Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб วิธี หาสายไฟเข้าหม้อแปลง UPS ( 220V to 7V , 9V , 14V , 15V ,18V) в хорошем качестве

วิธี หาสายไฟเข้าหม้อแปลง UPS ( 220V to 7V , 9V , 14V , 15V ,18V) 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



วิธี หาสายไฟเข้าหม้อแปลง UPS ( 220V to 7V , 9V , 14V , 15V ,18V)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับ ทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY สำหรับวันนี้ ผมจะมาสาธิตวิธีต่อสายไฟ จาก หม้อแปลง UPS เก่า เอาไว้ สำหรับต่อใช้งาน ทำเป็นแหล่งจ่ายไฟ DC หรือ หลายๆท่านทำเป็นวงจร ชาร์จแบตเตอร์รี่ ก็สามารถประยุกต์ ทำได้เช่นกันครับ ก่อนอื่น เรามาดูหม้อแปลง กันก่อนเลยครับ ปกติหม้อแปลงทั่วไป มันจะมีสายออกมาแบ่งออก เป็นสองฝั่งใช่ไหมครับ ครับ นั้นก็คือ ฝั่งไฟต่ำ ที่เราจะต่อออกไปใช้งาน และก็ฝั่งไฟสูง ที่เป็นไฟบ้าน 220V ด้านที่เป็นไฟต่ำ เพื่อนๆหลายๆคนก็คงเข้าใจกันมาบ้างแล้ว ด้านไฟต่ำ สายไฟมันเส้นหนาๆ ถ้ามี 2 สายก็มักจะเป็นหม้อแปลง ทั่วไปที่จะมีขดลวดเพียง 1ชุด ถ้ามี 3 สายก็จะมักจะเป็นหม้อแปลง UPS และมันจะมีขดลวดอยู่ 2 ชุด และสายกลางจะเป็น เซนเตอร์แท๊บ ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเราเลือกนำสายข้างทั้งสองคู่นี้ ออกไปใช้งาน ก็จะได้แรงดันเต็มพิกัด แต่ ถ้าใช้สายกลางกับสายไฟข้างใดข้างหนึ่ง มันก็จะได้ไฟไปใช้เพียงครึ่งเดียว เพราะว่าขดมันน้อยกว่า และอีกด้านหนึ่งด้าน ที่มีสายไฟเล็กๆ6 เส้น เพื่อนหลายๆคน มักจะงงตรงนี้แหละครับ สำหรับหม้อแปลง UPS รุ่นนี้ มันจะมี ขดลวดฝั่งไฟสูง พันอยู่ 2 ชุดครับ ชุดหนึ่ง เอาไว้เป็นวงจร ชาร์จ สำหรับ แบตเตอร์รี่ ของตัว UPS เอง ซึ่งเขาจะใช้เพียง 2 เส้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ? ว่าเป็น 2เส้นไหน เราจะใช้มัลติมิเตอร์ วัดค่าความต้านทานดูครับ เราถึงจะรู้ มันจะมีเพียงแค่ 2 เส้น เท่านั้น ที่ขึ้นค่าโอห์ม ออกมา และสลับสายไปมาก็ได้ ค่าเดิม ถ้านำไปวัดกับเส้นอื่น มันจะไม่ขึ้นนะครับ เพราะว่าขดลวดมันอยู่คนละชุดกัน เราก็จะจับมันแยกออกจากฝูงไปก่อน ครับ เราจะไม่ได้ใช้งานเพราะว่า สายไฟมันเล็ก แอมป์มันน้อย ส่วน อีก 4 เส้นที่เหลือ จะเอาไว้สำหรับ ด้านไฟสูงแรงดันตก หน้าคอนแทครีเลย์ จะได้เปลี่ยน แรงดันได้อย่างเหมาะสม ปกติ เราก็วัดสุ่ม เลือกคู่ที่มีความต้านทาน สูงสุด นำมาต่อกับไฟบ้าน นั้นแหละครับ + แต่ ถ้าหากไม่มี อะไร ผิดเพี้ยน เราไม่ต้องสุ่มวัดครับ มันจะก็จะเรียงค่าความต้านทาน จากมากไปน้อยแบบนี้ ครับ ซึ่ง คู่ดำ - น้ำเงิน วัดได้ 16.7 ohm คู่ดำ - เขียว วัดได้ 15.1 ohm และ คู่ดำ-เหลืองวัดได้ 12.3 ohm ซึ่งทั้งสามคู่ เราสามารถ ต่อกับไฟบ้านได้ทั้งหมด แต่ คู่ที่ ค่าโอห์มต่ำที่สุด Output ออกมาจะได้ไฟมากทีสุด หม้อแปลงก็จะทำงานหนักที่สุด และส่งผลให้หม้อแปลงเกิดความร้อนมากที่สุด เช่นกันครับ ใช้ไปนานๆอาจจะมีปัญหาได้ ผมจะทดลอง ต่อคู่ ดำกับน้ำเงิน ชุดที่ค่าความต้านทานสูงที่สุด แล้วมาดูที่ Output ได้ไฟกี่โวล์ต ครับ ผมวัดได้ 14.04 -14.05 V ถ้า ต่อ สายกลาง จะได้ไฟประมาณครึ่งหนึง 7.03 V ครับ ถัดไปผมจะต่อกับ คู่ดำ - เขียว ชุดที่ค่าความต้านต่ำลงมา ผมวัดได้ 15.30 V สังเกตุว่าแรงดันจะเพิ่มขึ้นมา ถ้า ต่อ สายกลาง จะได้ไฟ ประมาณ 7.65 V และสุดท้าย ผมจะต่อกับ คู่ดำ-เหลือง ชุดที่ค่าความต้านทานต่ำที่สุดในชุด ไฟบ้าน ผมวัดได้ 18.59V ครับ ถ้า ต่อ สายกลางจะได้ไฟ จะได้ไฟประมาณ 9.28 V ยังไงๆ ผมก็จะแนะนำให้ต่อกับ ชุดที่มีค่าความต้านทานมากที่สุด เอาไว้ก่อนครับ เพื่อความปลอดภัย แต่ แรงดันที่ได้ มันยังเป็นไฟฟ้า กระแสสลับ อยู่นะครับ ถ้าเพื่อนๆ ถ้าจะเอาใช้งาน เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ที่มันที ขั้ว + ขั้ว - หรือ วงจรชาร์จแบต ต้องต่อผ่านวงจรเรียงกระแสให้ ให้มันกลายเป็นไฟฟ้า DC ซะก่อน ถ้าเพื่อนๆสนใจ ผมก็จะอาจจะทำเป็น EP2 ให้ดูอีกคลิป ก็ได้หนึ่งนะครับ แต่ยังไงๆ ก็ต้องดูฟีดแบก ดูคอมเมนท์ ความสนใจของเพื่อน ว่าต้องการหรือเปล่า สำหรับคลิปนี้ ขอสาธิตการทำงานไว้เท่านี้ก่อน ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Comments