У нас вы можете посмотреть бесплатно ...เซนเซอร์หรือบอร์ด กับอาการเย็น 3 วันต้องถอดปลั๊กเสียบใหม่เย็นอีก 3 วัน или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
.... เป็นอาการของตู้เย็นแบบไซด์-บาย-ไซด์ ยี่ห้อ Samsung ในรุ่น RS-20CRPS หรือในรุ่นที่กระจายความเย็นจากด้านช่องฟรีซไปทางช่องแช่เย็นธรรมดา อีแวปฯเดี่ยว 2 เซนเซอร์ (คือ D-sensor และ F-Sensor) ซึ่งทางเจ้าของตู้ได้เคยปรึกษาแล้วซ่อมจากศูนย์ แต่ตู้ก็ยังมีอาการเช่นเดิม คือ .... **** เย็นได้เพียง 3-4 วันจากนั้นก็ต้องถอดปลั๊กออกเพื่อให้น้ำแข็งที่อยู่บนอีเวปฯในช่องฟรีซละลาย และเมื่อเสียบปลั๊กเพื่อใช้งานต่อก็จะใช้ตู้ได้เป็นปกติอีก 3-4 วัน **** สลับกันไปอย่างนี้ตลอด จากอาการนี้เราจะสังเกตได้ว่าสาเหตุนั้น น่าจะมาจากการที่ตู้ไม่เข้าสู่การตัดละลาย หรือ “ ดีฟรอส Defrost “ หมายถึงคอมฯจะทำงานอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าเราได้ศึกษาเกี่ยวกับตู้ 2 ประตูขึ้นไปก็จะพอจะทราบได้คร่าวๆว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ...มาทบทวนกันนะครับ ถ้าเป็นตู้แบบที่ใช้นาฬิกาหรือ ทามเมอร์ ..... ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าตัวทามเมอร์เอง หรือไบเมนทอล น่าจะมีปัญหา เพราะถ้าตัวทามเมอร์ไม่หมุนหรือไม่เดิน หรือ ค้างอยู่ในตำแหน่งต่อไฟไปเลี้ยงคอมฯ จะทำให้คอมฯทำงานตลอดเวลา ..... หรือตัวทามเมอร์หมุนทำงานปกติ แต่ตัวไบเมนทอลไม่ต่อ ไฟ 220Vac ก็จะไม่สามารถไปจ่ายให้กับขดลวดฮีตเตอร์ ได้ ระบบก็ไม่สามารถทำละลายน้ำแข็งได้เช่นกัน ถ้าเป็นตู้แบบที่ใช้บอร์ดควบคุม หรือแม้กระทั่งแบบอินเวอร์เตอร์ ระบบนี้จะนำเอาเซนเซอร์มาควบคุมการตัดละลายควบคู่ไป กับการสั่งงานของ MCU แล้วเซนเซอร์ในตู้แบบใช้บอร์ดมีอะไรบ้าง ..... D-Sensor หรือดีฟรอส-เซนเซอร์ ทำหน้าที่ตัดละลายน้ำแข็งที่อยู่บนอีแวปฯ เมื่อถึงอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด จะ ติดตั้งอยู่กับตัวอิกคิวมูเลเตอร์ (ตัวกลมๆป่องๆ) หรือใกล้เคียง (หรือเทียบได้กับ ไบเมนทอลในตู้ที่ใช้นาฬิกา) ..... F-Sensor หรือฟรีซ-เซนเซอร์ ทำหน้าที่ควบคุมความเย็นภายในช่องฟรีซ ที่ติดตตั้งมักจะอยู่ชั้นนอกก่อนถึงแผง อีแวปฯ ข้างๆพัดลมกระจายความเย็น ซึ่งในปัจจุบันอาจจะมี หรือไม่มีก็แล้วแต่การออกแบบของแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น (หรือเทียบได้กับ ฟรีซเทอร์โมสตัส ที่อยู่ภายในช่องแช่แข็ง) ..... R-Sensor หรือรูมเซนเซอร์ Room-Sensor ทำหน้าที่ควบคุมความเย็นภายในช่องแช่ธรรมดา ในรุ่นใหม่ๆก็ อาจจะถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกันกับ พัดลมกระจายความเย็น หรือตัวส่งลมอัตโนมัติ ที่เราเรียกกันว่า “ แด้ม เปอร์ Damper “ นั่นเอง ..... RT-Sensor หรือ อาร์.ที.เซนเซอร์ เป็นตัวตรวจจับอุณหภูมิด้านนอกหรือหลังตู้ เรามักจะเห็นได้บ่อยในตู้แบบ อินเวอร์เตอร์ เพราะฉะนั้นเราพอจะวิเคราะห์ออกได้แล้วนะครับว่า ถ้าตู้นั้นใช้บอร์ดควบคุมและเกิดอาการดังกล่าว คือเย็นได้ 3-4 วันแล้วไม่เย็น ต้องถอดปลั๊กออกครึ่งค่อนวันแล้วเสียบใหม่ ตู้ก็จะกลับมาใช้งานได้อีก 3-4 วันวนไปแบบนี้เรื่อยๆ เราก็พอจะมองออกว่า เซนเซอร์ตัวไหนที่มีปัญหา แต่ในกรณีงานนี้ช่างศูนย์ (ตามที่ท่านเจ้าของแจ้งให้ทราบ)ได้วิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นที่บอร์ดควบคุม โดยยังไม่ได้ตรวจสอบอุปกรณ์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ท่านเจ้าของเครื่องพอได้ศึกษาระบบมาบ้าง จึงไม่แน่ใจว่าเป็นที่บอร์ดจริงหรือไม่ หรือน่าจะเป็นที่ตัวเซนเซอร์ที่อยู่ในตำแหน่งละลายน้ำแข็งมีปัญหากันแน่ จึงได้ให้ทางร้านเข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง ***** ต้องออกตัวก่อนนะครับว่า เราไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่น แต่เราอยากให้ทำการวิเคราะห์ในเบื้องต้น โดยเริ่มจากน้อยไปหามาก มิใช่จากมากไปหาน้อย . และเน้นแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปด้วยดี . ***** จากนั้นก็ได้ทำการตรวจเช็คเบื้องต้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์ต่างๆ เทอร์โม-ฟิวส์ ตัวขดลวดความร้อนหรือฮีตเตอร์เอง **** และผลที่ได้ก็คือการวัดเซนเซอร์แล้วได้ค่าที่ผิดเพี้ยนเกินค่าปกติ **** ดั่งที่ท่านได้เห็นในคลิปวีดีโอตัวนี้ จะเป็นอย่างไรนั้น ... โปรดรับชมได้ตามอัธยาศัย ... ... ก็หวังว่าคลิปวีดีโอนี้คงจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยในคำอธิบายสามารถโทรสอบถาม ได้ที่เบอร์ 084-6663328 ได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้รับสายก็พักซักครู่แล้วลองโทรใหม่ อาจจะขับรถ หรืออยู่หน้างาน อาจจะไม่สะดวกรับสายในขณะนั้น “ ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน “ “ ขอให้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำ “ .... กราบขอบพระคุณสำหรับการรับชมและติดตาม สามารถสนับสนุนช่องยูทูปของเราได้ที่ ธ.กสิกรไทย สาขาบางพลัด เลขที่บ/ช 089-8-70371-1 นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์ ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เวลา 18.30 น.