Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб EP95 บุหรี่ไฟฟ้า ผิดไหม 2563 อธิบายชัด พร้อมวิธีคุยกับเจ้าหน้าที่ l ทนายปวีณ в хорошем качестве

EP95 บุหรี่ไฟฟ้า ผิดไหม 2563 อธิบายชัด พร้อมวิธีคุยกับเจ้าหน้าที่ l ทนายปวีณ 4 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



EP95 บุหรี่ไฟฟ้า ผิดไหม 2563 อธิบายชัด พร้อมวิธีคุยกับเจ้าหน้าที่ l ทนายปวีณ

บุหรี่ไฟฟ้าผิดไหม 2562 อธิบายชัด พร้อมวิธีคุยกับเจ้าหน้าที่ สนับสนุนช่องทนายปวีณ โดยการสั่งสติ๊กเกอร์ทนายปวีณใน Shopee กดลิ้ง https://bit.ly/3QomWaD หรือเข้าแอป Shopee แล้วค้นหา สติ๊กเกอร์ทนายปวีณ --------------------------- #ถึงหน้าตาไม่น่าไว้ใจแต่ไว้ใจได้ครับ #ทนายความสุราษ กฎหมายง่ายๆกับ ทนายปวีณ ให้คำปรึกษาฟรี สงสัยตรงไหนเรื่องอะไรคอมเม้นไว้เลยครับ Facebook : ทนายปวีณ คลิ๊กเลย https://bit.ly/2QFlaDH ไม่ได้แนะนำว่ามีแล้วดี แต่หากมีไว้ครอบครองไม่ได้ นำเข้ามาเพื่อจำหน่าย บุหรี่ไฟฟ้า🚨 🗣[เมื่อคดีครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า อัยการสั่งไม่ฟ้อง...] *********************************************** #เดิมคือ เมื่อก่อนได้มี ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กําหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๗ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ 🗣เมื่อบารากู่และบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าต้องห้าม ใครนำเข้ามา จึงมีความผิด ตาม พรบ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ ผู้ใดหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามก็ดี.......... 🗣ส่วนใครที่มีบารากู่และบุหรี่ไฟฟ้า รับไว้โดยรู้ว่า เป็นของต้องห้าม นำเข้ามา จึงมีความผิด ตาม มาตรา 27 ทวิ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามหรือข้อจำกัด มีความผิดต้องระวางโทษ .... 📌📌ต่อมาเมื่อปี ๒๕๖๐ ได้มี พรบ.ศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ ได้ยกเลิก พรบ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ พรบ.ศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๒ ผู้ใดนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกไปจากยานพาหนะ คลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า ที่มั่นคง ท่าเรือรับอนุญาต หรือเขตปลอดอากร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากร ต้องระวางโทษ.......... #เห็นได้ว่า มาตรา ๒๔๒ (ใหม่ ) ไม่มีบัญญัติถึง ของต้องห้าม ดังเช่น มาตรา ๒๗ (เดิม) 🗣เมื่อไม่มีบัญญัติ จึงไม่ผิด ตาม มาตรา ๒๔๒ เมื่อไม่ผิด มาตรา ๒๔๒ ก็ไม่ผิด มาตรา ๒๔๖ มาตรา ๒๔๖ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา ๒๔๒ ต้องระวางโทษ.......... 🚨🚨คดีนี้ ตำรวจจับบุหรี่ไฟฟ้าของกลาง เมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ #ดังนั้น จึงบังคับใช้ตาม พรบ.ศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ 🤭🤭🤭เมื่อบุหรี่ไฟฟ้าของกลาง ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นคนนำเข้ามา และนำเข้ามาเมื่อใด หากนำเข้ามาก่อน ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ ก็ไม่ใช่ของต้องห้ามตามประกาศกระทรวงฯ ไม่มีความผิด #ทั้งนี้ บทบัญญัติตาม พรบ.ศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๒ , ๒๔๖ ไม่ได้บัญญัติบทความผิดและบทลงโทษผู้ต้องหา ในข้อหาซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าหรือน้ำยาเติมบุหรี่โดยผู้ต้องหา รู้ว่าเป็นของต้องห้าม ดังเช่น พรบ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ #มาตรา ๒๗ ทวิ 🗣ทั้งของต้องห้ามดังกล่าวกฎหมายห้ามนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ของต้องห้ามดังกล่าว จึงไม่สามารถเข้าสู่พิธีการศุลกากรเพื่อเสียภาษีได้ การกระทำของผู้ต้องหาจึงไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตาม พรบ.ศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๒ , ๒๔๖ พยานหลักฐานไม่พอฟ้อง สั่งไม่ฟ้องตามข้อกล่าวหาที่เสนอมา 📍📍📍📍อนึ่ง กรณีจำหน่ายหรือให้บริการข้อหา ขาย หรือให้บริการสินค้า ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้คุ้มครองผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 36 วรรคสอง, มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ประกอบกับคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่องห้ามขาย หรือห้ามให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 📍📍📍📍 Cr. : Facebook คู่หูทนายป่วย ---------------------------

Comments