Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ตำนานเทวนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “ปางทวิชาวตาร” @เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต ครั้งที่ ๔ в хорошем качестве

ตำนานเทวนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “ปางทวิชาวตาร” @เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต ครั้งที่ ๔ 7 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ตำนานเทวนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “ปางทวิชาวตาร” @เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต ครั้งที่ ๔

ตำนานเทวนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “ปางทวิชาวตาร” @เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต ครั้งที่ ๔ เรื่องนารายณ์สิบปางเป็นแนวโน้มของการสร้างความเชื่อถือ ความศรัทธา ของพระผู้เป็นเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระอิศวร (พระศิวะ) พระพรหม (ยอดแห่งความเสียสละทั้งปวง) พระนารายณ์ (พระวิษณุ) พระผู้เป็นเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นี้รวมเรียกว่า “พระตรีมูรติ” (ความยินดีในความรัก) ซึ่งเป็นเจ้าของลัทธิศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดู จากการศึกษาวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องรามายณะและมหาภารตะ มักจะพบว่าอสูร ก็ดี เทพเทวดาก็ดีหรือมนุษย์ก็ดี เมื่อใดที่ต้องการในสิ่งที่ตนปรารถนาย่อมมักจะบำเพ็ญตบะ เมื่อความถึงพระผู้เป็นเจ้าส่วนใหญ่พระอิศวรหรือพระศิวะมักจะเป็นผู้ลงมาประทานพรให้ สำหรับพระวิษณุนารายณ์มักจะเป็นผู้ปราบปรามหรือผู้ทำลาย ส่วนพระพรหมจะเป็นผู้สร้าง และเป็นตัวแทนความดีงามทั้งปวง ดังเช่นที่เราพบคำเรียกเสมอว่า "พรหมลิขิต หรือ พรหมวิหาร" พระศิวะ หรือ พระอิศวรจะมีสัญลักษณ์สีขาว มีหน้าเดียว พระพรหม มีสัญลักษณ์สีขาว มีสี่หน้า หมายถึงจิตอันบริสุทธิ์ พระวิษณุนารายณ์มีสัญลักษณ์สีม่วง หมายถึงความทุกข์ ทรมาน เดือดร้อน อันเกิดจากโลกมนุษย์ มีผลทำให้พระองค์เป็นผู้ปราบปรามหรือทำลายล้าง นารายณ์สิบปางมีต้นเค้าเนื่องมาจากความศรัทธาเชื่อถือคล้ายกับมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งต่างกันในเรื่องนารายณ์สิบปางจะแสดงถึงค่านิยมสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ส่วนมหาเวสสันดรชาดกเป็นค่านิยมสูงสุดของศาสนาพุทธ ที่น่าสังเกตคือ เรื่องนี้แสดงความ เชื่อถือของชาวภารตะ ที่สร้างขึ้นเป็น ๓ วรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีอิทธิพลที่ก่อให้เกิด วรรณกรรมเรื่องใหญ่ เช่น มหาภารตะ มหาภารตยุทธ รามายณะหรือรามเกียรติ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้คุณค่าทางจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และนาฏศิลป์ ---------------------------------------- เนื้อเรื่องการแสดง 'ปางทวิชาวตาร' ปางทวิชาวตารได้กล่าวถึงอสูรตนหนึ่งชื่อ "ตาวัน" ได้พรจากพระอิศวรประสาท ให้แดนผืนป่า ๓ โยชน์เป็นกรรมสิทธิ์อยู่อาศัย ครั้นสัตว์ตนใดหลงเข้ามาก็จับกินเป็นอาหาร เมื่อทราบถึงพระอิศวรจึงให้เชิญพระนารายณ์มาปรึกษา พระนารายณ์ก็อวตารเป็นพราหมณ์ หนุ่มรูปงามบันดาลให้เป็นที่เสน่หาแก่บรรดาสรรพสัตว์ มนุษย์ ครุฑ และยักษ์ทั้งหลาย แล้วเสด็จ มายังเขตอสูรตาวัน เมื่ออสูรตาวันเห็นพราหมณ์รูปงามนิมิตก็เกิดมีใจรักใคร่ พราหมณ์ รูปงามจึงได้ขอดินแดนเพียง ๓ ก้าว อสูรตาวันเต็มใจยกให้ พราหมณ์อวตารเมื่อได้รับอนุญาตก็ เนรมิตกายใหญ่เท่ากับท้าวมหาพรหม ก้าวเท้าย่างไป ๓ ก้าว ก็สิ้นดินแดนของอสูรตาวัน แล้วพราหมณ์ก็กลับกลายเป็นพระนารายณ์ขับไล่อสูรตาวันออกจากดินแดนของตน หนีไปอาศัย อยู่ที่เมืองร้างแห่งหนึ่งชื่อ "มายัน" แล้วพระนารายณ์ก็เสด็จกลับไปบรรทมสินธุ์ในเกษียรสมุทร จรัญ พูลลาภ จัดทำคำบรรยาย --------------------------------- รายนามผู้แสดง ตำนานเทวนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง 'ปางทวิชาวตาร' พระนารายณ์ พงษ์ศักดิ์ บุญล้น พราหมณ์นารายณ์แปลง (ทวิชา) เอกนันท์ พันธุรักษ์ อสูรตาวัน วัชรวัน ธนะพัฒน์ พากย์ - เจรจา ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ หัสดินทร์ ปานประสิทธิ์ สุรเดช เดชอุดม ศักดิ์ คชเสนีย์ ------------------------------------ รายนามผู้บรรเลง - ขับร้อง ประกอบการแสดง หัวหน้าวง พงษ์พันธ์ เพชรทอง ปี่ พรชัย ตรีเนตร ระนาดเอก ภูธิชย์ พึ่งสัตย์ ระนาดทุ้ม สุรสิทธิ์ เขาสถิตย์ ฆ้องวงใหญ่ ภูดินันท์ ยินดี ฆ้องวงเล็ก โสรัฐ ม่วงท้วม เครื่องหนัง จตุพร ดำนิล เมธา จันทร์แก้ว ฉิ่ง อัญชิษฐา บุญเพ็ง เครื่องประกอบจังหวะ วิศรุต แซ่จุ่ง นลินนิภา ดีทุม ขับร้อง (ประกอบการแสดง) สุภางค์พักตร์ แก้วกระหนก รณชัย ผาสุขกิจ ภมรรัตน์ โพธิ์สัตย์ วันเพ็ญ จิตตรง สุภาภรณ์ ลาสอาด สรรพวิทย์ พงศ์จันทรเสถียร วันเฉลิม ปู่ซึ้ง กำกับการแสดง สมชาย อยู่เกิด ช่วยฝึกซ้อมการแสดง ธีรเดช กลิ่นจันทร์ กฤษกร สืบสายพรหม อนุชา สุมามาลย์ สุชาดา ศรีสุระ อำนวยการซ้อม พงษ์พิศ จารุจินดา วันทนีย์ ม่วงบุญ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ สมชาย อยู่เกิด อำนวยการฝึกซ้อมการบรรเลง - ขับร้อง สมชาย ทับพร ศิลปินแห่งชาติ ปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ ไชยยะ ทางมีศรี บุญช่วย แสงอนันต์ อุทัย ปานประยูร เสรี สินธุชัยภาคเสรี พิธีกร / ผู้ประกาศ ธัญนัฏกร กล่ำแดง ควบคุมฉาก ฉลาด เมืองจันทร์ ควบคุมเครื่องแต่งกาย น้ำทิพย์ ศิริมงคล จัดทำบท / คำบรรยาย จรัญ พูลลาภ สุกิตติ์ ทำบุญ เทคนิคแสง สี เสียง กลุ่มโรงละครแห่งชาติ จัดทำสูจิบัตร กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต บริหารงานทั่วไป พัชรินทร์ เหลืองเอี่ยม ควบคุมงานโรงละครแห่งชาติ วีรชาติ แพทย์รัตน์ ควบคุมงานวิชาการ อัมไพวรรณ เดชะชาติ ควบคุมงานดุริยางค์ไทย เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี ควบคุมงานนาฏศิลป์ สิริวรรณ อาจมังกร ที่ปรึกษา บุญตา เขียนทองกุล สมชาย อยู่เกิด ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ วันทนีย์ ม่วงบุญ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดง ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ------------------------------ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ “เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” ครั้งที่ ๔ วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รายการแสดง ๑. การบรรเลง - ขับร้องวงเครื่องสาย เพลงทวิชาวตาร เถา ๒. การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “ทุลกีวตาร” และ “ทวิชาวตาร” นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย สมชาย อยู่เกิด อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑

Comments