Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб การแยกยุคพระสมเด็จ วัดระฆัง ยุคปลาย ตามหลักธรรมชาติ в хорошем качестве

การแยกยุคพระสมเด็จ วัดระฆัง ยุคปลาย ตามหลักธรรมชาติ 1 год назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



การแยกยุคพระสมเด็จ วัดระฆัง ยุคปลาย ตามหลักธรรมชาติ

สำหรับการทำเนื้อหาการแบ่งยุคการสร้างของพระสมเด็จ วัดระฆัง เรามาถึงการวิเคราะห์พระยุคปลายกันแล้วนะครับ หวังว่าจะได้ประโยชน์จาก ๒ คลิปที่ผ่านมา พระยุคปลายจะมีความซับซ้อนกว่าพระยุคต้นและพระยุคกลาง เพราะมีการสร้างจำนวนมากกว่า เนื้อและมวลสารค่อนข้างหลากหลาย ๔ มีนาจะวิเคราะห์พระยุคปลายจากการผ่านความร้อนสูงหรือการอบ เหมือนงานเซรามิคโบราณ แต่ก็ต้องเกิดธรรมชาติความเก่าในพระเนื้อผงปูนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า ๑๕๐ ปี ซึ่งคลิปนี้เราจะมาวิเคราะห์ธรรมชาติในพระสมเด็จยุคปลายกัน จากการวิเคราะห์ของ ๔​มีนา อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา ๔ มีนา คาดว่าในช่วงประมาณก่อนปี พ.ศ.​ ๒๔๐๘ หรือ ๒๔๑๐ เราคงกำหนดเวลาที่แน่นอนไม่ได้ น่าจะมีความต้องการสร้างพระเครื่องจำนวนมากขึ้น อาจจะสร้างเพื่อบรรจุกรุ สร้างเพื่อใช้ในราชพิธี หรือสร้างเพื่อรองรับความต้องการต่างๆ ที่มากขึ้นก็ตาม การสร้างพระจำนวนมาก จึงมีการอบเพื่อให้เนื้อพระเซ็ตตัวได้เร็วขึ้น เพราะพระที่ไม่อบ ต้องใช้เวลามากกว่าในการให้องค์พระเซ็ตตัวหลังจากกดพิมพ์พระเสร็จเรียบร้อย เมื่อผ่านการอบด้วยความร้อนสูง ส่วนผสมของเนื้อพระต้องทนความร้อนสูงได้ จึงน่าจะมีการใช้เทคนิคของงานเซรามิคเข้ามาใช้ เราจึงเห็นพระสมเด็จเนื้อแตกลายงานได้มากในพระยุคปลาย ขึ้นอยู่กับส่วนผสมและความร้อนที่สัมผัสกับองค์พระ เนื้อพระยุคปลายจะมีความแกร่ง ผิวจะเรียบตึงกว่า เพราะเนื้อพระเซ็ตตัวจากความร้อนทั้งด้านนอกและด้านในองค์พระ ทำให้เนื้อพระแน่นและแกร่ง การคลุมผิวจะไม่มากเมื่อเทียบกับพระยุคต้นและกลางที่ไม่ผ่านความร้อนสูง แต่ยังไงมากน้อยต้องมีและต้องดูเป็นธรรมชาติ และมีการคลุมผิวมากกว่าพระปลอมแน่นอน เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของพระเนื้อผงที่ผ่านอากาศ ผ่านความร้อน ความเย็น เกิดความชื้น แล้วทิ้งคราบสะสมตัวไว้ตามการผ่านอายุ เป็นคราบฝ้าเบาๆ แห้งนวลตาไปทั้งองค์แบบไม่มีจุดเริ่มต้น เพราะธรรมชาติในเนื้อพระทุกจุดทำงานพร้อมกัน พุทธศิลป์ เป็นพิมพ์พระประธานชายจีวรบาง พระเกศเล็กเรียวยาวทะลุซุ้ม พระพักตร์รูปไข่ เห็นหูทั้ง ๒​ข้าง ช่วงลำตัวดูสมส่วน งดงาม จุดตัดที่ซุ้มโค้งด้านซ้ายอยู่ที่ช่วงต้นแขนแล้วหักตรงลงมา ขาข้างซ้ายทับขาข้างขวา เห็นเท้าชัด แม่พิมพ์น่าจะถูกสร้างโดยช่างมือฝีมือหรือช่างหลวง เพราะเห็นรายละเอียดจุดเล็กๆ ในองค์พระหลายจุดมีความอ่อนช้อย การไล่ระดับความสูงต่ำในแต่ละจุดมีความปราณีตสูง ย้ำกันอีกที การดูพระเก่าที่เราไม่ได้ศึกษาแม่พิมพ์ทั้งหมด เราจะไม่ยึดพิมพ์ ยึดตำหนิ เพราะตำหนิพิมพ์ในพระเก่าไม่มีจริง ใช้ดูพระแท้ไม่ได้ ตำหนิใช้กำหนดความแท้ตามหน้าพระในมือและใช้เพื่อลดจำนวนพระแท้ให้เหลือน้อย จะได้ปั่นราคาได้ง่าย เนื้อพระยุคปลาย เราจะดูต่างกับยุคต้นและยุคกลาง เพราะเนื้อพระเซ็ตตัว การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจะไม่เท่า