Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ขั้นแห่งฌาน - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา в хорошем качестве

ขั้นแห่งฌาน - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ขั้นแห่งฌาน - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

รูปฌาน 4 ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ คือ วิตก (การจรดจิตลงไปในอารมณ์, ตรึก) วิจาร (การเอาจิตผูกพันอยู่กับอารมณ์, ตรอง) ปีติ (ความยินดีในการได้อารมณ์ที่ต้องการ อรรถกถาจารย์ ท่านจัดเป็นสังขารขันธ์) สุข (ความสุขในการได้เสวยรสอารมณ์ที่ต้องการ อรรถกถาจารย์ ท่านจัดเป็นเวทนาขันธ์) เอกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว) ทุติยฌาน มีองค์ประกอบ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา ตติยฌาน มีองค์ประกอบ คือ สุข เอกัคคตา จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ คือ อุเบกขา เอกัคคตา อาจมีความสงสัยเกิดขึ้นว่า เหตุใดในฌานระดับที่สูงขึ้นองค์ประกอบที่ดูน่าพึงพอใจอย่าง ปีติ และสุข จึงหายไป เหลือเพียง อุเบกขา ข้อนี้ขอให้พิจารณาทำความเข้าใจไปตามลำดับ ในปฐมฌาน : การฟุ้งขึ้นของ นิวรณ์ 5 เป็นอาพาธของปฐมฌาน ในทุติยฌาน : ละวิตก วิจาร เพราะเป็นภาระของจิต เป็นโทมนัสอย่างละเอียด เป็นอาพาธของทุติยฌาน ในตติยฌาน : ละปีติ ความยินดี เพราะเป็นสภาพที่ทำใจให้กำเริบ พะวงในการเสวยสุขอันยอดเยี่ยมนั้น เป็นอาพาธของ ตติยฌาน จตุตถฌาน : ละความกำหนัดยินดีในสุข ละความคำนึงแห่งใจว่าเรากำลังเสวยสุข เพราะถือเป็นส่วนหยาบ เป็นปัจจัยแห่งรูปราคะ เป็นอาพาธของจตุตถฌาน อุเบกขา ในที่นี้ใช้ใน 2 ความหมาย คือ ในความหมายของพรหมวิหาร คือ ความมีใจเป็นกลาง ดูอย่างสงบ ซึ่งมีในฌานทุกชั้น โดยจะเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ และในความหมายของ อทุกขมสุขเวทนา คือ ไม่ใช่ทั้งสุขและทุกข์ เป็นสภาวะละเอียดประณีต เป็นปัจจัยสนับสนุนสติให้บริสุทธิ์ (ไม่ใช่อทุกขมสุขเวทนา ในความหมายของ ความสุขอย่างอ่อนๆ ความทุกข์อย่างอ่อนๆ หรือความรู้สึกเฉยๆ) การที่จตุตถฌาน มีองค์ประกอบหลัก คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ไม่ได้หมายความว่าพ้นจากภาวะที่เป็นสุข ตรงกันข้ามจตุตถฌานเป็นภาวะที่เป็นสุขประณีตอย่างยิ่ง เนื่องจากห่างไกลจากเสี้ยนหนามทางใจต่างๆ แม้อย่างละเอียด ส่วนทุกข์ทางกายนั้นดับไปตั้งแต่เข้าปฐมฌาน (สมาธิขั้นที่สูงถึงขั้นจตุตถฌานขึ้นไป แม้ไม่มีสุขเป็นองค์ธรรมแต่ก็จัดเป็นสุขที่ประณีตสูงขึ้นไปตามลำดับ พบได้ในพระสูตรหลายบท เช่น พหุเวทนียสูตร, 13/101 ; ปัญจกังคสูตร, 18/413-424 นอกจากนี้ ผู้สนใจศึกษาและตรวจสอบเพิ่มเติมจาก นิพพานสูตร, 23/238 ; อรรถกถามหาวิภังค์ ปฐมภาค ; วิสุทธิมรรค ; หนังสือพุทธธรรม เป็นต้น) อรูปฌาน 4 อากาสานัญจายตนะ ฌานที่กำหนดอากาส คือ ที่ว่าง อันอนันต์ วิญญาณัญจายตนะ ฌานที่กำหนดวิญญาณ (อันแผ่ไปในที่ว่าง) อันอนันต์ อากิญจัญญายตนะ ฌานที่กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใดๆ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฌานที่เลิกกำหนดสิ่งใดๆ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (ไม่มีสัญญาหยาบ มีสัญญาละเอียด) วิธีปฏิบัติขั้น อรูปฌาน คือ เมื่อเจริญสมาธิถึงขั้นจตุตถฌานแล้ว ก็ปล่อยกรรมฐานที่ยึดเป็นอารมณ์ออก มายึดอารมณ์ของอรูปฌาน แต่ละลำดับแทน อรูปฌานทั้งหลายมีองค์ฌานเพียง 2 อย่างเหมือนจตุตถฌาน คือ มีอุเบกขา และเอกัคคตา แต่มีข้อพิเศษคือสมาธิในอรูปฌานประณีตลึกซึ้งห่างไกลจากสิ่งรบกวนมากกว่ากันตามลำดับขั้น ปุถุชน บำเพ็ญสมถะสำเร็จ สูงสุดได้เท่านี้ ส่วนพระอนาคามี และพระอรหันต์ มีกำลังสมาธิ และปัญญา รวมถึงจิตที่น้อมดิ่งไปสู่นิพพาน สามารถเข้าถึงภาวะที่ประณีตสูงสุดอีกขั้นหนึ่ง นับเป็นขั้นที่ 9 คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ เป็นภาวะที่สัญญาและเวทนาหยุดการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นความสุขขั้นสูงสุด ถือเป็นภาวะที่ใกล้เคียงนิพพานมากที่สุด แต่ไม่ควรเข้าใจผิดว่าเมื่อเข้าสมาบัตินี้แล้วก็ตรัสรู้หรือบรรลุอรหัตตผลต่อไปภายในสมาบัตินั้นเลย พึงเข้าใจว่าเป็นปัจจัยเกื้อกูล อบรมสมาธิไว้ให้พร้อมสำหรับการบรรลุอาสวักขยญาณในลำดับต่อไป ความสำคัญของฌานสมาบัตินั้นพึงเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรียกว่าเป็น วิขัมภนนิโรธ (ดับนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ด้วยกำลังสมาธิ), ทิฏฐธรรมนิพพาน (นิพพานเห็นทันตา), สันทิฏฐิกนิพพาน (นิพพานที่ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง) เป็นนิพพานโดยปริยาย (โดยอ้อม) กล่าวคือ เป็นการดับกิเลสเหมือนกัน แต่เป็นการดับกิเลสเพียงข่มไว้ได้เท่านั้น เมื่อออกจากฌาน กิเลสก็เกิดได้อีก จึงไม่ใช่นิพพานที่แท้จริง เพราะนิพพานที่แท้จริงนั้นดับกิเลสได้โดยเด็ดขาดแล้ว กิเลสไม่เกิดขึ้นได้อีก ส่วนนิโรธสมาบัติเป็นภาวะที่ถือว่าใกล้เคียงอนุปาทิเสสนิพพานมากที่สุดท่านจัดเป็นนิพพานโดยนิปริยาย (โดยตรง) แต่ก็เป็นของชั่วคราวเช่นเดียวกัน

Comments