Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ตามรอย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอน ออกญาเสนาภิมุข EP.3 в хорошем качестве

ตามรอย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอน ออกญาเสนาภิมุข EP.3 7 дней назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ตามรอย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอน ออกญาเสนาภิมุข EP.3

ได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก อ.ภราดร ศักดา สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ แห่งราชอาณาจักรไทย #ภราดรศักดา #สมเด็จพระนารายณ์มหาราช #เจ้าพระยาวิชเยนทร์ #ศิษย์อาจารย์ยอด #เรื่องเล่าชาวบ้าน #อาจารย์กมลวรรณ_ศิษย์อาจารย์ยอด #ออกญาเสนาภิมุข #สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 และพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ปราสาททอง โดยรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากทรงได้เจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในด้านการค้า มีการนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในประเทศไทยครั้งแรก ทำให้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 8 สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประเทศไทย ที่ทรงได้รับพระสมัญญานามว่าเป็น “มหาราช” #เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ หรือ #คอนสแตนติน #ฟอลคอน (กรีก: Κωνσταντίνος Γεράκης, กอนสตันตีโนส เยราจิส; อังกฤษ: Constantine Phaulkon; พ.ศ. 2190 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231) ในจดหมายของเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) หรือ โกษาปาน ส่งถึงบาทหลวง เดอ ลาแชส (Père François d’Aix de la Chaise) เรียกชื่อเขาในภาษาไทยว่า กาศตัน (มาจาก Constans ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวต่างประเทศเรียกคอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาแม่แล้ว ฟอลคอนยังสามารถพูดภาษาต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ภาษาไทย, ภาษาอิตาลี, ภาษาอังกฤษ, ภาษาโปรตุเกส และภาษามลายู ฟอลคอนไม่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้ แต่พอฟังเข้าใจ ฟอลคอนเกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ) เมื่อ พ.ศ. 2190 เข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ พ.ศ. 2205 จึงออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังดินแดนต่าง ๆ พ.ศ. 2218 เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในฐานะพ่อค้า เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่งล่าม นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหนายกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในเวลาอันรวดเร็ว พ.ศ. 2225 ฟอลคอนแต่งงานกับดอญญามารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า) ความใกล้ชิดระหว่างพระยาวิไชเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวพระยาวิชเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าพระยาวิชเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นข้ออ้างให้พระเพทราชาซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจกับนโยบายด้านต่างประเทศที่ส่งผลให้มีชาวต่างชาติมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากมาย วางแผนให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ในลพบุรี และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ไว้ใจมอบอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินให้พระเพทราชาใน พ.ศ. 2231 เมื่อพระเพทราชากุมอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็จับกุมพระยาวิชเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนิกุลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ในวัยเพียง 40 ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์กริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา บรรดาท่านขุนนางได้อัญเชิญ พระเพทราชา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษก ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา และปกครองโดยมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการขับไล่ชาวต่างชาติแทบทั้งหมดออกจากราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา การตีความกันไปต่าง ๆ นานาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้สมเด็จพระเพทราชาสั่งจับกุมและประหารชีวิตพระยาวิชเยนทร์เป็นผลให้จุดยืนของกรีก ในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปมิได้มากนัก ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วยกับการกระทำของพระองค์มองพระยาวิไชเยนทร์ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ฉวยโอกาสมาใช้อิทธิพลเข้าควบคุมพระราชอาณาจักรในนามของผลประโยชน์จากชาติตะวันตก แต่นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าพระยาวิไชเยนทร์เป็นแพะรับบาป เป็นช่องว่างให้สมเด็จพระเพทราชาสามารถเข้ายึดอำนาจจากองค์รัชทายาทได้โดยนำเอาความริษยา อิจฉาและความระแวงที่มีต่อพระยาวิชเยนทร์มาเป็นมูลเหตุสนับสนุน ขอบพระคุณทุกท่านที่รับฟังช่อง "อาจารย์กมลวรรณ ศิษย์อาจารย์ยอด" ฝากกด Like & Subscribe(กดติดตาม) และพูดคุยกันอีกช่องทางที่เฟสบุค "อาจารย์กมลวรรณ" ติดตามผลงานได้ที่ Facebook Page : "อาจารย์กมลวรรณ" ฝาก กดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ให้ด้วยนะค่ะ ขอให้สนุกกับการรับชม ค่ะ รายการมีเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องเล่า เรื่องผี เรื่องพระ ประวัติ การสร้างพระ การปลุกเสก พระเครื่องต่างๆ เรื่องเล่าต่างๆ โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟัง

Comments