Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб คำสาปพญาศรีโคตรตะบองมีผลกับการย้ายเมืองหลวงพระบางของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนามาเวียงจันทน์จริงหรือ.? в хорошем качестве

คำสาปพญาศรีโคตรตะบองมีผลกับการย้ายเมืองหลวงพระบางของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนามาเวียงจันทน์จริงหรือ.? 5 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



คำสาปพญาศรีโคตรตะบองมีผลกับการย้ายเมืองหลวงพระบางของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนามาเวียงจันทน์จริงหรือ.?

#คำสาปพญาศรีโคตรตะบอง มีผลกับการย้ายเมือง #หลวงพระบาง ของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนามา #เวียงจันทน์ จริงหรือ.? ตำนานพญาศรีโคตรตะบอง ศรีโคตรบูร, ศรีโคตรตระบอง เป็นชื่อเฉพาะเรียกชื่อคนและเรียกชื่อรัฐ ในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องชื่อคนเท่านั้น ตำนานพญาศรีโคตร, พญาศรีโคตรตระบอง, ພະຍາສີໂຄດຕະບອງ เป็นตำนานร่วมกันทั้ง แขมร, สยาม, ลาว เรื่องราวในตำนานคล้ายคลึงกัน พิจารณาแล้วน่าจะสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วง “มืดมน” คือช่วงล่มสลายของ “ยุคพระนครหลวง” (ยโศธรปุระ – นครธม) ร่วมสมัยกับการรุ่งเรืองขึ้นมาของรัฐที่ปกครองโดยชาวสยาม-ลาว จิตร ภูมิศักดิ์ เล่าไว้ใน ตำนานแห่งนครวัด (ฉบับพิมพ์ล่าสุด โดยสำนักพิมพ์แม่คำผาง) ว่า “๔. ถัดจากสมัยศรีนทรวรมัน คือนับแต่ พ.ศ. ๑๘๕๐ ลงมา คือสมัยของกษัตริย์ศรีนทรวรมัน และชยวรรมปรเมศวร เรื่องราวปีเริ่มแรกของสมัยชยวรรมปรเมศวร คือตั้งแต่ปี ๑๘๗๐ ในระยะนี้เองคือระยะแห่งการจลาจลของทาส เรื่องพระยาตะบองทยุงและพระยาแกรกอยู่ในระยะนี้” ตำนานพญาศรีโคตรตระบอง ปรากฏในพระราชพงศาวดารกัมพูชา ฉบับนักองค์นพรัตน์ พ.ศ.๒๔๒๐ (นัยว่าได้เค้าเรื่องไปจาก “พระราชพงศาวดารเหนือ” ด้วย), พระราชพงศาวดารเหนือ(เรื่องพระยาแกรก), ตำนานเมืองพิจิตร (พระยาศรีโคตรเทวราช), ตำนานเมืองศรีสะเกษ, ตำนานพะยาสีโคดตะบอง ของลาว และแม้กระทั่งในความทรงจำของเชลยศึกอยุธยาที่พม่า จับไปอยู่พม่า เช่น “คำให้การชาวกรุงเก่า” เป็นต้น เมื่ออ่านตำนานเรื่องพญาศรีโคตรตะบอง โปรดอย่าลืมว่า ชื่อนี้เป็นตำนาน มิใช่ชื่อบุคคลคนใดคนหนึ่งคนเดียว ทำนองเดียวกับชื่อ “พระร่วง”, “พระเจ้าอู่ทอง” เป็นนามที่นิยมใช้ในตำนานของภาคกลาง เป็นบุคลาธิษฐานถึงบุคคลหลายคน มิได้หมายถึงใครคนหนึ่งคนเดียว พื้นสืบ (ตำนานอิงประวัติศาสตร์ลาว) เรื่อง “ศรีโคตรตะบอง” ພະຍາສີໂຄດຕະບອງ “ครั้งหนึ่งดนนานมาแล้ว มีครอบครัวหนึ่งที่ทุกข์ยากมีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า ท้าวศรี เป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง ถึงพ่อแม่จะทุกข์ยากแต่ก็เป็นห่วงอนาคตของลูกชาย จึ่งได้นำเอาลูกชายไปบวชอยู่วัดแต่อายุ ๑๐ ขวบ จนท้าวเซียงอายุได้ ๑๘ ปี ก็ลาสึกออกเป็นฆราวาสไปเป็นเซียงศรี อยู่เรือนเลี้ยงพ่อ แม่ที่เฒ่าแก่แล้ว พ่อกับแม่จึ่งนำเอาเซียงศรีไปมอบเป็น ข้อยข้ารับใช้อยู่เฮือนพญา (ชื่อเมืองใดบ่ปรากฏ) หน้าที่ของท้าวเซียงศรี คือไปตัดหญ้าเลี้ยงช้างม้า และไปตักนํ้ามันยางมาเฮ็ดกระบองไต้ อยู่เรือนพญามีข้อยข้าม้าใช้หลายสิบคน บางมื้อเซียงศรีก็ถูกสั่งให้ไปตัดหญ้าเลี้ยงช้างม้า บางมื้อก็ถูกสั่งให้ไปดงใหญ่กับหมู่เพื่อไปตัดเอาฟืน ย้อนว่าเซียงศรีมีรูปร่างบอบบางหมู่คนใช้ด้วยกันจึ่งคิดอิดู (เอ็นดู) ตนชาติ จึงมอบให้เซียงศรีเป็นผู้นึ่งข้าวแต่งกินท่า (รอ) หมู่อยู่บ่อนพักเซากลางดง ส่วนพวกหมู่ก็ออกซอก (ค้น) หาไม้ยาง เซียงศรีได้ออกไปกับขบวนตัดไม้ยางหลายเทื่อแล้ว และเทื่อใดก็มีแต่เป็นผู้นึ่งข้าวแต่งกิน เทื่อนี้ก็เช่นเดียวกัน พอหวดข้าวออกอายสุกดีแล้ว แต่บ่มีไม้กะด้ามวีข้าว ท้าวเซียงศรีจึ่งเอาพร้าตัดเอาไม้มาเฮ็ดเป็นไม้กะด้ามวีข้าว เหลียวซอกหาอยู่ใกล้เคียงนั้นก็บ่เห็นมีง่าไม้ใดพอจะเอามาเฮ็ดเป็นไม้กะด้ามได้ ขณะนั้นจึ่งแนมไปเห็นตอไม้ที่ถูกตัดแล้วแต่ดนเป็น ตอดำขนาดสามคนอุม้ (ตอกกติ้วดำ) มีง่าหนึ่งชี้ออกมาเท่ากับแขน มีแง่หนึ่งเท่ากับกกขาโต้ ท้าวเซียงศรีก็บ่คิดสงสัยอันใด เพราะญ้าน (กลัว) ข้าวสุกจะเหลวโพด (มาก) จึ่งฟ้าว (รีบ) ตัดเอาง่าไม้เท่ากับแขนนั้นไปถาก แล้วก็เอาไปสว่ายข้าวอยู่กับหวดนั้นโลด พอแต่ท้าวเซียงศรีเอาไม้กะด้ามสว่ายข้าวถูกบ่อนใดเข้าบ่อนนั้นก็ดำปี้ปานขี้ถ่านไฟทันทีโลด ดังนั้นลาวจึ่งบ่เอาไม้กะด้ามสว่ายข้าวตื่ม (อีก) ลาวฟ้าวกอบเอาข้าวดำนั้นออกไปไว้ข้างนอกด้วยความตกใจข้าวที่ดำนั้นได้ประมาณปั้นใหญ่หนึ่ง ท้าวเซียงศรีแกว่งไม้กะด้ามถิ้ม (ทิ้ง) แล้วตัดสินใจเอามือวีข้าว ข้าวนึ่งแต่ละเทื่อก็เพียงพอให้ทุกคนได้กินจนอิ่ม ท้าวเซียงศรีคิดว่า ถ้าจะเอาข้าวที่ดำนั้นถิ้ม (ทิ้ง) แล้วพากันกินส่วนที่ดีก็อาจจะบ่พอกันกิน ท้าวเซียงศรีจึงตัดสินใจกินข้าวดำปั้นนั้น พอแต่ท้าวเซียงศรีกินข้าวดำปั้นนั้นหมดก็รู้สึกว่าร่างกายเกิดมีกำลังวังชาอย่างน่าแปลกประหาดจึ่งลองเอาไม้กะด้ามลำเท่าแขนนั้นมาหักเบิ่ง ก็เห็นว่าหักได้โดยง่าย จากนั้นลองยู้กกไม้ลำเท่าตัวคนเบิ่งกกไม้ก็ล้มลงอย่างง่ายดาย ท้าวเซียงศรีดีใจหลายจึงลองดึงง่ายูงใหญ่อยู่ใกล้นั้นเบิ่ง กกยูงทั้งต้นก็ก่องลงมา จึ่งคิดอยากหยอกพวกหมู่ท้าวเชียงศรีจึ่งก่องกกยางลง แล้วเอาติบข้าว (กล่องข้าว) ห้อยไว้ปลายยางใหญ่สูงจนแหงนคอติดหลัง จากนั้นท้าวเซียงศรีก็แต่งอยู่ครัวกิน (ทำกับข้าว) ท่า (รอ) หมู่ พอหมู่พากันหาบไม้ยางและหาบนํ้ามันยางมาแล้วก็เตรียมตัวกินข้าว ท้าวเซียงศรีแต่งอาหารแต่บ่มีติบข้าวใหญ่ที่ทุกคนเคยจกกินข้าวจึ่งถามท้าวเซียงศรี ท้าวเซียงศรีทั้งหัว (หัวเราะ) ทั้งชี้มือขึ้นปลายยุง ทุกคนแนมขึ้นไปเห็นติบข้าวห้อยอยู่ปลายยางใหญ่ก็ตกใจ ในขณะที่หมู่คู่ทั้งตกใจทั้งแปลกใจอยู่นั้น ท้าวเซียงศรีก็ใช้มือก่องกกยางลงมาจนปลายถึงดิน แล้วจับเอาติบข้าวมาสู่หมู่กิน ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของเซียงศรีก็ดังไปทั่วเมืองจนเฮ็ดให้พญาสนอกสนใจ พญาได้พาเซียงศรีไปคล้องช้างนำ พอเห็นช้างป่า ท้าวเซียงศรีก็ออกไปจับช้างมามอบให้พญาโดยง่าย จนพญาคิดว่าท้าวเซียงศรีบ่แม่นคนธรรมดา จึ่งนำเอาเรื่องนี้ไปทูลพระเจ้าแผ่นดินอยู่เวียงจัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับศึกช้างพวมทำลายม้างเพอยู่นครเวียงจันพอดี ว่ามีฝูงช้างล้านตัวอาละวาดทำลายม้างเพเฮือนชาน และไล่ฆ่าประชาราษฎรไปทั่วเมือง ท้าวเชียงศรีจึ่งขันอาสาไปปราบช้าง แต่ก่อนจะขึ้นไปเวียงจัน ท้าวเซียงศรีได้เข้าไปป่า ไปเอาง่าไม้ดำที่ใช้เฮ็ดเป็นไม้กะด้ามนั้นมาเฮ็ดเป็นค้อนกะบองถือเป็นอาวุธ #เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Comments