Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ปาฏิโมกข์แบบธรรมยุต พระอาจารย์มหาบรรลือ ฐานิสฺสโร (อักขระชัดเจน) в хорошем качестве

ปาฏิโมกข์แบบธรรมยุต พระอาจารย์มหาบรรลือ ฐานิสฺสโร (อักขระชัดเจน) 5 лет назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ปาฏิโมกข์แบบธรรมยุต พระอาจารย์มหาบรรลือ ฐานิสฺสโร (อักขระชัดเจน)

สวดแบบมคธ เป็นการสวดแบบเน้นความชัดเจนของคำ และการออกเสียงจะต่างจากในภาษาไทยเป็นบางตัว และบางตัวออกเสียงเหมือนในภาษาไทย ได้แก่ ก, ต, น, ป, ม, ย, ร, ล, ว, ต่อไปนี้จะแสดงพยัญชนะที่ออกเสียงต่างจากในภาษาไทย และแสดงวิธีการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องตามแบบมคธ โปรดทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ๑. พยัญชนะ ท ออกเสียง ด ๒. พยัญชนะ พ ออกเสียง บ ๓. พยัญชนะ ค ออกเสียง ก กล้ำ ง ๔. พยัญชนะ ช ออกเสียง จ กล้ำ ย ๕. พยัญชนะ ญ ออกเสียง ย แต่ให้เสียงขึ้นจมูก ๖. พยัญชนะ ฏ ออกเสียง ต แต่ให้เสียงขึ้นจมูก ๗. พยัญชนะ ฐ ออกเสียง ถ แต่ให้เสียงขึ้นจมูก ๘. พยัญชนะ ฑ ออกเสียง ด แต่ให้เสียงขึ้นจมูก ๙. พยัญชนะ ณ ออกเสียง น แต่ให้เสียงขึ้นจมูก ๑๐. พยัญชนะ ฬ ออกเสียง ล แต่ให้เสียงขึ้นจมูก ๑๑. พยัญชนะ ฆ ออกเสียง ค สะเทือนในลำคอ ๑๒. พยัญชนะ ฌ ออกเสียง ช สะเทือนในลำคอ ๑๓. พยัญชนะ ธ ออกเสียง ท สะเทือนในลำคอ ๑๔. พยัญชนะ ภ ออกเสียง พ สะเทือนในลำคอ ๑๕. พยัญชนะ ฒ ออกเสียง ท สะเทือนในลำคอ และให้เสียงขึ้นจมูกพร้อมกันไปด้วย ๑๖. พยัญชนะต่อไปนี้ เวลาสวดบางครั้งเสียงจะสูงกว่าปกติ คือ ข เป็น ค ฉ เป็น ช ถ เป็น ท ผ เป็น พ ส เป็น ซ ห เป็น ฮ ๑๗. คำที่สะกดด้วย เ-ย เช่น กะเรยยะ, ฯลