Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб Op-Amp คืออะไร ? EP.2 (วงจรขยายแบบไม่กลับเฟส Non-inverting Amplifier) в хорошем качестве

Op-Amp คืออะไร ? EP.2 (วงจรขยายแบบไม่กลับเฟส Non-inverting Amplifier) 4 месяца назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



Op-Amp คืออะไร ? EP.2 (วงจรขยายแบบไม่กลับเฟส Non-inverting Amplifier)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY หลังจากคลิปที่แล้ว EP ที่ 1 ผมได้พาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จัก และ เข้าใจคอนเซ็บโดยรวมของ Opamp กันไปแล้ว สำหรับ EP ที่2นี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ไปวิเคาะห์ วงจรที่ 2 กันต่อ นะครับ เป็นวงจรที่ถือว่า นิยมใช้ นิยมต่อ เป็นเบอร์ต้นๆ นั้นก็คือ วงจรขยายแบบไม่กลับเฟส หรือ Non-inverting Amplifier ซึ่งก็ถือว่าเป็นวงจร ที่ รักษาเกนการขยายของออปแอมป์ อีกวงจรหนึ่ง ที่ไม่ให้มันสูงล้นจนเกินไป ลักษณะวงจรก็คือ มีสัญญาณเข้าที่ input+ มีสัญญาณออกที่ขา Output มี R fb 1 ตัว ต่อวกกลับไปยัง input - และมี R1 ต่อในลักษณะ เป็นวงจรแบ่งแรงดัน ต่อลงกราวด์อีก1ตัวครับ สำหรับ R FB โดยปกติ... มันจะมีค่า มากกว่า R1 อยู่แล้วนะครับ สมมุติว่าถ้า R1 = 1kohm Rf ก็อาจจะสัก 4kohm อะไรอย่างงี้ครับ ซึ่งสูตรการคำนวณอัตรา เกนขยายเราจะใช้สูตรนี้ครับ Av = ตัวต้านทาน RF ส่วนด้วย ตัวต้านทาน R1 และก็ + อีก1 หลายๆท่านคงคิดว่า AV ย่อมาจากคำว่าอะไรครับ Amplification Voltage AV ก็คือ แอมป์ พลิ ฟิ เค ชั่น โวลต์เตจ นะครับ หรือ Gain การขยายนั้น ถ้าตัวต้านทาน Rf = 5kOhm ส่วนด้วย ตัวต้านทาน R1 = 1kOhm ก็จะเท่ากับ 4 + อีก1 คำตอบที่ได้ก็คือ 5 เท่า นั้นก็หมายความว่า ถ้าเราป้อน input 1V แรงดัน Output จะออกมาที่ 5V เราสามารถเพิ่้มเกณฑ์การขยาย โดยการ เพิ่มค่า Rf ได้อีกด้วยครับ อย่างเช่นถ้า Rf = 9kOhm และ R1 = 1KOhm เหมือนเดิม หารกันได้ 9 เอา 9 + อีก1 ก็จะได้เกณการขยาย เท่ากับ 10 เท่า นั้นก็หมายความว่า ถ้าเราป้อน input 1V Output จะออกมาที่ 10V ซึ่งสัญญาณขาเข้าจะเป็น Dc หรือ Ac ก็ได้ เพราะว่า เรามีแหล่งจ่าย ที่เป็นไฟ+และ - นี่ก็คือ สูตรการคำนวณพื้นฐานง่ายๆ ของวงจรขยายแบบไม่กลับเฟสครับ วงจรนี้ สังเกตุง่ายๆ ถ้าเกิด มีสัญญาณขาเข้าที่ input+ และมี R ต่อจาก output วิ่งเข้า Input- ก็แปลว่าใช่เลยครับมันก็คือวงจร Non-inverting Amplifier เดี๋ยว เราไปดูวงจรจริงกันบ้างครับ ผมใช้ powersupply 2 ตัว ต่ออนุกรมกัน ปล่อยแรงดันฝั่งละ 15V ก็จะได้ไฟ -15V Gnd 0V และก็ +15V ซึ่งผมจะป้อนไฟฟให้กับ Opamp เบอร์ 741 ขา8 จะเป็นไฟ+ และขา 4 จะเป็นไฟ- ใส่ตัวต้านทาน 2ตัว นั้นก็คือ Rfb 99.6 Kohm และก็ R1 50.99 Kohm อัตราการขยายถ้าม คิดตามสูตร เกนของมัน ประมาณ 2.95 เท่าครับ ต่อไป R Fb จะใส่ที่ขาOutputที่ 6 วกกลับไปหาขา 2 ที่เป็นขา input- และก็ใส่ R1 จั้มจากขา 2 เดี๋ยวจะผมต่อไปหากราวด์ นี่ครับต่อสายกราวด์ 1 เส้น ต่อ Output ออกมา และก็ต่อ input ออกมา ต่อกราวด์ออกมาอีกเส้นหนึ่ง ก็จะประมาณนี้ครับ ผมจะขยายเป็นไฟ DC ละกันนะครับ เพราะฉะนั้นผมจะใช้ ถ่าน3A ซึ่งมีแรงดันประมาณ 1.517V หรือ 1.52 เดี๋ยวมาดูกันว่า มันถูกขยายเท่าไหร่ครับ ถ้าตามสูตรต้องได้ 4.48V ออกมานะครับ เพราะว่าขยาย 2.95 เท่า ไปดูผลลัพท์ที่ได้กันครับ Output ที่วัดได้จริง นี่ครับได้ 4.48V จริงๆด้วยครับ ผลลัพท์ ตรงกันเป๊ะเลยครับ สูตรนี้ ถือว่า เที่ยงตรง และก็แม่นยำมากๆ ครับ ซึ่งผมพิสูจน์ให้เพื่อนๆให้ ดูแล้วครับ ก็เป็นอันจบและก็เสร็จสิ้นภารกิจ ของ EP นี้ สำหรับ EP ถัดไป ผมจะพาเพื่อนไปดู วงจรขยายแบบกลับเฟส หรือ Inverting Amplifier กันต่อนะครับ สำหรับคลิปนี้ ผมจะขออธิบายไว้เท่านี้ก่อน ขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามรับชมครับ

Comments