У нас вы можете посмотреть бесплатно ประวัติ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ. นครสวรรค์ или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
ประวัติ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ. นครสวรรค์ ประวัติพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ชาติภูมิ หลวงพ่อเดิมถือกำเนิดเมื่อวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๒๒ (แรม ๑๓ ค่ำ นั่นมิใช่วันพุธ เป็นวันศุกร์ตรงกับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓ โยมบิดาชื่อ นายเนียม โยมมารดาชื่อ นางภู่ หลวงพ่อเดิม เพราะเหตุที่เป็นบุตรชายคนแรกของบิดามารดา ปู่ย่าตายายจึงให้ชื่อว่า “เดิม” เมื่อหลวงพ่อเกิดนั้นหลวงพ่อเฒ่า (รอด)ได้ล่วงลับไปแล้ว และผู้ครองวัดหนองโพก็ผลัดเปลี่ยนสมภารสืบต่อกันมา ดังกล่าวในตำนานสังเขปท้ายเล่ม การศึกษาของหลวงพ่อเมื่อรุ่นเยาว์วัยก่อนอุปสมบทนั้น คงจะไม่ไต้เล่าเรียนอะไรเป็นชิ้นเป็นอันนัก ยิ่งเป็นลูกคนโตของพ่อแม่เช่นหลวงพ่อด้วย โอกาสที่จะได้เล่าเรียนอยู่วัดอยู่วาในสมัยอายุเยาว์วัยก็ย่อมมีน้อยที่สุด เข้าใจว่า หลวงพ่อเห็นจะไม่ได้เล่าเรียนอะไรเป็นล่ำเป็นสัน จึงไม่เคยได้ยินใครเล่าให้ฟังถึงการศึกษาของหลวงพ่อในสมัยเยาว์วัย ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง โทศก ตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ โยมผู้ชายของหลวงพ่อได้พาไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุภาวะ ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์โดยมีหลวงพ่อแก้ววัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌายะ และหลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหานุศาสก์) วัดพระปรางค์เหลือง (๑) ตำบลท่าน้ำอ้อย กับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ตำบลสระทะเล เป็นคู่สวด เมื่ออุปสมบท พระอุปัชฌาย์ให้นามฉายาว่า “พุทฺธสโร” หลวงพ่อเงินวัดพระปรางค์เหลืองนี้ต่อมาเป็นพระครูพยุหานุศาสก์ เจ้าคณะแขวงพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรนับถือกันว่าเป็นพระผู้เฒ่าที่มีคาถาอาคมขลัง และมีชื่อเสียงทางรดน้ำมนต์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลนครสวรรค์ขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาได้เสด็จขึ้นแวะเยี่ยมและโปรดให้หลวงพ่อเงินรดน้ำมนต์ถวายเมื่อวันที่ ๑๑ สิงนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ (ดู - จดหมายเหตุเรื่องเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕ ครั้งที่ ๒) ครั้นอุปสมบทแล้วก็มาอยู่วัดหนองโพ และได้เริ่มเล่าเรียนศึกษาเป็นจริงเป็นจังในระยะนี้เพราะเหตุที่หลวงพ่อไม่มีโอกาสได้อยู่วัดอยู่วาเล่าเรียนศึกษากับพระมาตั้งแต่เยาว์วัย เหมือนกุลบุตรทั้งหลายโดยทั่วไปในสมัยนั้นความรู้ในวิชาหนังสือและวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติกุลบุตรอื่นๆ ที่เคยเป็นศิษย์วัด เมื่อระยะเด็กเขาศึกษาเล่าเรียนกันมาแต่ก่อนบวช หลวงพ่อต้องมาเล่าเรียนเอาเมื่อตอนอุปสมบทแล้วแทบทั้งนั้น แต่หลวงพ่อเป็นคนมีมานะพากเพียรเป็นยอดเยี่ยม หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า “ท่านมีนิสัยจะทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ คิดอะไรไม่ได้เป็นไม่ยอมหยุดคิด คิดมันไปจนออกจนเข้าใจ ดูอะไรไม่ได้เรื่องไม่ได้ความ ก็คิดค้นมันไปจนแตกฉาน” พออุปสมบทแล้ว หลวงพ่อก็ตั้งต้นศึกษาความรู้เป็นการใหญ่ เมื่อมาจำพรรษาอยู่ในวัดหนองโพตลอดเวลา ๗ พรรษาแรกได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและท่องคัมภีร์วินัย ๑๐ ผูก (๒) กับหลวงตาชม ซึ่งเป็นผู้ครองวัดหนองโพอยู่ในเวลานั้น และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและวิชาอาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นเล็กของหลวงพ่อเฒ่าและยังมีชีวิตอยู่ในสมัยนั้น คัมภีร์วินัย ๑๐ ผูก นั้นคือ หนังสือที่ต่อมาได้ตีพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มเรียกชื่อว่า บุพพสิกขาวรรณนา ของพระอมราภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส ภายหลังเมื่อนายพันถึงมรณกรรมแล้ว ได้ไปจำพรรษาและศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน ตำบลม่วงหัก อำเภอพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์ อยู่วัดบ้านบน ๒ พรรษา ในตอนนี้หลวงพ่อก็หาโอกาสไปเรียนและหัดเทศน์กับพระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทอง และไปมอบตัวเป็นศิษย์เรียนข้อธรรมและวินัยกับอาจารย์แย้ม ซึ่งเป็นฆราวาสและอยู่ที่วัดพระปรางค์เหลืองด้วย จนนับว่าเป็นผู้มีความรู้แตกฉานพอแก่สมัยนั้นก็เริ่มเป็นนักเทศน์