Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ไดโอดเบื้องต้น EP3/3(ไดโอด ลดแรงดัน? 5v to 3v) в хорошем качестве

ไดโอดเบื้องต้น EP3/3(ไดโอด ลดแรงดัน? 5v to 3v) 3 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ไดโอดเบื้องต้น EP3/3(ไดโอด ลดแรงดัน? 5v to 3v)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY หลังจากคลิปก่อนหน้านี้ ผมได้อธิบายเรื่องไดโอดไปแล้ว 2 บท วันนี้นะครับ ผมจะพาเพื่อนๆ ไปดูเทคนิคการทำงานของ ไดโอดตัวจริงกันบ้างนะครับ ผมจะใช้ไดโอดเบอร์ 1N5404 ในการทดลองครั้งนี้ ซึ่งเบอร์นี้มันทนแรงดันได้ประมาณ 400V และทนกระแสได้ประมาณ 3A และผมจะใช้เป็นแบตเตอร์รี่ 18650 ขนาด 3.7 V 3000mA มาเป็นแหล่งจ่ายครับ โดยผมบัดกรีสายไฟ จากขั้วแบต ทั้งสองสาย ออกมา หลังจากนั้น ผมจะนำสายขั้วบวกของแบตเตอร์รี่ บัดกรีเข้ากับขั้ว + ของไดโอด และก็บัด กรีขั้วลบของไดโอดเข้ากับ ขั้วบวกของ LED สายลบของแบตเตอร์รี่ ผมจะบัดกรีเข้ากับขั้วลบของ หลอด LED สังเกตุว่าพอผม นำสายลบมา แตะที่ขาของ LED หลอด LED ก็จะสว่างขึ้นมาทันที แสดงว่าผมไบอัสถูกขั้ว และ กระแสก็กำลังไหลอยู่ในระบบแล้วละครับ ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้ว่า แรงดันตกคร่อมของไดโอดตัวนี้ มันมีค่าเท่าไหร่ ก็สามารถ ปรับ มัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัดไฟ DCกระแสตรง แล้วก็ เอาไปแตะขั้วลบ กับ ขั้วบวกได้เลยครับ ซึ่งผม วัดค่าได้ประมาณ 0.46 V แสดงว่า ไดโอดตัวนี้มีแรงตกคร่มอยู่ที่ 0.46 V ครับ ผมจะวัดแบตเตอร์รี่ก้อนนี้มีว่ามี ไฟอยู่ที่เท่าไหร่ ผมวัดไฟมันเหลืออยู่แค่ 2.63 v ผมก็เอาแรงดัน 2.63V ตั้ง แล้วมาลบกับ แรงดันตกคร่อมของไดโอดเมื่อสักครู่ 0.46 V นี่ครับมาลบกับ 0.46 V จะได้ แรงดันอยู่ที่ 2.17V เพราะฉะนั้นแรงดันไฟ ที่ผ่านไดโอดไป จะต้องเหลือประมาณ 2.17 V ลองไปวัดในวงจรจริงกันดูครับว่า ได้เท่าไหร่ นี่ครับ 2.17 V จริงๆด้วยครับ ตามที่เราคำนวน เป๊ะ ทีนี้ผมจะทดสอบ โดยการ เปลี่ยนแหล่งจ่ายใหม่ นะครับ เพราะว่าผมอยากให้ หลอด LED ตัวนี้สว่างขึ้น เพราะหลอด LED ตัวนี้ทำงานอยู่ที่ 3V ผมจะใช้ เป็นอแดปเตอร์ DC ไฟประมาณ 4.66 V แรงดันมันเยอะไปหน่อยหนึ่ง และก็เลยเพิ่ม ไอโอดเข้าไป อีก 2 ตัว ต่อในลักษณะ อนุกรมกัน รวมเป็น 3 ตัว แต่ละตัวมีแรงดันตกคร่อมประมาณ 0.61 V หลงัจากนั้น ผมก็นำโวล์ต ของแหล่งจ่ายมาลบ แรงดันตกคร่อมทั้ง 3 ตัว ของไดโอด คำนวนดูแล้วไฟ ก่อนที่จะเข้าหลอด LED จะเหลือ 2.83 V ลองไปวัดจริงกันดูครับ ซึ่งหลอด LED ตัวนี้กินไฟอยู่ที 3v ซึ่งก็ได้ไฟใกล้เคียงแล้วละครับ โวล์ตหายไปนิดหน่อยไม่เป็นไรครับ ประโยช์น ของวงจรนี้ ที่ผมเอาไดโอดมาอนุกรมกัน หลักๆเลยผมต้องการที่จะ อาศัยข้อดีของไดโอดที่มีแรงดันตกคร่อม ดรอปไฟ ลงมา และผลพลอยได้ก็คือ ไดโอด มันสามารถ ทนแรงดันได้สูงขึ้น ครับ และถ้าหากผม อนุกรม ไดโอดได้มากพอ ผมจะดรอปแรงดันลงไปได้อีก ลงไปได้ใกล้เคียงถึง 0v เลยทีเดียว ถ้าผมใส่สัก 7 ตัว ผมก็สามารถเลือก ช่วง แรงดันไฟได้กว้างมากขึ้น 7 ระดับ จนไปถึง 0.39 V เลยทีเดียวครับ สำหรับคลิปนี้ จะเป็นการยกตัวอย่าง เทคนิคการใช้งาน ของไดโอดนะครับ แรงดันตกคร่อมของไดโอด อาจจะผันแปร เปลี่ยนแปลงได้จากหลายๆ ปัจจัย ยังไงๆวัดในระบบ วงจรจริง จะดีกว่าในตำราครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ ขอบคุณข้อมูล จากอินเทอร์เน็ต: The Engineering Mindset

Comments