Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ความต่าง *ว่าง* ระหว่าง ธาตุรู้ *จิตแท้* กับ *วิญญาณขันธ์* เสียงธรรม หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล в хорошем качестве

ความต่าง *ว่าง* ระหว่าง ธาตุรู้ *จิตแท้* กับ *วิญญาณขันธ์* เสียงธรรม หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล 5 дней назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ความต่าง *ว่าง* ระหว่าง ธาตุรู้ *จิตแท้* กับ *วิญญาณขันธ์* เสียงธรรม หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล

ความว่างเปล่า หรือสุญญตา ไม่ใช่ “ความไม่มีอะไรเลย” มันไม่ได้หมายความว่าไม่มีสิ่งใดมีตัวตนอยู่และให้ลืมปัญหาทุกอย่างไปให้หมด เพราะปัญหาเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง สุญญตาหมายถึงความไม่มีอยู่ทั้งหมดทั้งมวล ความไม่มีอยู่ซึ่งวิธีที่เป็นไปไม่ในการมีตัวตนทั้งหมด การสร้างภาพจินจนาการของเราเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของทุกสิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่มีอะไร รวมถึงปัญหาของเรา ที่ทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นปัญหาด้วยตัวของมันเอง หากมองตามอัตภาพแล้ว สิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัญหาที่ต้องจัดการ แต่เราสามารถมองว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาได้ในเชิงแนวความคิดและคำนิยามของ “ปัญหา” ที่ถูกกำหนดตามแบบแผนเท่านั้น สุญญตา หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “ความว่างเปล่า” นั้น เป็นหนึ่งในความความรู้แจ้งหลักของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตระหนักได้ว่าบ่อเกิดของปัญหาในชีวิตของทุกคนที่ลึกที่สุดนั้นคือ ความสับสนของผู้คนเกี่ยวกับการมีตัวตนของตนเอง ของผู้อื่น และของทุกสิ่งทุกอย่าง สุญญตาหมายถึงการไร้ซึ่งตัวตนอย่างแท้จริง ความว่างย่อมอยู่เหนือคำว่า “ความสุข” และ “ความทุกข์” ความว่าง วิมุตติ จิต สุญญตา ความว่าง พระพุทธองค์ทรงเรียกความว่างว่า เป็นธาตุที่ไร้การปรุงแต่ง ไม่เกิด ไม่ดับ ความว่างมีหลายสภาวะว่าง ความว่างสัมบูรณ์ คือ พระนิพพานธาตุหรืออมตธาตุ ความว่างนี้จะพ้นคลื่นความถี่ของพลังงานทั้งหมดในจักรวาล beyond จักรวาล ความว่างใหญ่ที่รองลงมาจากพระนิพพาน คือ ความว่างแห่งจักรวาลที่รองรับความมีทั้งหมดของกาแล็กซี ของดวงดาว นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าอวกาศ ความว่างที่เราคุ้นเคย ก็คือช่องว่าง เช่น ห้องว่าง บ้านว่าง สนามว่าง ทำให้เกิด space ที่เราอาศัยอยู่ ที่เราอาศัยอยู่ทั้งหมด เราก็อาศัยอยู่ในความว่างทั้งสิ้น ถ้าในบ้านเต็มไปด้วยของ ในห้องนอนเต็มไปด้วยของ เราก็ไม่มีที่อยู่ ที่เราอยู่ได้เพราะมันมีที่ว่าง ออฟฟิศก็เช่นกัน ออฟฟิศว่าง เราจึงเข้าไปทำการงานได้ หากออฟฟิศไม่ว่าง ก็เข้าไปใช้ไม่ได้ แต่ความว่างแบบนี้มีอากาศอยู่ ความว่างภายใน คือ จิตว่าง จิตว่างคือธาตุรู้ล้วน ๆ ที่ปราศจากการปรุงแต่ง ไม่เกิด ไม่ดับ เพราะจิตว่าง จิตจึงทำกิจได้มากมาย เวลาจิตไม่ว่าง ใครมาชวนทำอะไร มักจะบอกว่า “ไม่ว่าง” ไม่ว่างนั้นคือจิตไม่ว่างพอที่จะรับภาระใด ๆ อีก นั่นคือความว่าง ทั้งชีวิต จิตใจ ร่างกายล้วนต้องการความว่างเป็นสำคัญเพื่ออยู่และทำกิจต่าง ๆ ตรงข้ามกับตัณหาที่ต้องการความมีมาก ๆ จนวุ่น วิมุตติ วิมุตติ คือสภาพที่พ้นสมมุติ วิมุตติก็มี ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ ๑. เจโตวิมุตติ การพ้นสมมุติด้วยใจอันไร้ขอบเขต ๒. ปัญญาวิมุตติ การพ้นสมมุติด้วยปัญญาอันไร้ขอบเขต ๓. อุภโตภาควิมุตติ การพ้นสมมุติด้วยอานุภาพทางใจที่ไร้ขอบเขต และปัญญาที่ไร้ขอบเขต สมมุติคืออะไร สมมุติชุดแรก เป็นสมมุติที่บัญญัติ นิยาม ก่อตั้ง สิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้นมา เช่น ระบบการปกครอง ระบบการเงิน ระบบเศรษฐกิจ ระบบปริญญา ระบบสงคราม ระบบเกียรติยศ และระบบทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนเป็นสมมุติ สมมุติชุดที่สอง คือสมมุติแห่งการยึดถือ เช่น ที่ดินในโลกไม่ได้เป็นของใครเลย แต่เราไปแบ่งปันกันแล้วครอบครอง พอครอบครองเราก็ยึดถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น การยึดถือนั้นเป็นสมมุติ หรือร่างกายนี้เป็นของธาตุในโลก สร้างมาจากอาหาร น้ำ อากาศ อุณหภูมิ ถ้าเรายึดถือว่าเป็นของเรา ก็เป็นสมมุติชุดที่สอง เป็นสมมุติแห่งการยึดถือ เมื่อหลุดจากสมมุติเหล่านี้ได้ ก็ถึงวิมุตติ จิตจักรวาล จิตจักรวาลที่เป็นหนึ่งเดียว ครองจักรวาลทั้งหมด ไม่มี แต่มีจิตใหญ่ระดับจักรวาลที่แผ่จิตไปได้ทั่วทั้งจักรวาล จิตนี้มี และมีอยู่เป็นจำนวนมาก ก็คือพรหมทุกท่าน จิตท่านใหญ่ระดับจักรวาล ท่านอยู่ในฌานสมาบัติกันทุกท่าน ชำนาญในอัปปมัญญา เวลาท่านแผ่จิตทีก็ครอบจักรวาล แต่ไม่ได้ครองจักรวาล โดยสรุป ความว่าง วิมุตติ จิตระดับจักรวาล สุญญตา ไม่เหมือนกัน เป็นคนละอย่างกัน ความว่าง เป็นธาตุไร้การปรุงแต่ง ไม่เกิด ไม่ดับ จิต เป็นธาตุรู้ จิตระดับจักรวาล คือจิตรู้ระดับจักรวาล สุญญตา เป็นภาวะที่แท้จริงของทุกสิ่ง จิตบริสุทธิ์ที่ไร้การยึดถือ ก็จะไม่สมมุติอัตตาขึ้นมา วิมุตติ คือการออกจากสมมุติแห่งการยึดถือได้ สู่ความเป็นจริงแท้ จึงแจ่มแจ้งสัจธรรม เมื่อวิมุตติถาวรแน่นอน เรียกว่าบรรลุธรรม หรือบรรลุความเป็นจริงแท้ เมื่อบรรลุอมตธาตุ นั่นคือความเป็นจริงแท้แห่งความว่างสัมบูรณ์ ก็ถึงพระนิพพาน อ้างอ้างแหล่งที่มาของบันทึกเสียง/บทความ บันทึกเสียงธรรม หลวงพ่อเยื้อง ขนฺติพโล แหล่งที่มา โดยช่อง เมตตาธรรมนําทาง99 บทความ โดยธรรมะกระจ่าง uttayarndham.org

Comments