Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб "นครธม" ที่คุณไม่เคยรู้ I ท่องเที่ยวนอกตำรา EP.2 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.224 в хорошем качестве

"นครธม" ที่คุณไม่เคยรู้ I ท่องเที่ยวนอกตำรา EP.2 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.224 7 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



"นครธม" ที่คุณไม่เคยรู้ I ท่องเที่ยวนอกตำรา EP.2 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.224

เปิดประตูเมือง "นครธม" หรือเอกสารไทยมักเรียกว่า ‘เมืองอินทปัตถ์’ เป็นเมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1724-1761 ประวัติศาสตร์นอกตำราพร้อมด้วยสมาชิกกว่า 40 ชีวิตที่เข้าร่วมกิจกรรม "ท่องเที่ยวนอกตำรา" เริ่มต้นการเดินทางกันที่ประตูชัย ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ประตูของเมืองนครธม กำแพงเมืองนครธมทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยศิลาแลงสูงราว 7 เมตร ยาว 3 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้าง 80 เมตร มีสะพานหินขนาดใหญ่สร้างขึ้นข้ามคูน้ำเพื่อไปยังประตูเมือง สองข้างของสะพานมีรูปประติมากรรมเทวดา และอสูรกำลังยื้อยุดฉุดดึงพญานาค เป็นแนวคิดเรื่องการกวนเกษียรสมุทรที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนำมาใช้ โดยให้ที่นี่เป็นเสมือนศูนย์กลางแห่งมัณฑลคีรีที่มีการถูกชักทั้ง 4 ด้าน เพื่อเป็นการกวนเกษียรสมุทร นี่คือนครที่ถูกตั้งชื่อว่า "ชยคีรี" ตามที่ปรกฏในจารึก ภายในเมืองนครธม นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักให้ความสนใจกับความงดงามอลังการของปราสาทหินจำนวนมาก แต่มักละเลยเรื่องพัฒนาการทางศาสนาที่มีผลต่อรูปแบบการปกครองราชธานีแห่งนี้ โดยเฉพาะจุดเริ่มต้นของการสร้างศาสนสถานที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธแบบเถรวาทขึ้นที่นี่ในช่วงท้ายของอาณาจักรเมืองพระนครก่อนที่จะล่มสลายลง เช่น ที่ “วัดปรำปรีลเวง” (Pram pi Lveng) แปลว่า “วิหารเจ็ดชั้น” ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของสระน้ำก่อนถึงเขตพระราชวังหลวง ที่นี่เป็นที่ตั้งของกลุ่มศาสนสถานพุทธเถรวาท หนึ่งในหลายสิบแห่งในเขตเมืองนครธม สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงสุดท้ายของพุทธศตวรรษที่ 18 ตามคติพุทธศาสนาแบบเถรวาท และยังสะท้อนความสัมพันธ์ทางศาสนาพุทธเถรวาทระหว่างไทยและเขมรที่มีมายาวนานหลายร้อยปี กระทั่งเจ้าสามพระยาจากอยุธยายกทัพบุกเข้ายึดเมืองพระนครหลวงแห่งนี้เอาไว้ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 1974 ซากฐานเจดีย์ที่ “วัดปรำปรีลเวง” (Pram pi Lveng) ถือเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านทางศาสนามาสู่พุทธแบบเถรวาทของที่นี่ แต่ยังสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ในช่วงต้นของกรุงศรีอยุธยาด้วย "วัดเทพพนม" เทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ที่ถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนาในภายหลัง โดยยังปรากฏซากฐานสถูปขนาดเล็กอยู่รายรอบให้เห็นอยู่จำนวน 27 องค์ และใบเสมาคู่ล้อมรอบ รวมทั้งยังมีพระพุทธรูปประทับยืนทำจากหิน 1 องค์ ซึ่งเป็นหลักฐานของพุทธเถรวาท โดยบางส่วนได้รับอิทธิพลจากอยุธยา ในช่วงเวลาที่เมืองนครธมกำลังเริ่มอ่อนแอ ก่อนจะเสียให้แก่อยุธยาในอีกเกือบร้อยปีต่อมา ไม่ห่างจากวัดเทพพนม คือที่ตั้งของ "ปราสาทป่าเลไลยก์" สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 หลังจากพระองค์ได้เปลี่ยนอาญาจักรจากพุทธมหายานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มาเป็นลัทธิพราหมณ์ฮินดู ดังหลักฐานที่ปรากฏอยู่ที่ตัวปราสาทประธาน