Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ตรัยกาล : ฉาย l นาฏยศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น в хорошем качестве

ตรัยกาล : ฉาย l นาฏยศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ตรัยกาล : ฉาย l นาฏยศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โครงการศิลปะการแสดงนิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2563 ภายใต้ชื่อ "ฉาย" โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง แขนงวิชานาฏยศิลป์อีสาน ร่วมกับสาขาดุริยางคศิลป์ แขนงวิชาดนตรีพื้นเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แนวคิดและแรงบันดาลใจ เทพสามฤดู ณ เมืองอุดม มีพระราชาองค์หนึ่งนามว่าท้าวตรีภพ พระองค์มีพระมเหสี 2 พระองค์ ชื่อนางมณีและนางสุทัศน์ พระราชายังไม่มีโอรสสืบราชสมบัติ ดังนั้นพระองค์จึงทำการบวงสรวงเทวดาเพื่อขอบุตร คำขอล่วงรู้ไปถึงพระอิศวร ดังนั้นพระองค์จึงให้พระพิรุณลงมาเกิด แต่เนื่องจากพระพิรุณไม่ต้องการแยกกับเพื่อนรักอีก 2 คน ซึ่งได้สาบานตนเป็นพี่น้องกับเขา เพื่อนทั้งสองคน ของพระพิรุณคือเทพหน้าเป็นยักษ์ ชื่อพระราหู และนางฟ้า ชื่อจินดาเมขลา ทั้งสองต้องการติดตามพระพิรุณไปเกิดบนโลกมนุษย์ด้วยจึงไปอ้อนวอนขอพระอิศวร ไปฝันเห็นใจในความรักของทั้งสามจึงประทานอนุญาต แต่โชคร้ายที่ว่าพระราชาต้องการบุตรเพียงคนเดียว ด้วยเหตุนั้นทั้งสามจึงต้องผลัดกันออกมาคนละฤดู คือพระพิรุณจะออกมาในฤดูฝนในรูปร่างของเทพบุตรรูปงาม ขนาดที่พระราหูจะออกมาในฤดูร้อนเป็นรูปร่างของยักษ์ใจดี และนางจินดาเมขลาจะออกมาในฤดูหนาวเป็นสาวงาม พระอิศวรได้ส่งเทพทั้ง 3 ลงมาจุติในครรภ์ของนางมณี ซึ่งตกมาเกิดในฤดูร้อนจึงเกิดเป็นพระราหูหลังจากที่พระราชาทราบข่าว ว่าลูกของตนที่เกิดมานั้นเป็นยักษ์ จึงขับไล่ นางมณีและพระราหูออกจากเมือง หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ได้พบเจออุปสรรคมากมาย และได้พลัดพรากจากกัน เทพสามฤดูกับนางมณีซึ่งเป็นแม่ของตนก็ได้ออกตามหาซึ่งกันและกัน ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้พบกันแล้วได้กลับไปที่เมืองอุดม พระราชาได้ล่วงรู้ความจริงทั้งหมด พระราชาจึงขับไล่นางสุทัศน์ออกจากเมือง จนกระทั่งมาถึงการสู้รบ ระหว่าง โคธรรพ์ กับเทพสามฤดู เหตุเกิดขึ้นเพราะพระนางสุทัศน์ โดนขับไล่ออกจากเมือง แล้วไปมีสามีใหม่ชื่อโคธรรพ์ นางยังแค้นพระนางมณีอยู่จึงสั่งให้โคธรรพ์ สามศรีและอัศตันไปจัดการสู้รบกับเทพสามฤดู (ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระพิรุณ) พระพิรุณพ่ายแพ้ให้กับโคธรรพ์ สามศรีและอัศตัน พระอิศวรจึงได้บันดาลให้เทพสามฤดูปรากฏตัวพร้อมกันทั้งสามตน จึงสามารถปราบโคธรรพ์ สามศรีและอัศตันได้ เรื่องราวก็จบลงด้วยความสุขของทุก ๆ คนที่ประกอบแต่คุณงามความดี จากการศึกษาหนังสือนิทานพื้นบ้านของไทย เรื่องเทพสามฤดู ผู้สร้างสรรค์ต้องการนำเสนอเรื่องราว และสัญญะของตัวหลัก ได้แก่ พระราหู นางจินดาเมขลา และพระพิรุณ ตั้งแต่กำเนิดจนถึงบทสรุป แสดงให้เห็นถึงการกำเนิดมาเพียงหนึ่งร่าง แล้วสลับกันไปในแต่ละฤดู แสดงถึงลักษณะนิสัย อาวุธประจำกาย จนถึงเทพทั้งสามได้แยกร่างออกจากกัน ซึ่งในเนื้อหาที่กล่าวมาเป็นวรรณกรรมไทย ของภาคกลาง ผู้สร้างสรรค์จึงหยิบยกมาจัดทำเป็นการแสดงในรูปแบบดนตรีและนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ในชื่อชุด ตรัยกาล ผู้สร้างสรรค์ผลงาน : นายบุญญฤทธิ์ ศรีแก้ว นางสาวภัทราวดี แนนไธสง นางสาวสุภาวดี ยกน้อยวงษ์ นายวิศรุต สุ่มมาตย์ นายพีรพงศ์ วิศวรักษ์ นายวัชรเกียรติ โยธะพล นายปริญญา บุตรแดงน้อย นายอรรถพล ผลเลิศ นายดนุสรณ์ บุพพิริยะกิจ แสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 ณ เวทีกลางแจ้งหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Comments