У нас вы можете посмотреть бесплатно ระบำศรีวิชัย или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
การแสดงระบำโบราณคดี ชุดระบำศรีวิชัย การแสดงนาฏศิลป์ไทยและบรรเลงเพลงภายใต้โครงการ รำลึกนาฏศิลป์ดนตรี ๑๑๑ ปี ธนิต อยู่โพธิ์ วัน พุธ ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2561 ณ โรงละครแห่งชาติ Cr. เพจ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ระบำศรีวิชัย เป็นระบำชุดที่ 2 ในระบำโบราณคดี 5 ชุด อ.มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง อ.ลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย และอ.เฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยประดิษฐ์ท่ารำจากหลักฐานทางศิลปกรรมและภาพจำหลักจากพระสถูปบุโรพุทโธ ในเกาะชวาในสมัยศรีวิชัย อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ดังนั้น ท่ารำ เครื่องดนตรี สำเนียงเพลง และเครื่องแต่งกายของระบำชุดนี้ จึงมีลักษณะอย่างชวา เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงระบำศรีวิชัย ประกอบด้วย เครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ กระจับปี่ ฆ้อง 3 ลูก ซอสามสาย ขลุ่ย เครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ นำแสดงโดย (นักแสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป) รุจิราพร พึ่งใหญ่ กัญญ์ณณัฐ สง่ากอง มนฑกานต์ อร่ามแสง กุลธิดาบุตรเนียม มัญชุสา แก้วผลึก ผกามาศ ยิ้มย่อง จุฑาทิพย์ เจนจบธุรกิจ โชติกา ดลบันดาลโชค ผู้บรรเลง หัวหน้าวง - อภิชัย พงษ์ลือเลิศ กระจับปี่ - อธิพัชร สุวรรณวัฒนะ ฆ้อง 3 ลูก - วรรศิลป์ สังจุ้ย ซอสามสาย - วาคภัฎ ศรีวรพจน์ ขลุ่ย - ประดิษฐ์ หนูจ้อย ตะโพน - ธเนศ ชิตท้วม กลองแขก - นิรันดร์ หรุ่นทะเล ฉิ่ง - วรวิทย์ ข้าวสามรวง ฉาบ - ศราวุฒิ พรมจิตต์ Rabam Srivijaya Rabam Srivijaya is the second in the set of the Five Archaeological Dance conceived by Mr.Dhanit Yupho, in 1967. The choreography was by Mrs.Lamoon Yamakup and Mrs.Chaleuy Sukavanich and composed the music was by Mr.Montri Tramod. The Srivijaya period extended between the 8th to 13th centuries and its influence expanded from Indonesia to cover the Southern part of Thailand. The choreography is based on images on the great stupa of Borobudur in Central Java and other artifacts of the Srivijaya period. The melody was also composed in the Javanese style.