Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб Ep.881 วิธีดูเหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร. ปี พ.ศ. 2530 เบื้องต้น แบบว่องไว ค้มตัว คุ้มบ้าน в хорошем качестве

Ep.881 วิธีดูเหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร. ปี พ.ศ. 2530 เบื้องต้น แบบว่องไว ค้มตัว คุ้มบ้าน 1 год назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



Ep.881 วิธีดูเหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร. ปี พ.ศ. 2530 เบื้องต้น แบบว่องไว ค้มตัว คุ้มบ้าน

Ep.881 วิธีดูเหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร. ปี พ.ศ. 2530 เบื้องต้น แบบรวดเร็ว "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" "ร.๑ ไม่เคยแพ้ใครฉันใด ขอเราเป็นผู้ชนะแบบ ร.๑" เหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ" เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 #แก่แล้วส่องพระ #บ้านสวนลุงติ่งพัทลุง #เหรียญพระชัยหลังช้างหลังภปรปี2530 #วิธีดูเหรียญพระชัยหลังช้างหลังภปรปี2530เบื้องต้น เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร. ปี พ.ศ. 2530 เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ" มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อนาก และเนื้อกะไหล่ทอง " เหรียญพระชัยหลังช้าง" เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532 และ" เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์ "พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป อาทิเช่น"... 1.สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ 2.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร 3.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา 4.สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวิหาร 5.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา 6.พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ 7.พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) 8.พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน 9.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง 10.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง 11.พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม 12.พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ 13.พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม 14.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก 15.พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม 16.หลวงพ่อ ไสว วัดปรีดาราม ฯลฯ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วยเหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมาก เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์เต็มเปี่ยม และได้เล่าประวัติพระชัยหลังช้างไว้ว่า เป็นพระที่ ร.๑ ท่านบูชาประจำพระองค์ มาตั้งแต่สมัยชื่อด้วงแล้ว ต่อมาก็เป็นแม่ทัพ เวลาจะรบกับข้าศึกก็เอาไปด้วย บูชาประจำพระองค์เลย ออกรบแต่ละครั้ง ร.๑ ท่านไม่เคยแพ้ใคร ฉนั้นเวลาจะบูชา หลวงพ่อท่านให้อธิฐานว่า "ร.๑ ไม่เคยแพ้ใครฉันใด ขอเราเป็นผู้ชนะแบบ ร.๑" อธิฐานอย่างนี้ยิ่งดีใหญ่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อย่าให้แพ้ความยากจน" เราจะได้รวยๆๆ ความเชื่อแต่โบราณมานั้น การจะเคลื่อนพลยกทัพ ในกองทัพนั้น จะมีการอัญเชิญมิ่งขวัญกำลังใจ นั่นคือ พระชัย ขึ้นบนหลังช้างศึก เพื่อให้บังเกิดผลซึ่งชัยชนะ ให้พุทธคุณคุ้มครองอันตรายจากข้าศึก ในเวลาต่อมาจึงเรียกนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระชัยหลังช้าง

Comments