเป็นสีเทา อาจารย์บางท่านใช้จุดนี้เป็นการตัดสินพระกรุเนื้อดิน ซึ่งเป็นจุดที่ทำเลียนแบบได้ยาก ต้องแยกระหว่างคราบกับสีที่ต่างกันให้ออกนะครับ ขอบพระ เมื่อพระมีส่วนผสมของแร่จำนวนมาก การตัดขอบมักมีโอกาสครูดโดนเม็ดแร่ จึงทำให้เกิดรอยครูดได้ง่าย รอยครูดอาจมีทั้งลึกและตื้น หากตอนตัดองค์พระไม่โดนเม็ดแร่ ก็มีโอกาสที่จะได้เช่นกันที่รอยตัดหรือรอยครูดอาจจะเป็นรอยบางๆ หากมีรอยครูด จุดที่เราต้องพิจารณาคือการเคลื่อนตัวของเม็ดแร่ตาม รอยครูดที่ดูเป็นธรรมชาติ สรุปจุดสำคัญการดูธรรมชาติพระนางพญา ๑ เนื้อเก่า มีความหลากหลายทั้งสีและเนื้อ ซึ่งเป็นจุดที่ทำปลอมยาก ๒ มีแร่ทั้งจุดและก้อนในเนื้อองค์พระ ต้องเก่า กร่อนและกลมกลืนไปกับเนื้อพระอย่างเป็นธรรมชาติ ๓ คราบกรุ เป็นคราบดินเก่าหรือดินตายที่หมดสภาพ มีสีนวลๆ เทาๆ เหมือนเป็นฝ้าตามผิวเนื้อดิน ๔ รอยเคลื่อนของเม็ดแร่ที่ขอบข้าง ต้องดูเป็นไปในทิศทางธรรมชาติ ๔ จุดนี้เป็นพื้นฐานขั้นต้นในการดูพระนางพญา ตามหลักของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ซึ่งพระใหม่ทำได้ยากนะครับ

Comments