Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб กำไรต่อหุ้นปรับลด (Diluted EPS) คืออะไร ? ต่างจากกำไรต่อหุ้นพื้นฐาน (Basic EPS) ยังไง ? в хорошем качестве

กำไรต่อหุ้นปรับลด (Diluted EPS) คืออะไร ? ต่างจากกำไรต่อหุ้นพื้นฐาน (Basic EPS) ยังไง ? 4 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



กำไรต่อหุ้นปรับลด (Diluted EPS) คืออะไร ? ต่างจากกำไรต่อหุ้นพื้นฐาน (Basic EPS) ยังไง ?

วีดิโอหัวข้อนี้เรามาอธิบายเรื่องกำไรต่อหุ้นปรับลดครับ มันคืออะไร ? ตัวกำไรต่อหุ้นปรับลดนี่คือมีไว้ให้เราดูว่าถ้าสมมติมีการใช้สิทธิ์ของทรัพย์สินที่มีสิทธิ์การแปลงสภาพหรือมีสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญทั้งหมด กำไรต่อหุ้นจะเป็นเท่าไหร่ อย่างเช่นสมมติบริษัท A ตอนนี้มีหุ้นอยู่ 100 หุ้น และมีกำไรปีละ 100 บาท ถ้าเราเป็นเจ้าของหุ้นหนึ่งหุ้นก็คือเราเป็นเจ้าของกำไร 1 บาทใช่มั้ยครับ มาจากกำไร 100 บาทหารด้วย 100 หุ้นก็ได้เป็นกำไรต่อหุ้น (basic EPS) 1 บาท แต่ทีนี้สมมติว่าบริษัทมีการออกหุ้นกู้แปลงสภาพเอาไว้ แล้วมันสามารถแปลงเป็นหุ้นได้ทั้งหมด 100 หุ้น ก็แปลว่าเมื่อเวลาผ่านไปถ้าเค้าใช้สิทธิแปลงสภาพขึ้นมาเมื่อไหร่บริษัทก็จะกลายเป็นมีหุ้นอยู่ทั้งหมด 200 หุ้น และกำไรที่เราเป็นเจ้าของก็จะถูกเจือจางเพราะมีคนมาช่วยหารเหลือแค่ 0.5 บาท มาจากกำไร 100 บาทหารด้วย 200 หุ้นก็จะได้เป็นกำไรต่อหุ้นปรับลด (diluted EPS) 0.5 บาท ควรจะดูอันไหน basic หรือ diluted ? หลักๆมันขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังดูจากมุมมองไหน ตัวกำไรต่อหุ้นมันก็พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วว่ากำไรที่เกิดขึ้นเทียบกับจำนวนหุ้นที่มีอยู่เป็นเท่าไหร่ มันก็จะมีสาระกับเราถ้าเราเป็นเจ้าของหุ้นนี้อยู่แล้วและเราอยากรู้ว่ากำไรต่อหุ้นที่เราเป็นเจ้าของคือเท่าไหร่ ส่วนตัวกำไรต่อหุ้นปรับลดมันพูดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าสมมติว่าได้มีการเจือจางความเป็นเจ้าของแล้วกำไรต่อหุ้นจะเหลือเท่าไหร่ มันก็จะมีสาระถ้าเรากำลังประมาณมูลค่าและตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นดีมั้ย ดังนั้นโดยปกติถ้าเรากำลังคิดจะซื้อหุ้นเราก็ควรจะดูกำไรต่อหุ้นปรับลดครับ สูตรอย่างเป็นทางการ จริงๆมันก็มีอยู่บนงบการเงินอยู่แล้วนะ แต่เผื่อใครอยากคำนวณเองเพื่อความสนุก สูตรอย่างเป็นทางการของมันจะเป็นแบบนี้ครับ https://analystnotes.com/cfa-study-no... จริงๆมันจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมนิดหน่อยที่ต้องใช้วิจารณญาณเช่น ถ้ามีสัญญาอะไรค้างอยู่ที่สามารถจ่ายโดยใช้เงินสดหรือจ่ายเป็นหุ้นก็ได้ ให้สมมติว่าจ่ายเป็นหุ้นไว้ก่อน กรณีพวกหุ้นกู้แปลงสภาพหรือออพชั่นที่ให้พนักงาน (stock option) ดูด้วยว่าสิทธิมันมีแนวโน้มจะได้ใช้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาหรือเปล่า เช่นสมมติมีสิทธิซื้อหุ้นได้ที่ 50 บาทต่อหุ้น แต่ราคาหุ้นตอนนี้อยู่ 5 บาทและออพชั่นจะหมดอายุใน 1 ปีแบบนี้มันก็ไม่น่าจะได้ใช้สิทธิ์ คำนวณจำนวนหุ้นที่่เพิ่มมาของพวกที่แปลงสภาพมาจะตรงไปตรงมาก็คือเอาราคาพาร์มันหารกับราคาแปลงสภาพตรงๆ เช่นหุ้นก็แปลงสภาพพาร์ 1,000 บาท มีสิทธิแปลงสภาพได้ที่ 50 บาทต่อหุ้น ก็คือถ้าใช้สิทธิแปลงสภาพจะมีหุ้นใหม่โผล่มา 1,000/50 = 20 หุ้น คำนวณจำนวนหุ้นที่เพิ่มมาจากการใช้ stock option จะยุ่งกว่ากันนิดนึง สมมติออพชั่นให้สิทธิ์ซื้อหุ้นได้ 100 หุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท แล้วตอนนี้หุ้นในตลาดขายอยู่ที่ 20 บาท พอคนใช้สิทธิปุ๊บเค้าก็ต้องจ่ายเงินให้บริษัท 1,000 บาท บริษัทก็เอาเงิน 1,000 บาทที่ได้มานั่นไปซื้อหุ้นในตลาดก่อนซึ่งขายอยู่ที่ราคาหุ้นละ 20 บาทได้มา 50 หุ้นให้คนใช้สิทธิไป หลังจากนั้นก็ออกหุ้นใหม่เพิ่มขึ้นจนครบคืออีก 50 หุ้นให้คนใช้สิทธิไป ดังนั้นสังเกตคือถึงแม้ว่าคนใช้สิทธิซื้อได้ 100 หุ้นแต่สรุปหุ้นใหม่ที่เพิ่มมาจะเป็น 50 หุ้นไม่ใช่ 100 หุ้น ตัวอย่างบริษัทที่มีพวกหุ้นกู้แปลงสภาพก็เช่นโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ ติดตามข่าวสารเราได้บน Facebook   / smartstockinvestment   หรืออ่านบทความอื่นๆของเราได้บนเวป http://www.adisonc.com/stock-investme...

Comments