Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб พระนางพญา เนื้อและมวลสารดูอย่างไร в хорошем качестве

พระนางพญา เนื้อและมวลสารดูอย่างไร 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



พระนางพญา เนื้อและมวลสารดูอย่างไร

#พระนางพญา #พิษณุโลก พระนางพญาเป็นพระเนื้อดิน ศิลปะสุโขทัย มีใบหน้าใหญ่ หน้าผากกว้าง รัศมีบนยอดเศียรมีลักษณะเหมือนเปลวไฟ ตามบันทึก คาดว่าจะสร้างในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๐ ถึง ๒๑๐๐ ซึ่งอยู่ในสมัยอยุธยา อายุการสร้างจนถึงปัจจุบันประมาณ ๕๐๐ ถึง ๖๐๐ ปี ในยุคนั้นพุทธศิลป์ของพระพิมพ์ต่างๆ นิยมสร้างตามแบบของพระพุทธชินราช คือเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เช่นเดียวกับพระขุนแผนซึ่งเป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคเดียวกัน ประวัติการสร้างพระนางพญา ไม่ได้มีบันทึกไว้อย่างเป็นทางการเหมือนพระกรุกำแพงเพชรหรือพระผงสุพรรณ แต่ก็มีบางบันทึกเก่าที่กล่าวถึงพระนางพญาไว้ว่า พระนางพญาในยุคนั้นมีการสร้างสร้างไว้ ๒ วาระ วาระแรก คือ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชมารดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างพระนางพญาขึ้น ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ หรือไม่ก็อีกคติหนึ่งคือ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระศรีสุริโยทัยที่ทรงเสียสละพระชนม์ชีพในศึกสงคราม เหตุของการสร้างอาจจะเป็นทั้ง ๒ ข้อก็ได้ ซึ่งความเห็นส่วนตัวของ ๔ มีนา ให้น้ำหนักในข้อหลัง คือสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการเสียสละของวีรชนผู้กล้า และเป็นขวัญกำลังใจ ปลุกความฮึกเหิมของเหล่าทหาร เพื่อเอาชัยในการสู้รบและปกป้องบ้านเมือง เพราะในสมัยนั้น บ้านเมืองเราอยู่ในยุคของศึกสงครามต่อเนื่องหลายปี ขวัญและกำลังใจจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะหลังจากเราต้องสูญเสียบุคคลสำคัญ สำหรับการสร้างพระนางพญาในวาระที่ ๒​ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นผู้จัดสร้างภายหลังจากได้รับชัยชนะ ประกาศอิศรภาพและขึ้นปกครองกรุศรีอยุธยา ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ความสงบสุข เป็นปึกแผ่น ในยุคนั้นนอกจากการจัดสร้างพระนางพญาแล้ว ยังมีการจัดสร้างพระพุทธชินราชหรือพระขุนแผนทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน ที่พี่ๆ เพื่อนๆ รู้จัก คุ้นเคยกันดี ไปจนถึงพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง หรือพระกรุวัดทัพข้าว ก็จะมีพระพิมพ์ปางมารวิชัยหรือปางชนะมารนะครับ ดังนั้น วาระในการสร้างแบ่งเป็นในยุคของพระวิสุทธิกษัตรีย์ และยุคของพระนเรศวรมหาราช แต่จำนวนที่สร้าง และจำนวนครั้งในการสร้าง เราไม่อาจทราบได้ จากที่ ๔ มีนามีโอกาสได้ศึกษาพระนางพญามา พระนางพญาที่สร้างในวาระของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนมากพุทธศิลป์จะดูสมส่วนมีความเรียบร้อยมากขึ้น ทั้งเนื้อและมวลสารจะดูมีความละเอียดและอ่อนช้อยขึ้นกว่าในยุคแรก แต่เอาจริงๆ ก็เป็นการยากที่จะแยกพระทั้ง ๒ วาระนี้ออกจากกัน เพราะทั้งพุทธศิลป์ เนื้อหา มวลสาร รวมถึงระยะเวลาการสร้างก็ใกล้เคียงกันมาก เรามาดูรายละเอียดของพระนางพญาองค์นี้กันครับ เรื่องแรกเราจะมาดู พุทธศิลป์กันก่อน องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยม มีความสูงมากกว่าความกว้าง พระองค์นี้เป็นพิมพ์เข่าโค้ง ใบหน้ากลมใหญ่เหมือนผลมะตูม บนใบหน้าไม่มีรายละเอียดชัดเจน ลักษณะคล้ายสวมชฏา เกศเป็นรูปเปลวเพลิง อกผายใหญ่ ดูบึกบีนแข็งแรงตามศิลปะสมัยสุโขทัย หูทั้ง ๒​ ยาวข้างจรดบ่า แขนซ้ายทิ้งตรงลงมาแล้วโค้งเข้าหาหน้าตักขนานกับช่วงขา แขนขวายาวตรงจรดหัวเข่า ซอกแขนทั้ง ๒ ข้างลึก ด้านหลังเรียบ มีพบทั้งหลังตัดตรงและเอียง และด้านหลังของพระนางพญา มักจะเห็นเป็นแอ่งจากการกด แต่ว่าพระเนื้อดิน ผ่านเวลามากว่า ๕๐๐​ ปี จะไม่เห็นหรือไม่มีจุดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ เนื้อพระ เนื้อพระองค์นี้มีสีน้ำตาลอ่อนเหมือนสีดอกพิกุลแห้ง ผิวภายนอกมีความแห้งด้าน เนื้อดูแน่นและแกร่ง ธรรมชาติของพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาหรือผ่านความร้อน ยิ่งแก่ไฟและแก่แร่ เนื้อพระจะยิ่งแกร่งและเงา เนื้อพระอายุมากกว่า ๕๐๐​ ปี เราต้องพบความเหี่ยวของผิวพระเป็นลอนคลื่น และมีเนื้อกร่อนให้เห็น ๑ ในวิธีพื้นฐานในการพิจารณาพระเนื้อดินเก่า คือเนื้อพระควรจะมีหลายระดับ หรืออย่างน้อยควรจะมากกว่า ๓ ถึง ๔ ระดับขึ้นไป คือเนื้อพระในแต่ละจุดทั่วทั้งองค์ มีความแตกต่างกันแบบหลากหลาย เช่น มีสีอ่อนสลับเข้มไปจนถึงเข้มมาก มีผิวฉ่ำไล่ระดับกับผิวแห้งจนถึงแห้งมาก จุดนี้เนื้อพระใหม่จะไม่มี นอกจากการแต่งผิวให้ดูเป็นคราบเลอะๆ พระนางพญาองค์นี้ค่อนข้างอ่อนไฟ ผิวจึงค่อนข้างแห้งและมีสีอ่อน เห็นรอยคราบน้ำว่านแห้งๆ สีเหลืองอมส้มในเนื้อ พระเนื้อดินถ้าอ่อนแร่ อ่อนไฟ และไม่ได้ใช้ติดตัว ก็จะดูแห้งนวลตา เราจะเห็นคราบราดำเป็นจุดๆ กระจายตัวออกรอบๆ และคราบราขาวขึ้นเป็นชั้นแห้งๆ ในร่องและในซอกลึก ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อดินเก่า ในบางจุดเราจะเห็นคราบไขสีขาวนวลๆ อยู่บนเนื้อพระ ดูเป็นเหมือนไขดิน ที่ผุดจากด้านในออกมาคลุมผิวด้านนอก ตามความชื้นและความร้อน ที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตลอดเวลามาหลายร้อยปี มวลสารในพระนางพญาจะค่อนข้างหยาบ อย่างเช่นเมื่อเราเทียบพระนางพญากับพระซุ้มกอและพระผงสุพรรณ มวลสารในพระนางพญาจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีจำนวนมาก เหมือนการบดมวลสารไม่ละเอียดมากนัก และที่จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ก็มีพระขุนแผนเนื้อดินกรุต่างๆ มวลสารที่พบในพระองค์นี้ แร่ดอกมะขามสีแดงอมส้ม เป็นจ้ำๆ อยู่ในเนื้อและบนผิว มีความนูนและมีขอบแยกจากเนื้อพระ เหล็กไหลไพลดำ แร่สีดำซีดๆ ผิวจะดูมีความเรียบตึง แต่จะดูด้านๆ เม็ดแร่สีขาวใสและขุ่น ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน มีก้อนแร่สีน้ำตาล ผิวดูใสๆ มีความเหี่ยว กร่อนบนผิวดูลักษณะคล้ายหินทรายแม่น้ำ ซึ่งมวลสารเหล่านี้ เรามักพบในพระเก่า โดยเฉพาะพระเนื้อดินเกือบทุกประเภท ส่วนมวลสารประเภทว่าน เกษรดอกไม้ หรือผงใบลาน ซึ่งเป็นมวลสารที่อยู่ในตำราการสร้างพระเก่า น่าจะไหม้หมดระหว่างการเผา หรือย่อยสลายไปตามอายุ พระแท้ต้องแท้ที่หน้าพระ ไม่ใช่หน้าใครนะครับ การดูพระแต่ละองค์ ถึงจะผ่านไปอีก ๑๐ ปีมาดูกันอีกที พระองค์เดิมก็ตอบเหมือนเดิมตามหลักการนะครับ พระแท้อาจจะไม่ได้หายากเท่าพระแพง เรียนรู้ไปด้วยกันครับ แล้วไว้พบกันใหม่ สุขกายสุขใจครับ

Comments