Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб นำนั่งสมาธิ สู่พุทธะ-พระนิพพาน ฉบับสมบูรณ์ หลวงพ่อสด จันทสโร в хорошем качестве

นำนั่งสมาธิ สู่พุทธะ-พระนิพพาน ฉบับสมบูรณ์ หลวงพ่อสด จันทสโร 1 год назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



นำนั่งสมาธิ สู่พุทธะ-พระนิพพาน ฉบับสมบูรณ์ หลวงพ่อสด จันทสโร

พระมงคลเทพมุนี สด จนฺทสโร นำนั่งสมาธิ ฉบับสมบูรณ์ จัดทำถวายบูชาธรรมโดย พระสมนึก นนฺทสิทฺโธ (วันชัยชนะ) และพระสุนทร ศุภวาที (สุภวาโท) พระภิกษุรุ่น 25 คว้าธงชัย วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี พระมงคลเทพมุนีได้อธิบายลักษณะของสมถะไว้ว่า หมายถึง การทำใจให้หยุด มีวิธีการคือการ รวมความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ไว้ที่ศูนย์กลางกายให้ได้ โดยมีบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใส และบริกรรมภาวนาว่า สัมมา อะระหัง เข้าช่วย ผลแห่งการเจริญสมถะย่อมทำให้เข้าถึงปฐมฌาน คือ ดวงปฐมมรรค และเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายพรหม กายอรูปพรหมไปตามลำดับ การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ การเห็นแจ้งด้วยธรรมจักขุของพระธรรมกาย รู้ได้ด้วย ญาณของพระธรรมกาย เกิดจากการเข้าถึงพระธรรมกาย และใช้ตา และญาณของพระธรรมกายพิจารณา ไตรลักษณ์ และเมื่อใช้ธรรมจักขุและญาณของพระธรรมกายพิจารณาอริยสัจ ในกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม ทำให้บรรลุมรรคผลไปตามลำดับขั้น ในหลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานของพระมงคลเทพมุนี จัดแบ่งกาย 8 กาย ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด ว่าเป็นสมถะ กาย 10 กาย ตั้งแต่กายธรรมโคตรภูหยาบ จนถึง กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดเป็นวิปัสสนา ที่มาข้อมูลวีดี : พุทธอุทยานนานาชาติ จ.หนองคาย ปทุมรัตน์ธรรมเจดีย์ วิชชาธรรมกาย วิชชาธรรมกาย เป็นวิชชาที่พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้ค้นพบ วิธีเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ให้ถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์ ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการปฏิบัติอย่างชัดเจนภายหลังจากพุทธปรินิพพานประมาณ 500 ปี วิชชาธรรมกายเป็นวิธีปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 มีวิธีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนชัดเจน ให้ถึงธรรมกาย ให้เกิดอภิญญา และวิชชา คือความรู้ความสามารถพิเศษ ได้แก่ วิชชา 3 วิชชา 8 (รวมอภิญญา 6) ชื่อว่า "วิชชาธรรมกาย" ให้เข้าถึงและรู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม สามารถให้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมทั้งสังขารและวิสังขารคือพระนิพพาน และเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานคู่กัน เป็นพื้นฐานสำคัญแก่การเจริญวิปัสสนาปัญญาถึงโลกุตตรปัญญา ได้อย่างดี จึงเป็นวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง วิชชาธรรมกายที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งสอนศิษยานุศิษย์จนตลอดชีวิตของท่าน และได้ถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน เนื้อหา 1 หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 1.1 ขั้นสมถกัมมัฏฐาน 1.2 ขั้นอนุวิปัสสนา 1.3 ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา 2 วิธีเจริญสมถภาวนา ถึงธรรมกาย 2.1 วิธีเจริญสมถภาวนาถึง 18 กาย - ถึงธรรมกาย 2.2 วิธีพิสดารกาย สุดกายหยาบกายละเอียด 2.3 วิธีเจริญสมาธิ: รูปฌาน 4 3 วิธีเจริญวิชชา 3 3.1 อาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า: วิชชา 3 3.2 วิธีเจริญวิชชา 3 ถึงมรรคผลนิพพาน 1.1 ขั้นสมถกัมมัฏฐาน มีหลักวิธีปฏิบัติเบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการ คือ กำหนด "ฐานที่ตั้งของใจ" ไว้ ณ ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ศูนย์กลางกายระดับสะดือเป็นที่สุด และเป็นต้นทางลมหายใจ (เข้า-ออก) กำหนด "บริกรรมนิมิต" คือ นึกให้เห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส ให้ใจรวมอยู่ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ (ตามข้อ 1) การเพ่งดวงแก้วกลมใส มีลักษณะเป็นการเพ่งแสงสว่าง (อาโลกกสิณ) เมื่อรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะเข้าถึง และได้รู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จนถึงธรรมกาย อันเป็นกายที่พ้นโลก เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นอุปการะสำคัญต่อการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาจากการที่ได้เห็นแจ้งและรู้แจ้ง ในสภาวะของสังขาร คือ ธรรมอันไปในภูมิ 3 ทั้งสิ้น และธรรมที่เป็นไปในภูมิที่ 4 เฉพาะที่เป็นสังขตธรรม ตามที่เป็นจริง ในสภาวะของวิสังขาร คือ พระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ อันเป็นคุณธรรมภายในของพระอริยเจ้า ทั้ง สภาวะนิพพาน ผู้ทรงสภาวะ และ อายตนะนิพพาน ตามที่เป็นจริง และ ในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีรอบ 12 1.2 ขั้นอนุวิปัสสนา เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมสามารถเจริญภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา ให้เกิดอภิญญา ความรู้ความสามารถพิเศษ และวิชชา ได้แก่ วิชชา 3 วิชชา 8 (รวมอภิญญา 6) จึงชื่อว่า "วิชชาธรรมกาย" 1.3 ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา เจริญอนุปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐาน 4 คือ มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายใน และ ณ ภายนอก เห็นแจ้งรู้แจ้งในสามัญญลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายอยู่แล้วนั้น ธรรมกายย่อมเจริญฌานสมาบัติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือมีสติพิจารณาเห็นอริยสัจ 4 ของกายในภพ 3 แล้วทำนิโรธ 1.4 วิธีเจริญสมถภาวนาถึง 18 กาย - ถึงธรรมกาย เมื่อท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล เพื่อให้กาย วาจา สงบ และบริสุทธิ์แล้ว ก็ตั้งใจชำระจิตใจให้สะอาดด้วยการเจริญภาวนาธรรมต่อไป 1.5 วิธีพิสดารกาย สุดกายหยาบกายละเอียดสำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึง 18 กายแล้ว ให้ฝึกพิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียดอีกต่อไป ให้เป็นวสี คือ ให้คล่องแคล่ว ชำนาญ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญวิชชาชั้นสูง และทำนิโรธดับสมุทัย 1.6 วิธีเจริญสมาธิ: รูปฌาน 4 ผู้ที่ถึงธรรมกาย และเจริญภาวนาจนถึง 18 กายแล้ว ก็ให้รวมใจทุกกายให้อยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด แล้วใจของธรรมกายพระอรหัตก็เพ่งลงไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อใจหยุดได้ถูกส่วน ประกอบด้วยองค์ 5 ได้แก่ วิตก วิจาร คือ ตรึกตรองประคองนิมิต ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานปรากฏขึ้นรองรับกายมนุษย์

Comments