Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ธรรมชั้นสูง ฌาน-ญาณ (รูปฌาน อรูปฌาน) วิปัสสนา ไตรลักษณ์ ปิดอบายภูมิ โดยหลวงวิริยังค์ สิรินฺธโร в хорошем качестве

ธรรมชั้นสูง ฌาน-ญาณ (รูปฌาน อรูปฌาน) วิปัสสนา ไตรลักษณ์ ปิดอบายภูมิ โดยหลวงวิริยังค์ สิรินฺธโร 7 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ธรรมชั้นสูง ฌาน-ญาณ (รูปฌาน อรูปฌาน) วิปัสสนา ไตรลักษณ์ ปิดอบายภูมิ โดยหลวงวิริยังค์ สิรินฺธโร

การฝึกสมาธิขั้นสูง การเริ่มต้นสำคัญ และการเดินทางของจิต หลวงพ่อวิริยังค์ ท่านได้เทศ ธรรมชั้นสูง ขั้นของฌาน จนถึงญาณ ให้เราเข้าใจ และการจะดับทุกข์ได้ต้องฝึกสมาธิระดับปัญญา คือ วิปัสสนา แต่ต้องอาศัยฌานในการนำจิตเข้าสู่วิปัสสนา ฌาน คือ อารมณ์ของจิตที่เกิดจากเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สภาวะที่จิตมีสมาธิ ตั้งแต่อัปปนาสมาธิขึ้นไป การทำ สัมมาสมาธิ เพื่อจิตตั้งมั่น ดับนิวรณ์ ก่อนยกสู่ภาวนามยปัญญา เพื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง ญาณ คือ การรู้ มีทั้งโลกียะ และโลกุตระ ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง "ฌาน" คือ เอาจิตตั้งไว้จุดใดจุดหนึ่ง ดูลมหายใจ หรือเอาจิตตั้งไว้กับลมหายใจ หรือเอาจิตไว้ตรงกลางกาย หรือไว้ที่หน้าผาก แล้วก็เกิด ปีติ สุข เอกัคคตา ก็รับอารมณ์เฉยไว้ ไม่ให้ปรุงแต่งอย่างอื่น คือกำหนดรู้อยู่เรื่อย จนจิตเกิดความสงบผ่องใสอยู่เรื่อย นั่นเรียกว่า "ฌาน" "ญาณ" นั้นหมายถึงเมื่อพิจารณาดูจิตรู้สภาวะจิตมากขึ้นๆแล้ว เข้าใจแยกกายแยกจิตได้ เมื่อเข้าใจจิตมาขึ้นแล้วญาณก็เกิดขึ้น ปัญญาก็เกิดขึ้น ต้องไปรู้จิตตัวเองจึงจะเกิดญาณเกิดปัญญา ญาณนี้ คือ ปัญญา รู้ความสงบก็รู้แค่ฌาน แต่ถ้ารู้เรื่องจิตนั้นจึงจะเป็นญาณ นี่แตกต่างกันอย่างนั้น ญาณ 16 เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ได้แก่ 1. นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป 2. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป 3. สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ 4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อุพยัพพยญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล) 5. ภังคานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภังคญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว 6. ภยตูปัฏฐานญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภยญาณ) หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด 7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อาทีนวญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้ 8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า นิพพิทาญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย 9. มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย 10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ปฏิสังขาญาณ) หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี 11. สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร 12. สัจจานุโลมิกญาณ (เรียกโดยย่อว่า อนุโลมญาณ) หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ) 13. โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ 14. มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค 15. ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล 16. ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)

Comments