У нас вы можете посмотреть бесплатно เพชรน้ำเอกพระเครื่องเบญจภาคี "พระนางพญา พิษณุโลก" или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
พระนางพญา พิษณุโลก จัดว่าเป็นพระเนื้อดินที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี” ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา” พิษณุโลก ความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะ” ต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลายเป็น ๒ วัด การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง ตามการสันนิษฐานพระนางพญานั้นผู้ที่สร้างคือ “พระวิสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั้นเอง เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ. ๒๐๙๐-๒๑๐๐ หรือประมาณสี้ร้อยกว่าปี พระนางพญา เป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรองรับ รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณเอกทีตั้งนูนเด่น และลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ “ผู้หญิง” จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ “นางพญา” อีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ที่สร้างคือ “พระวิสุทธิกษัตรี” นั่นเอง พระนางพญาถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดจึงจัดเตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จเมื่อคนงานขุดหลุมก็เกิดพบพระเป็นจำนวนมากก็คือ พระนางพญานั่นเอง ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสก็เก็บพระเหล่านั่นไว้ พอสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ทางเจ้าอาวาสและทางจังหวัดก็ได้นำพระขึ้นทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า ส่วนที่เหลือก็โปรดเกล้าฯให้นำกลับเข้ามาในกรุงเทพฯ พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกับพระที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่นพบที่บ้าน “ตาปาน” บริเวณนี้น้ำท่วมประจำ พระเสียผิวมีเม็ดแร่ลอยมาก จึงเรียกว่า “กรุน้ำ” ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ มีผู้พบพระนางพญาที่วัด “อินทรวิหาร” บรรจุอยู่ในบาตรที่เจดีย์องค์เล็ก ต่อมามีผู้พบเห็นนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ พบที่ “พระราชวังบวรมงคล” (วังหน้า) พบที่ “วัดสังขจาย” ฝั่งธนบุรี ครั้งสุดท้ายพบที่ “วัดราชบูรณะ” จังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๒ พระนางพญา เป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ผสมว่านเกสรของดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ตลอกจนแร่กรวดทรายต่างๆแล้วนำไปเผา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ ที่ละเอียดจะมีน้อยกว่ามาก มีทั้งหมด ๗ พิมพ์ด้วยกันคือ 1. พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง 2. พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น ๒ พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา” กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่ 3. พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ 4. พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง 5. พิมพ์อกแฟบ (หรือพิมพ์เทวดา) ถือเป็นพิมพ์เล็ก 6. พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก 7. พิมพ์พิเศษ เช่นพิมพ์เข่าบ่วงหรือพิมพ์ใหญ่พิเศษ พระนางพญาไม่ว่าพิมพ์ไหน ลักษณะของเนื้อจะเหมือนกันหมด ผิดกันแต่พิมพ์ทรงเท่านั้นเอง ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเป็นเลิศ สมกับความเป็นหนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคีนั่นเอง #พระนางพญา #พระนางพญาพิษณุโลก #พระเครื่องเบญจภาคี #เพชรน้ำเอกพระเครื่องเบญจภาคี