โดยเฉพาะแคลไซต์ที่คลุมผิว แต่ถ้าเทียบกับพระปลอมก็ถือว่ามากอยู่ เมื่อมองโดยรวม เราจะเห็นความแห้งอยู่บนผิว เพราะเนื้อพระมีผลึกแคลไซต์แห้งๆ คลุมผิวอยู่ เนื้อพระมีความเหี่ยว มีรอยยุบ รอยปริแยกตามองค์พระ เมื่อเนื้อพระมีธรรมชาติเกิดขึ้นบนผิวและสะสมตัวมานาน จะทำให้เนื้อพระมีความเหี่ยว ผิวมีความขรุขระเป็นคลื่น จะเป็นเนื้อเรียบๆ ผิวตึงๆ ไม่ได้ ตัวประสานเนื้อจะเป็นน้ำมันที่ผสมเข้ากับเนื้อพระค่อนข้างดี เราจะเห็นคราบน้ำมันสีเหลืองอยู่ในชั้นผิวไม่ค่อยพบคราบน้ำว่านสีเข้มเหมือนในพระยุคต้นและยุคกลาง องค์พระโดยรวมจะดูเป็นทรง ขอบทั้ง ๔​ ด้านตัดตรงดูเป็นระเบียบ การคลุมผิว การคลุมผิวในพระยุคปลายจะเป็นผิวใสๆ บางๆ คล้ายผลึกหรือเกล็ด จะไม่หนามาก ดูโดยรวมจะเห็นเป็นคราบแห้งแต่นวลตา เมื่อส่องเนื้อลึกๆ จะเห็นแคลไซต์ใหม่ๆ และความฉ่ำใหม่ๆ เกิดขึ้น จุดนี้จะทำให้แคลไซต์มีความหนาบาง และมีสีเข้มอ่อนปะปนไล่ระดับกันบนเนื้อพระในจุดเล็กๆ ตามขอบรอยแยกต่างๆ มีความขรุขระจากแคลไซต์ การเชื่อมสมานรอยแยกมีแต่ไม่มาก มวลสาร ในพระสมเด็จยุคปลายค่อนข้างมีความหลากหลายรูปแบบ ตาม ๔ มีนาคิดว่าพระสมเด็จยุคปลายน่าจะมีการสร้างหลายวาระมากๆ พบทั้งที่มีมวลสารมากและน้อย ที่หลากหลายหลากชนิดก็มี ที่ไม่หลากหลายก็มี อาจจะเกิดจากคลุมผิวไม่มาก ในบางองค์เราเลยเห็นมวลสารได้มากกว่า แร่หรือมวลสารชนิดแข็งจะพบได้มากขึ้น มวลสารในกลุ่มว่านจะพบได้น้อยลง อาจเพราะผสมน้อยหรืออาจจะสลายไปจากความร้อน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ยังเป็นผงวิเศษของสมเด็จโต มวลสารหลักๆ ที่พบในพระองค์นี้จะมี ผงวิเศษของสมเด็จโต ที่เราเห็นเป็นก้อนมวลสารที่ขาวอมเหลืองนวลๆ มีทั้งที่อยู่บนผิวและใต้ชั้นิว ถ้า ๔​มีนาพบพระสมเด็จที่ธรรมชาติผ่านทั้งหมด แต่ไม่มีมวลสารนี้ จะตีเป็นแท้ไม่ทันสมเด็จโต หรือถ้ามีน้อยจะตีเป็นกรุอื่นได้ ผงดำหรือเศษผงใบลานกระจายตัวอยู่ทั่วองค์พระ ควอตซ์ หรือแร่ทรายแก้ว มีสีขาวอมเหลืองหรืออมชมพู ทั้งใสและขุ่น ก้อนมวลสารสีน้ำตาลอมแดง สีหม่นๆ บางก้อนมีการกระจายตัวออกรอบๆ ก้อนมวลสารสีแดงอมส้ม คล้ายอิฐ ก้อนแร่สีดำ ผิวค่อนข้างเรียบตึง เป็นกลุ่มเหล็กไหลหรือฮีมาไทต์ มวลสารทั้งหมดมีความเหี่ยวกร่อน สีซีดๆ ช้ำๆ ไม่เป็นสดจนเกินไป มีแคลไซต์คลุม ปนกับคราบน้ำมันแห้งๆ และมีการผสานเข้ากับเนื้อพระอย่างเป็นธรรมชาติ ตามบันทึกที่เราทราบกัน สมเด็จโตท่านมีสมณศักดิ์และเป็นพระครูที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย มีผู้คนเคารพศรัทธาไม่เพียงเฉพาะคนไทย เกี่ยวข้องทั้งวัดและวัง และยังร่ำเรียนวิชาต่างๆ การเขียนและลบผง และนำมาใช้ในการสร้างพระเครื่อง พระสมเด็จก็มีการสร้างหลายวัด หลายวาระเรื่อยมา ไม่แปลกที่จะมีลูกศิษย์ลูกหามากมายร่วมกับท่านในการสร้างแม่พิมพ์ กดพิมพ์พระ หรือช่วยปรับปรุงสูตรการสร้างพระเครื่องเรื่อยมาโดยมีผงวิเศษของท่านเป็นสิ่งสำคัญ พระสมเด็จที่มีความเกี่ยวข้องและทันยุคสมเด็จโต มีกี่พิมพ์ เราไม่อาจรู้ได้ แต่ที่แน่ๆ พระสมเด็จแท้ไม่ได้มีแค่ ๕ พิมพ์ ที่กำหนดบล็อคไว้ตามความนิยมของคนบางกลุ่มแน่นอน ดังนั้นการที่เราพอจะแยกการสร้างในแต่ละยุคได้ น่าจะพอเป็นประโยชน์กับพี่ๆ เพื่อนๆ เพื่มเติมไม่มากก็น้อยครับ

Comments