Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ IP & IT Mini-Bar ep.2 เขตอำนาจและลักษณะพิเศษของกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินฯ в хорошем качестве

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ IP & IT Mini-Bar ep.2 เขตอำนาจและลักษณะพิเศษของกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินฯ 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ IP & IT Mini-Bar ep.2 เขตอำนาจและลักษณะพิเศษของกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินฯ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ IP & IT Mini-Bar ep.2 เขตอำนาจและลักษณะพิเศษของกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม Guest Host : นายกลอน รักษา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และ นางสาวชนาภา ชอบพิเชียร ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ที่ปรึกษา : อัครพันธ์ สัปปพันธ์, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล เขตศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ครอบคลุมท้องที่ใด? -ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีเขตครอบคลุมท้องที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ในท้องที่ภูมิภาค ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงมีเขตศาลครอบคลุมท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อให้การยื่นคำคู่ความและเอกสารต่างๆ เป็นไปโดยสะดวกและประหยัด โจทก์ในคดีแพ่งสามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลจังหวัดที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ และโจทก์ในคดีอาญาจะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้น หรือจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับได้หรือท้องที่ที่เจ้าพนักงานทำการสอบสวนจำเลยก็ได้ เมื่อศาลจังหวัดได้รับคำฟ้องแล้ว จะมีการแจ้งมายังศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เพื่อรับคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยศาลจะใช้การพิจารณาคดีผ่านการประชุมทางจอภาพแทนการออกไปนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีที่ศาลจังหวัด มีคดีประเภทใดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ? -มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ดังต่อไปนี้ 1.คดีแพ่งและอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร เป็นต้น 2.คดีอาญาความผิดเกี่ยวกับการค้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ถึงมาตรา 275 และคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว 3.คดีแพ่งเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เช่น การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ การให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เลตเตอร์ออฟเครดิต และทรัสต์รีซีท เป็นต้น 4.คดีแพ่งเกี่ยวกับการกักเรือ 5.คดีแพ่งเกี่ยวกับการทุ่มตลาด และการอุดหนุนสินค้าหรือการให้บริการจากต่างประเทศ 6.คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล เช่น คดีเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า เป็นต้น 7.คดีแพ่งเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กรณีหากมีปัญหาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือไม่ ให้เสนอปัญหานั้นต่อประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้วินิจฉัย และคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เป็นศาลชำนัญพิเศษที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาเป็นการเฉพาะตัว แสดงว่ามีลักษณะพิเศษของกระบวนพิจารณาที่ไม่เหมือนกับศาลทั่วไป ยกตัวอย่างความแตกต่างที่สำคัญ? -ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้พัฒนาปรับปรุงการดำเนินกระบวนพิจารณาให้มีความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมหลายประการ เช่น เรื่องฟ้องเคลือบคลุม คำฟ้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่กำหนดว่า “คำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เข้าใจคำฟ้องในส่วนใด ศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ และจำเลยมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนคำฟ้องที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้...”เป็นการกำหนดให้แตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ที่จะต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น มิฉะนั้นจะเป็นฟ้องเคลือบคลุม อันเป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะเคร่งครัด ดังนั้น ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ หากโจทก์บรรยายฟ้องให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับก็เพียงพอ และศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้ชัดเจนขึ้นในส่วนที่จำเลยไม่เข้าใจคำฟ้องได้ โดยหลักจึงไม่มีกรณีฟ้องเคลือบคลุมเกิดขึ้น นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษประการอื่นอย่างไรอีกบ้าง? เรื่องเอกสารภาษาต่างประเทศ เนื่องจากในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีเอกสารพยานหลักฐานที่ได้จัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษเป็นจำนวนมาก หากให้คู่ความแปลเอกสารภาษาอังกฤษที่ได้อ้างส่งต่อศาลดังเช่นในกรณีศาลทั่วไปก็อาจก่อให้เกิดภาระแก่คู่ความเกินสมควร ดังนั้นตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ข้อ 23 จึงกำหนดว่า ในกรณีคู่ความตกลงกันไม่ทำคำแปลเอกสารทั้งฉบับหรือแต่บางส่วน และศาลเห็นว่ามิใช่พยานหลักฐานในประเด็นหลักแห่งคดี ศาลจะอนุญาตให้ส่งเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานต่อศาลโดยไม่ต้องทำคำแปลก็ได้ ขอย้ำว่าเอกสารที่คู่ความสามารถตกลงกันไม่ทำคำแปลจะต้องไม่ใช่พยานหลักฐานประเด็นหลักแห่งคดี หากเป็นประเด็นข้อพิพาทหลักแล้วจะต้องจัดทำคำแปลจึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย (ฟังเพิ่มเติม...ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ IP & IT Mini-Bar ep.2 เขตอำนาจและลักษณะพิเศษของกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ)

Comments