อย่างไรก็ตามปราสาทหลังนี้ได้เปลี่ยนหน้าที่เป็นวัดในศาสนาพุทธแบบเถรวาทในรัชกาลต่อมา ตามภาพสลักบริเวณซุ้มประตู และทับหลัง ที่มีรูปพระพุทธเจ้าในอริยาบทต่าง ๆ รวมทั้งยังมีพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าซุ้มประตู พบร่องรอยการรับอิทธิพลศิลปะจากอยุธยาเข้ามา เป็นหลักฐานให้เห็นอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์นอกตำรา ยังสำรวจพื้นที่ภายในเขตพระราชวังหลวงแห่งเมืองนครธม เริ่มจาก "สระสรง" สำหรับพระมหากษัตริย์ และชนชั้นสูงที่ถูกก่อสร้างขึ้นด้วยการสลักลวดลายนูนต่ำอย่างวิจิตรงดงามโดยรอบ ไม่ไกลจากสระสรง เป็นที่ตั้งของปราสาทสำคัญประจำพระราชวังหลวง นั่นคือ “ปราสาทพิมานอากาศ” ที่ซ่อนความหมายอันเกี่ยวกันกับการกำเนิดอาณาจักรเขมรโบราณตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เมื่อเดินตัดผ่านประตูพระราชวังหลวงออกมาอีกด้าน ยังเป็นที่ตั้งของปราสาทสำคัญอีกหลัง นั่นคือ "ปราสาทบาปวน" อันเป็นต้นแบบของศิลปะแบบบาปวนโดยแท้จริง และยังเป็นศิลปะร่วมของปราสาทในประเทศไทยอีกหลายแห่งด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ด้านหลังของปราสาทบาปวนได้ถูกดัดแปลงให้เป็นพระพุทธไสยาสน์ตามคติเถรวาทโดยกษัตริย์ในยุคหลัง ซึ่งเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากอยุธยา จากปราสาทบาปวน เราเดินทางสำรวจปราสาทที่สำคัญที่สุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่นคือ "ปราสาทบายน" มีชื่อเสียงไปทั่วโลก จากเอกลักษณ์อันโดดเด่นของพระปรางค์จำนวน 54 ปรางค์ ที่มีภาพสลักพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหันหน้าออกไปทั้ง 4 ทิศ ระเบียงคดชั้นนอกของปราสาทบายน มีภาพสลักนูนต่ำที่เล่าเรื่องกองทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้เราเห็นถึงการจัดกระบวนทัพ ยุทธวิธีการรบ อาวุธ รวมถึงเครื่องแต่งกายของนักรบ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของพิธีกรรมและประเพณี รวมทั้งพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อราว 800 ปีมาแล้ว สิ่งที่ทำให้ภาพสลักแห่งบายนแตกต่างไปจากปราสาทหลังอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่มักเป็นภาพสลักเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า หรือความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับบายนยังมีภาพสลักที่บันทึกเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้าน ทำให้เราเห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ สังคม รวมทั้งสภาพแวดล้อมของเมืองพระนครในอดีตได้แจ่มชัดมากขึ้น ปิดท้ายการเดินทางของวัน เราเลือกที่จะเก็บภาพความประทับใจกับแสงสุดท้ายของวันที่พนมบาเค็ง หรือเขาบาเค็ง ภูเขาลูกเล็ก ๆ กลางเมืองพระนคร โดยจะใช้เวลาในการเดินขึ้นสู่ยอดเขาราว 20 นาที บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของ "ปราสาทบาเค็ง" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสถาปนาเมืองพระนครขึ้นในครั้งแรก โดยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระองค์ทรงเลือกเขาพนมบาแค็ง ให้เป็นศูนย์กลางของราชธานี อันมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ยโศธรปุระ" บนปราสาทพนมบาเค็ง เราสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองพระนครนครได้โดยรอบ ทั้งบารายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราสาทนครวัดที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกล บนจุดสูงสุดของเมืองแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเฝ้ารอชมแสงสุดท้ายก่อนที่พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าที่นี่ด้วย

Comments