Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต в хорошем качестве

การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต 1 год назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต

การแสดงวิพิธทัศนา ชุด สรรสาระศิลปะทั่วไทย จากรายการเหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต ภายใต้โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ครั้งที่ ๖ ณ สังคีตศาลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวัน อาทิตย์ ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต โขน เป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทย ถือกําเนิดขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ พัฒนาการจากการเล่น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑. หนังใหญ่ ๒. ชักนาคดึกดําบรรพ์ ๓. กระบี่กระบอง แต่แรกเริ่มนั้นการแสดงโขนนั้นแสดงในลักษณะนาฏกรรมสงครามโดยมหาดเล็กและตำรวจเล็กในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและเฉลิมพระเกียรติ์องค์พระมหากษัตริย์ที่เปรียบดั่งสมมุติเทพ อนึ่งยังเพื่อเป็นการฝึกปรือฝีมือของทหารมหาดเล็กและตำรวจเล็กให้มีความคล่องแคล้วว่องไว รู้จักทักษะการใช้อาวุธ การเคลื่อนไหวร่างกาย ในรูปแบบของนาฏกรรมในยามที่ว่างจากสงคราม และยังเป็นการแสดงแสนยานุภาพของกองทัพว่ามีทหารหนุ่มฝีมือดีอยู่ในกองทัพ โดยจะแสดงในงานพระราชพิธีบรมราชภิเษก เชกเช่นเดียวกับการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ที่มีบัญญัติในกฏมณเฑียรบาล จะแสดงกันกลางสนามนอกเคหะสถาน ใช้ธรรมชาติเป็นฉาก ใช้บทการแสดงในลักษณ์ของการพากย์และเจรจาเช่นเดียวกับการแสดงหนังใหญ่ และผู้แสดงโขนจะต้องสวมหัวโขนปิดหน้าทั้งหมดจึงต้องมีผู้พูดแทนเรียกว่าผู้พากย์ - เจรจา วรรณกรรมที่นิยมนํามาใช้สําหรับแสดงโขนคือเรื่อง “รามเกียรติ์” เพราะพระรามนั้นเป็นพระนารายณ์อวตาร เป็นมหาบุรุษที่ได้รับการยกย่องในศาสนาฮินดู และเนื้อเรื่องรามเกียรติ์นั้นก็ยังเป็นวีรรส รสแห่งความกล้าหาญ มีเนื้อหาในการรบพุ่งระหว่างฝ่ายพระรามกับท้าวทศกัณฐ์ตลอดทั้งเรื่อง เนื้อหาจึงชวนตื่นเต้น เล้าใจ ปลุกขวัญกำลังใจให้หึกเหิม จึงเหมาะสมกับการนำมาแสดงโขนที่เป็นนาฏกรรมสงคราม ซึ่งไทยได้เค้าเรื่องเดิมมาจากเรื่อง “รามายณะ” ของอินเดีย การแสดงโขนในครั้งนี้ ดําเนินเรื่องในตอน ศึกอิทรชิต บทพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จัดแสดงในรูปแบบโขนกลางแปลงของกรมศิลปากร โดยใช้วิธีโต้ตอบกันด้วยการพากย์และบทเจรจากระทู้ จัดทําบทโดย นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชํานาญการพิเศษ ซึ่งเรียบเรียงมาจากบทการแสดงของเดิมที่นายเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ ได้ประพันธ์ไว้ และยังเพิ่มการพากย์และเจรจาด้นสดที่ประพันธ์โดยผู้พากย์-เจรจาในขณะนั้น ตามอย่างของการแสดงโขนในสมัยก่อนที่จะนิยมพากย์และเจรจาแบบด้นสด เพื่อแสดงไหวพริบของนักแสดงโขนและผู้พากย์ - เจรจา บรรจุเพลงโดย นายสุรพงศ์ โรหิตาจล ดุริยางคศิลปินอาวุโส กระบวนท่ารําของอินทรชิตได้รับการถ่ายทอดจาก นายราฆพ โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ กระบวนท่ารําของพระลักษมณ์ได้รับการถ่ายทอดจากนายธงไชย โพธยารมย์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร เนื้อเรื่องกล่าวถึง หลังจากกุมภกรรณถูกพระรามสังหารแล้ว อินทรชิตพระโอรสของทศกัณฐ์จึงได้อาสายกกองทัพออกรบด้วยตนเองกับกองทัพฝ่ายพระลักษมณ์เพื่อต้องการจะแก้แค้นให้กับกุมภกรรณผู้เป็นอา ทั้งสองฝ่ายต่างสั่งไพร่พลยักษ์ลิงเข้าสู้รบกัน จนกระทั่งอินทรชิตเสียทีถูกพระลักษมณ์แผลงศรไปปักที่อก แต่กระนั้นอินทรชิตยังสามารถร่ายเวทย์มนตร์ให้ลูกศรหลุดออกจากอกได้ พอดีขณะนั้นเป็นเวลาใกล้พลบค่ำ ตามประเพณีการศึกแต่โบราณ ห้ามรบกันหลังพระอาทิตย์ตก ทั้งสองฝ่ายจึงได้ขอพักรบไว้ก่อนโดยสัญญาว่าวันรุ่งขึ้นจะยกกองทัพมาทําสงครามกันใหม่ จากนั้นอินทรชิตและพระลักษมณ์จึงสั่งให้กองทัพของตนยกทัพกลับ นำแสดงโดย พระลักษมณ์ - สมเจตน์ ภู่นา สุครีพ - พรเลิศ พิพัฒน์รุ่งเรือง หนุมาน - กิตติ จาตุประยูร ชมพูพาน - ศิลปิน ทองอร่าม องคต - เอกภชิต วงศ์สิปปกร กางกลดพระ - ธนากร รัตนเลิศ สิบแปดมงกุฎ - ดําริ กิตติพงษ์, ไชยวัฒน์ ธรรมวิชัย, อนุชา เลี้ยงสอน, พรรวินท์ ชุนเกษา, สุวรรณ กลิ่นอําพร, วันชัย พันธุ์ดี, คณิต เพิ่มสิน, ธเนศ ปากวิเศษ ม้าลากรถ - ธรรมภณ มาฬมงคล, กันตพงษ์ เรืองวัฒนวิศิษฐ์ อินทรชิต - กฤษกร สืบสายพรหม กางกลดยักษ์ - ศุภชัย ศุภรกุล เสนายักษ์ - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์, สิบทิศ คาระวะ, ธีรยุทธ จุลละปิยะ, อรรถพล อ่อนสุวรรณ, เศรษฐพงศ์ ปั้นศิริ, พัฒนพงษ์ แสงรื่น, พหุรงค์ อัครวงษ์, เสกสม พานทอง ราชสีห์เทียมรถ - พงษ์พิพัฒน์ สุวรรณมาลา, ศรุต นนทประดิษฐ์ พากย์-เจรจา - หัสดินทร์ ปานประสิทธิ์, ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์

Comments