У нас вы можете посмотреть бесплатно เรือนไม้ยกพื้นสูง สร้างจากไม้เก่า "บ้านอิงสุข" или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
Mon Ing Suk Eco-Stay บ้านอิงสุข ลึกเข้าไปในบริเวณทางเข้าอุทยานแห่งชาติออบขาน เป็นที่ตั้งของเรือนไม้ยกพื้นขนาดกะทัดรัด ผลลัพธ์จากวิธีคิดและปฏิบัติงาน ที่ทีมยางนาสตูดิโอ ต้องการใช้โจทย์นี้สร้างสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง ที่ยังสามารถแสดงถึงทักษะเชิงช่างในแนวทางของ ยางนา สตูดิโอ ภายใต้ข้อจำกัดของ ที่ตั้งและงบประมาณการก่อสร้าง ถือเป็นตัวกำหนดลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ก่อรูปขึ้น เรือนไม้ยกพื้นระดับเรี่ยดิน ตั้งบนเนินดินยกสูง ถูกนำเอารูปแบบมาจาก ”ขนำ” หมายถึงเพิงที่พักชั่วคราวสำหรับชาวสวนในภาคใต้ของไทย สามารถใช้สอยพื้นที่ภายในเพื่อพักอาศัยและใช้พื้นที่บริเวณรอบตัวบ้านให้เกิดกิจกรรมอื่นๆได้ พื้นที่ใช้งานประกอบไปด้วยชานทางเดิน ทอดตามแนวยาวของเรือน มีบันไดขึ้น-ลงสองฝั่ง บริเวณลานดินระดับความสูงของชานทำหน้าที่เป็นพื้นที่นั่งพักอีกทั้งยังเชื่อมพื้นที่ส่วนครัว,ห้องน้ำ เติ๋น เข้าด้วยกันและบันไดทางขึ้นหลักทำหน้าที่แบ่งห้องพักทั้งสอง เพื่อความเป็นส่วนตัวและระบายอากาศ ทำหน้าที่เป็นอุโมงค์ลมจากทิศใต้-เหนือ เติ๋นที่ยกระดับขึ้นเพื่อทำกิจกรรมหน้าห้องพักหลัก แยกจากห้องพักรองที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานตามอเนกประสงค์ มี “เตาไฟ” เป็นพื้นที่ใจบ้าน สำหรับล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยน รวมถึงการทำอาหาร เชื่อมความสัมพันธ์ของผู้อยู่อาศัยเข้าด้วยกัน สัดส่วนของโครงสร้างไม้และรายละเอียดของวัสดุอื่นๆ ถูกประกอบด้วยเทคนิคการก่อสร้างพื้นฐานทั้งหมด ทั้งงานไม้เก่าที่ตั้งใจ”ละ”การทาเคลือบปิดผิวไม้ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของวัสดุและคงผิวสัมผัสเดิมไว้ ไผ่ซางหม่น ถูกแปรรูปด้วยขวาน(มุย)และมีด เป็นไผ่สับฟาก มาเป็นส่วนประกอบของลูกฟักบานประตูและหน้าต่าง การนำบานประตูไม้เก่า กลับมาใช้ใหม่(Reuse) วัสดุก่อสร้างหลักอื่นๆเช่นผนังอิฐบล็อค รวมถึงกระเบื้องหลังคา ล้วนเป็นวัสดุที่หาได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและซ่อมแซมในอนาคต วัสดุประเภทเหล็กจากร้านขายของเก่า นำมาดัดแปลงให้เกิดการใช้สอยใหม่ (Recycle) ไม่ว่าจะเป็นเสารับโครงหลังคา ราวจับบันไดกันตก รางแขวนโคมไฟ รางระบายน้ำในห้องน้ำรวมไปจนถึงของตกแต่งภายใน ที่มีการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ จากตลาดของเก่ามือสอง(กาดหนองฮ่อ) มาจัดวางเพื่อตกแต่งและใช้งานจริง ทางลงสู่ลานดิน มีการนำเสาไม้เก่ามาขุดด้วยขวาน บากเป็นขั้นบันได เป็นลักษณะจากเรือนพื้นถิ่นลาว เวียดนาม ที่นำมาประยุกต์วางลงบนฐานหินที่ได้จากลำน้ำที่เลียบไปกับแนวที่ดิน ปัจจัยในการก่อรูปสถาปัตยกรรมที่จำกัดมักพาเราไปสู่ผลการทดลองที่น่าสนใจเสมอ อาคารที่ไร้ข้อจำกัดอาจจะเป็นอาคารในฝันของสถาปนิกหลายทีม แต่สำหรับบางทีม “ข้อจำกัด” คือสิ่งที่ใช้พัฒนาศักยภาพทางความคิดได้เป็นอย่างดี บ้านหลังนี้ตั้งคำถามเรียบง่ายว่า ภายใต้งบประมาณและข้อจำกัดของที่ตั้งโครงการ เราจะสามารถก่อรูปสถาปัตยกรรมแบบใดขึ้นมาได้บ้าง หลอมรวมกับการเสาะหาทรัพยากรในรัศมีพื้นที่ก่อสร้าง การนำเอาวัสดุของเก่ากลับมาใช้ใหม่ ประกอบกันจนทำให้เกิด “บ้านอิงสุข” หลังนี้ขึ้นในที่สุด เชื่อว่าในอนาคตผู้คนจะยิ่งให้ความสำคัญและตั้งคำถามกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์จากผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิก โดยจะมองหาความหมายและคุณค่าบางอย่างจากสถาปัตยกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ Architects : Yangnar Studio Photographer credits : Rungkit Charoenwat *** ทางช่องไม่ได้มีการรับสร้างบ้าน เราเพียงแชร์ให้ดูเป็นไอเดียกับสมาชิกและท่านผู้สนใจเท่านั้น หากท่านใดสนใจแบบสามารถ ค้นหาข้อมูลจากเครดิตที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ พิกัด https://fastwork.co?rid=llwustudio