Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ไขปริศนาพระธาตุดุม สกลนคร в хорошем качестве

ไขปริศนาพระธาตุดุม สกลนคร 1 год назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ไขปริศนาพระธาตุดุม สกลนคร

บทความอาจารย์ สรรณสนธิ บูญโยทยาน /// สงสัยมานานแล้วว่า....ทำไมพระธาตุดุม (ปราสาทขอม) ที่อำเภอเมืองสกลนครจึงมีรูปร่างแปลกไปจากพระธาตุองค์อื่นๆในจังหวัดสกลนคร แถมยังใช้วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ของตัวห้องเป็น "อิฐเผา" และเสริมด้วยหินทรายกับศิลาแลงในบางส่วน แสดงว่าปราสาทหลังนี้ต้องนัยที่ไม่เหมือนปราสาทขอมอื่นๆในจังหวัดสกลนคร อนึ่ง การเรียกชื่อปราสาทขอมในแถบพื้นที่ภาคอีสานตอนบนใช้คำว่า "พระธาตุ" เพราะเป็นศัพท์ภาษาลาวล้านช้าง แต่ภาคอีสานตอนใต้ จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ใช้คำว่า "ปราสาท" เพราะเป็นอิทธิพลของกัมพูชา เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทเมืองต่ำ เป็นต้น ดังนั้นในที่นี้ขอใช้คำว่า "ปราสาทดุม" เพื่อให้สอดคล้องกับที่มาของโบราณสถานแห่งนี้ พยายามหาหนังสือและข้อมูลจากหลายแหล่งมาอ่านก็ยังไม่มีใครวิจารณ์ในประเด็นนี้ ในฐานะที่เป็น "นักพิภพวิทยา" ซึ่งมองมนุษยชาติในแง่มุมที่หลากหลายโดยผสมผสานระหว่างแขนงวิชาต่างๆตั้งแต่จุลชีวันยันต่างดาว จึงจำเป็นต้องออกมาวิเคราะห์ในมุมมองใหม่ เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าเวลานักโบราณคดีให้ความเห็นเกี่ยวกับความเป็นมาของโบราณสถานต่างๆ ท่านเหล่านั้นมักไม่ได้ฟันธงตรงๆแต่ใช้วิธีพูดแบบกึ่งแทงกั้ก เช่น คาดว่า น่าจะ เชื่อว่า สัณนิษฐานว่า มีความเห็นว่า อาจเป็นไปได้ว่า ผู้รู้กล่าวว่า ฯลฯ เนื่องจากท่านก็ไม่ได้เกิดในยุคนั้น ไม่ได้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง ไม่มีผู้ใดเป็นประจักษ์พยาน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีประมวลและศึกษาข้อมูลตามหลักวิชาการที่น่าจะสอดคล้องแล้วมาสร้างบทสรุปที่ "เชื่อว่าเป็นไปได้" ผมไม่เคยเรียนวิชาโบราณคดีแต่ก็อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคการหาข้อมูลแบบพนักงานสอบสวนที่ต้องทำสำนวนส่งอัยการ เริ่มต้นจากการตั้งสมมุติฐานแล้วไปหาข้อมูลทั้งเรื่องราวและวัตถุพยานมาประมวลว่า "เป็นไปได้ไม้" ส่วนจะถูกหรือผิดให้เป็นดุลพินิจของท่านผู้อ่าน จากประสบการณ์ที่ผ่านการทำงาน ดูงาน ฝึกอบรม ในประเทศต่างๆสามสิบกว่าประเทศ ได้พบปะพูดคุยกับนักวิชาการที่รู้เรื่องโบราณคดีหลายคน ท่านเหล่านั้นพูดตรงกันว่า "ห้ามเถียงกันในเรื่องประวัติศาสตร์" ทุกคนมีสิทธิให้ความเห็นและมุมมอง ไม่งั้นจะต้องต่อยปากกันแตกไปข้างนึง สามสิบปีที่แล้วผมอยู่ที่ประเทศอิสราเอลดินแดนแห่งพระคำภีร์ไบเบิ้ล มีโอกาสพูดคุยกับนักโบราณคดีหลายคนที่กรุงเยรูซาเลม ทุกคนยอมรับว่า "สรุปความเห็นตามวัตถุพยาน และเรื่องราวที่ประมวลจากจารึก หรือบันทึกเท่าที่ค้นพบ" หากได้ข้อมูลใหม่หรือค้นพบหลักฐานใหม่ก็สามารถเปลี่ยนข้อสรุปใหม่ได้....ไม่ว่ากันครับ ปราสาทดุมในมุมมองของผม 1.ยังไม่มีข้อมูลว่าปราสาทหลังนี้มีชื่อจริงๆว่าอะไร ชื่อพระธาตุดุม มาจากนิทาน "ดุมล้อเกวียน" มาหักตรงนี้พอดี เช่นเดียวกับปราสาทขอมจำนวนมากที่ได้ชื่อใหม่ตามเรื่องราวในตำนาน นิทานพื้นบ้าน หรือตั้งชื่อตามสถานที่ในปัจจุบัน นักโบราณคดีเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าปราสาทหลังนี้หรือปราสาทหลังนั้นมีชื่อจริงๆว่าอะไร เพราะหลายแห่งไม่มีการบันทึกไว้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว หรือไม่ก็ตั้งชื่อตามความนิยมในยุคปัจจุบัน เช่น ปราสาทนครวัด เป็นชื่อใหม่เนื่องจากมีการนำพระพุทธรูปเข้าไปไว้ในนั้นมากมายจนดูเหมือนว่าเป็นวัด แต่ความจริงปราสาทหลังนี้สร้างตามความเชื่อของศาสนาฮินดูสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 2.ปราสาทหลังนี้ดูแล้วน่าจะเก่าแก่กว่าปราสาทหลังอื่นๆในจังหวัดสกลนคร ด้วยเหตุผลของรูปร่าง และวัสดุก่อสร้างที่เป็นอิฐเผา เนื่องจากยุคทวาราวดี อาณาจักรเจนละ และอาณาจักรขอมตอนต้นนิยมใช้วัสดุอิฐเผา เช่นปราสาทวัดภู ที่จำปาสัก สปป.ลาว ปราสาทพระโค ที่ตำบลโรโล่ย เสียมราช ประเทศกัมพูชา ปราสาทภูมิโปน ที่จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทสัมโบร์ ไพรคุก (Sambor Prei Kuk) ที่กัมพูชา อนึ่งปราสาทขอมหลังแรกที่สร้างด้วยหินทรายคือปราสาทบากอง (Bakong Temple) ข้อมูลและภาพถ่ายโบราณสถานในประเทศกัมพูชา Sambor Prei Kuk สร้างในยุคก่อนอาณาจักรขอม (Pre Angkorian 6th - 9th Century) ซึ่ง ผศ.ดร.สพสันติ์ เพชรคำ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร ส่งมาให้ทาง Facebook ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 ทำให้ผมได้หลักฐานที่เชื่อว่า "พระธาตุดุม หรือ ปราสาทดุม" ที่สกลนคร น่าจะมีอายุเก่าแก่กว่าปราสาทอื่นๆในตัวจังหวัดเพราะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับปราสาท Sambor Prei Kuk อีกทั้งวัสดุก่อสร้างก็เป็นอิฐเผาเหมือนกัน

Comments