Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб หลังเก็บเกียวทุเรียน ใส่ปุ๋ยอย่างไร | ใส่ปุ๋ยทุเรียน | ดูแลทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว | ฟื้นฟูต้น в хорошем качестве

หลังเก็บเกียวทุเรียน ใส่ปุ๋ยอย่างไร | ใส่ปุ๋ยทุเรียน | ดูแลทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว | ฟื้นฟูต้น 1 год назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



หลังเก็บเกียวทุเรียน ใส่ปุ๋ยอย่างไร | ใส่ปุ๋ยทุเรียน | ดูแลทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว | ฟื้นฟูต้น

สูตรล้างสารเรียกรากกระชากใบทุเรียน ก็เริ่มฤดูกาลใหม่นะครับสำหรับการทำทุเรียนเมื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยนะครับ ขั้นตอนต่อไปก็คือการฟื้นฟูต้น...การฟื้นฟูต้นก็คือการบำรุงต้นทุเรียน ซึ่งต้นทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยวลูกไปแล้ว จะสูญเสียธาตุอาหารไปเป็นจำนวนมาก หากไม่มีการฟื้นฟูหรือทดแทนส่วนที่หายไปจะทำให้ทุเรียนออกดอกช้า การพัฒนาของผลไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตในครั้งถัดไปช้าลง หลักในการฟื้นฟูต้น 1. ก็ควรทำการทำความสะอาดบริเวณโคนต้น ถอนและกำจัดวัชพืชที่โคนต้นก่อนการใส่ปุ๋ย 2. เสริมอีกนิดครับ...ในกรณีที่มีการใช้สารแพคโคบิวทาโซล ก็ควรที่จะมีการล้างสารก่อน โดยใช้ปุ๋ยเกล็ดไนโตรเจนสูง +จิบเบอรเรลลินเพื่อช่วยล้างพิษสารแพคโคบิวทราโซล และกระตุ้นการแตกใบอ่อน.. 3. และจากทำการการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นแล้วให้ทำการใช้ฮิวมิคแอซิด ซึ่งฮิวมิคช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน โดยใช้ อัตรา 1,000 มิลลิลิตร ร่วมกับปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 อัตรา 300 กรัม/น้ำ 200 ทำการฉีดพ่นฉีดพ่นลงดินทุกๆ 7 วัน จำนวน 3 ครั้ง 4.สำหรับปุ๋ยทางดินโดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนหรือเน้นปุ๋ยตัวหน้า... ไม่ว่าจะเป็น 40-0-0 หรือ 30-0-0 ในอัตรา 1 กิโลกรัม...ก็เพื่อให้ต้นมีพลังงานในการเตรียมแตกยอดใหม่... โดยใช้ร่วมกับสูตรเสมอไม่ว่าจะเป็นสูตร 15-15-15 หรือว่าสูตร 16-16-16ในอัตรา 3 กิโลกรัม และปุ๋ยคอกที่หมักแล้วซึ่งจะช่วยปรับโครงสร้างของดินให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี..โดยใส่รอบรัศมีทรงพุ่มในขณะที่ดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามทันทีหลังการใส่ปุ๋ย 5.หลังจากนั้นก็ทำควรตัดแต่งกิ่ง โดยตัดแต่งกิ่งที่แห้ง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ซ้อนทับบังแสงกัน กิ่งที่อยู่ติดโคนต้น ตัดปลายยอดออกเพื่อให้แสงแดดสาดส่องตั้งแต่ปลายยอดจนถึงโคนต้น..เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง...และยังเป็นการกระตุ้นให้มีการแตกยอดแตกใบชุดใหม่ด้วย....หลักการตัดแต่งกิ่งควรตัดแต่งกิ่งประมาณ 30-40 % พอ อย่าตัดเยอะยิ่งในช่วงปีนี้มีสภาพอากาศร้อนจัด...จะฟื้นต้นยาก 4.หลังจากทำการตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยนะครับ ก็กระตุ้นให้มีการแตกใบอ่อนโดยฉีดพ่นกลูโคส 60 กรัม ผสมกับฮิวมิคแอซิด 20 มิลลิลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 หรือ 10-20-30 อัตรา 60 กรัม 5. หลังจากนั้น 10-15 วัน ทุเรียนก็จะแตกใบอ่อน...และเมื่อมีการแตกใบอ่อนระยะที่เห็นปลายใบแดงๆหรือว่าระยะหางปลาทูให้ทำการฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดพวกแมลง พวกเพลี้ยไก่แจ้ 6.จากนี้ไปอีกประมาณ 45-60 วัน ใบก็จะแก่เต็มที่ก็สามารถกระตุ้นให้แตกใบอ่อนชุดที่ 2 ต่อไป 7.ในการกระตุ้นให้แตกใบอ่อนชุด 2 และ 3 ...ก็ทำการกระตุ้นให้แตกใบอ่อนเหมือนชุดแรกครับ 8. แต่บางสวนจะทำให้ใบที่ 2 ใบที่ 3 เล็กกว่าชุดแรก ...เหตุผลก็คือ ใบเล็กจะไม่ดึงอาหารไว้ที่ใบ...อาหารจะส่งมาที่ท้องกิ่งเพื่อเตรียมการออกดอก ออกผลผลิต...หลักการทำใบให้เล็ก..เราต้องควบคุมเรทค่า C:N Ratio หรือควบสัดส่วนของไนโตรเจนให้ห่างกับคาร์โบไฮเดรต...โดยลดปุ๋ยตัว N หรือไนโตรเจนเพื่อควบคุมโครงสร้างของใบให้เล็กลง.. โดยใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ร่วมกับ สูตรหน้าต่ำ กลางท้ายสูง อาจจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-52-17 หรือ 0-42-56 ฉีดพ่นทางใบ เพื่อกดโครงสร้างใบให้เล็ก นี้ก็เป็นหลักการในการฟื้นฟูต้นสะสมอาหารเพื่อให้ต้นทุเรียนมีสภาพที่สมบูรณ์ในการเตรียมพร้อมที่จะให้ผลผลิตในฤดูต่อไปครับ..หลักการนี้ไม่ใช่สูตรตายตัวครับ ให้ทำความเข้าใจ และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสวนตัวเองครับ.... +++++++++++++++++++++++++ facebook :   / konkaset89  

Comments