Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ปริศนาพีระมิด...เก่าแก่ที่สุดในโลก..จริงหรือไม่ ? I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.247 в хорошем качестве

ปริศนาพีระมิด...เก่าแก่ที่สุดในโลก..จริงหรือไม่ ? I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.247 2 дня назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ปริศนาพีระมิด...เก่าแก่ที่สุดในโลก..จริงหรือไม่ ? I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.247

กุนุงปาดัง อินโดนีเซีย แหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่บนเนินภูเขาไฟที่ดับสนิท ด้วยความสูงกว่า 3,000 ฟุต หรือราว 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ชั้น จากชั้นแรกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ไล่เรียงลดขนาดไปทีละชั้นจนถึงชั้นสุดท้ายที่มีขนาดเล็กสุด นี่เองที่ทำให้กุนุงปาดังถูกมองว่ามีรูปทรงดูคล้ายพีระมิดขั้นบันได บนยอดเขากุนุงปาดังแต่ละชั้นเต็มไปด้วยแท่งหินบะซอลต์รูปทรงหกเหลี่ยม รวมจำนวนกว่า 50,000 ก้อน บางจุดพบการจัดวางแท่งหินในลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยม คาดว่าในอดีตน่าจะเคยถูกใช้งานสำหรับเป็นอาคารประกอบพิธีกรรมมาก่อน ที่นี่เคยถูกพูดถึงเมื่อปี พ.ศ. 2434 โดย Rogier Verbeek (โรกิเออร์ เฟอร์เบค) นักประวัติศาสตร์ และนักธรณีวิทยาชาวดัตช์ และอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2457 โดย Nicolaas Johannes Krom นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ นักประวัติศาสตร์ทั้งสองเชื่อว่า ที่นี่น่าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ฝังศพบุคคลสำคัญ เนื่องจากปรากฏเนินดินเล็ก ๆ อยู่ด้วย หลังผ่านพ้นการสำรวจของนักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์เมื่อร้อยปีที่แล้ว ดร.แดนนี ฮิลแมน นาตาวิดจาจา (Danny Hilman Natawidjaja) นักธรณีวิทยาแห่งอินโดนีเซียได้ทำการวิจัยขึ้นที่กุนุงปาดัง โดยนำเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ พร้อมกับเปิดเผยข้อมูลว่าแท้จริงแล้วกุนุงปาดังคือ พีระมิดเก่าแก่ที่สุดของโลก มีอายุอยู่ในปลายยุคน้ำแข็งหรือเมื่อกว่า 25,000 ปีมาแล้ว แม้งานวิจัยนี้จะเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของนักโบราณคดีทั่วโลก แต่ขณะเดียวกันก็ยขัดแย้งกับทฤษฎีในปัจจุบันที่เชื่อว่า การสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างซับซ้อนเช่นนี้ ควรเริ่มหลังจากมนุษย์รู้จักการเพาะปลูกเมื่อ 4,000 – 2,000 ปีที่แล้ว มากกว่าจะเป็นช่วง 25,000 ปี ที่มนุษย์ยังไม่เกิดการรวมกลุ่มทางสังคม และดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ จึงเป็นไปได้ยากที่จะสามารถกะเกณฑ์แรงงานหรือแสวงหาทรัพยากรมาสร้างโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่โตเช่นนี้ได้ นักวิชาการทั้งสาขาธรณีวิทยา และสาขาโบราณคดีต่างตั้งข้อสังเกตุว่า กระบวนการของ ดร.ฮิลแมน ที่นำชั้นดินภูเขาไฟไปทำการหาค่าอายุ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำมากำหนดอายุของโบราณสถานได้ เพราะดิน และหินย่อมมีอายุเก่าแก่เสมอ หากแต่ชั้นดินเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งก่อสร้างหรือกิจกรรมของมนุษย์หรือไม่ นั่นคือคำถามสำคัญ แม้วันนี้เรื่องราวของกุนุงปาดังจะถูกตีความออกไปต่าง ๆ นานา แต่อย่างน้อยยังเป็นที่น่ายินดีที่ว่า การถกเถียงกันในกระบวนการทางโบราณคดี ได้นำเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยสนับสนุนข้อพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายอย่างแข็งขัน ด้วยหลักการของเหตุและผล ซึ่งนั่นจะเป็นสิ่งที่ทำให้โบราณสถานแห่งนี้ไม่ถูกทิ้งร้างและอันตรธานหายไปกับเงาของอดีต

Comments