Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб พระสมเด็จ หลังสังขยา แบบนี้!! в хорошем качестве

พระสมเด็จ หลังสังขยา แบบนี้!! 1 год назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



พระสมเด็จ หลังสังขยา แบบนี้!!

แยกยุคพระสมเด็จด้วยธรรมชาติและการสร้าง พระสมเด็จ หลังสังขยา เนื้อยุคกลาง เรื่องการแบ่งยุคของพระสมเด็จ ๔ มีนาแบ่งตามลักษณะของการสร้าง และวิเคราะห์ตามการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพื่อการศึกษา เรียนรู้จากองค์พระแล้วนำมาแบ่งปันให้พี่ๆ เพื่อนๆ ได้ลองฟังกัน ไม่ได้เป็นมาตรฐานที่ทุกคนต้องใช้เหมือนกัน แต่อย่างน้อยใครที่นำไปประยุกต์ใช้ เชื่อว่าน่าจะช่วยให้การเก็บรักษาและสะสมพระสมเด็จ รวมถึงพระเนื้อผงเก่าๆ ได้ดีและสนุกมากขึ้น หมดยุคของการเชื่อว่าพระสมเด็จวัดระฆังมีแค่ ๕​ พิมพ์ หรือการดูพิมพ์หรือตำหนิในพิมพ์เป็นเรื่องสำคัญแล้วนะครับ ถ้าเราศึกษาพระเก่าหรือวัตถุโบราณด้วยการบังคับพิมพ์หรือตำหนิ เราก็จะพัฒนาไปไหนไม่ได้ อย่างที่เกร่ินไปแล้ว ว่าสิ่งที่เราเห็นในพระสมเด็จยุคกลาง คือ เนื้อพระและมวลสารจะมีความคาบเกี่ยวกันกับพระยุคต้น แต่จะมีลัษณะของผงปูนที่ผ่านความร้อนไม่สูงมาก เพราะว่าเนื้อพระยังไม่ได้เซ็ตตัวจนแกร่ง เนื้อพระที่เป็นเนื้อปูน เมื่อผ่านความร้อนจะทำให้เนื้อมีความแกร่งขึ้นและแน่นขึ้น ไม่ดูอ่อนฟูเหมือนเนื้อยุคต้น การคลุมผิวจากแคลไซต์ยังเห็นได้ชัด ดูเป็นชั้นเปลือกผิวชัดเจน ตัวประสานเนื้อมีทั้งที่เป็นน้ำว่านและน้ำมัน โดยดูจากคราบที่อยู่บนผิว ถ้าเป็นผิวใสๆ ตัวประสานเนื้อจะเป็นการใช้น้ำมันเข้ามาแทนน้ำว่านที่จะเป็นสีแห้งๆ ช้ำๆ เรามาเช็ครายละเอียดกัน พุทธศิลป์ เป็นพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน พระพักตร์รูปไข่ ช่วงลำตัวสมส่วนดูกระชับมากขึ้น ประทับบนฐาน ๓ ชั้น อยู่ในซุ้มโค้ง ด้านหลังมีร่องและรอยแยกทั่วองค์ ดูเหี่ยวๆ ยับๆ เป็นคลื่น เหมือนการปาดหลังหยาบๆ เป็นลักษณะที่เรียกว่าหลังสังขยา ในเนื้อพระเก่าที่ผ่านอายุทุกองค์ เราจะเช็คความแห้งและเนื้อเหี่ยวเป็นจุดสำคัญ เนื้อพระที่ถูกอากาศ ความร้อน ความเย็น ความชื้นเป็นร้อยๆ ปี จะเกิดการเปลี่ยนสภาพ หรือการทำ oxidation กับอากาศ ทำให้เกิดความแห้งและความเหี่ยว คนสมัยก่อนถึงรักษาเนื้อพระด้วยการลงรักเพื่อป้องการเนื้อพระสัมผัสกับอากาศ ลงรักคือการทาหรือจุ่มรักหลังจากสร้างองค์พระเสร็จนะครับ ส่วนการคลุกรัก คือผสมเนื้อและรักแล้วนำไปขึ้นรูปหรือกดพิมพ์ จะเป็นคนละลักษณะกัน เรามาเช็คพระกันด้วยหลักของการดูวัตถุโบราณกันเลย ประเมินอายุพระสมเด็จยุคกลางองค์นี้ผ่านอายุมาประมาณ ๑๖๐​ ปี คราบต่างๆ ที่ระเหยจากด้านในองค์พระขึ้นมาพร้อมกับความชื้น แล้วแห้งไปเกิดการตกผลึกของเนื้อปูนด้านใน ขึ้นมาสะสมอยู่บนผิว จากอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งวัน ฝนตก แดดออก วนกันไปมากว่า ๕๘๐๐๐ วัน หรือเกือบ ๖ หมื่นรอบ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่นึกภาพออก คงไม่คิดว่าเราควรจะเห็นพระสมเด็จที่เนื้อเรียบเนียน ผิวตึงๆ มีธรรมชาติไม่กี่ระดับเกิดขึ้นในพระที่สร้างมาแล้วประมาณ ๑๖๐ ปีนะครับ เนื้อพระโดยรวม ดูแล้วจะต้องแห้งและดูนวลตา เมื่อส่องลึกๆ จะต้องเห็นความขรุขระ เหี่ยวเป็นลอนคลื่น เพราะว่าการคลุมผิวที่เกิดจากธรรมชาติในพระแต่ละจุดพร้อมกันแต่ไม่เท่ากัน การหดขยายตัวจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการย่น ยุบตัว แต่ก็มีแคลไซต์คลุมปิดร่อง ผิวพระที่มีการคลุมผิว จะมีจุดหนาบาง มีเข้มอ่อน และเห็นความฉ่ำใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นกับปนกับความแห้งเก่า ทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ ในร่องหรือหลุมยุบต่างๆ เมื่อส่องดูด้านใน เราก็ยังเห็นแคลไซต์สะสมตัวกัน มีการเชื่อมผิวหรือสมานแผล คราบน้ำประสานก็ต้องแห้ง ๔ มีนาอยากให้พี่ๆ เพื่อนๆ คุ้นตากับแคลไซต์และการคลุมผิวฟูๆ นวลๆ มีมิติ มีความหลากหลาย เข้มอ่อน หนาบาง ดูเบาๆ นวลตาในลักษณะนี้ไว้บ้างนะครับ เพราะสำคัญมากๆ ในการเก็บสะสมหรือในการหาพระสมเด็จแท้ไว้ใช้พุทธคุณ การคลุมผิวหรือแคลไซต์บนพระสมเด็จก็เหมือนการดูออกไซด์ในพระเนื้อโลหะ ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญที่ต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถปรับใช้ในการศึกษาพระเนื้อผงเก่าได้แทบทั้งหมด แค่ประเมินสภาพและแยกว่าเป็นพระอบหรือไม่อบ เพราะการอบจะทำให้เนื้อพระเซ็ตตัวแล้ว การงอกคลุมผิวจะเกิดได้น้อยกว่า ในพระแต่ละองค์ ส่วนผสมของเนื้อพระและมวลสารต่างๆ ไม่เท่ากัน เมื่อผ่านอายุเป็นร้อยๆ ปี การคลุมผิวและสิ่งที่เกิดขึ้นในพระแต่ละองค์จะต่างกันออกไป แต่ก็จะมีธรรมชาติไปในทางเดียวกัน ลดหลั่นกันไปตามยุคหรือลักษณะการสร้าง มวลสาร มวลสารในพระยุคกลาง มวลสารจะมีในลักษณะใกล้เคียงกันกับพระยุคต้น และพบบ้างที่มีผงวิเศษผสมน้อยลงและที่มีมวลสารอื่นๆ มากและหลากหลายขึ้น ๔ มีนาเชื่อว่าการสร้างพระ มีสูตรการสร้าง มีเหตุและผลในการเลือกใช้มวลสาร ไม่ใช่จะใส่อะไรก็ได้ลงไป มวลสารที่พบในพระองค์นี้ มี ผงวิเศษ เป็นก้อนมวลสารสีขาวอมเหลืองนวลๆ อยู่ในเนื้อพระ สำหรับ ๔​มีนา เวลาเช็คพระสมเด็จ ถ้าไม่เจอจุดนี้เลย ไม่ค่อยไปต่อครับ เพราะว่าพระสมเด็จที่ไม่มีผงวิเศษสมเด็จโต คงไม่น่าเก็บเท่าไหร่ ควอทซ์หรือหินทรายแก้ว ก้อนแร่สีขาว หรือสีอมชมพู ทั้งใสและขุ่น ผงดำหรือผงใบลาน มีทั้งที่เป็นเศษและเป็นผงจุดเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วองค์พระ ชิ้นมวลสารสีแดงอมส้ม คล้ายเศษอิฐ ก้อนแร่สีแดงอมน้ำตาล มวลสารสีเทาอมดำซีดๆ เหี่ยวๆ ถ้าพบก้อนเหล็กไหล เป็นเม็ดแร่สีดำผิวตึงๆ มนๆ ไม่ต้องแปลกใจนะครับ ส่วนมากจะมี มวลสารทั้งหมดจะเหี่ยว กร่อน สีซีดๆ ดูช้ำๆ และผสานตัวอยู่กับเนื้อพระอย่างเป็นเนื้อเดียวกันเพราะมีแคลไซต์เป็นตัวผสานรอบๆ บางส่วนก็อยู่ในเนื้อ หรือมีการคลุมผิวไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเห็นทุกอย่างในพระสมเด็จทุกองค์ สิ่งที่สำคัญคือ เราจะไม่ดูแค่ว่าต้องมีหรือไม่มี ไม่ใช่การมีทุกอย่างเต็มไปหมด แต่ไม่มีอะไรเก่าเลย แต่จะต้องดูส่ิงที่มีอยู่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติตามอายุเป็นอย่างไร

Comments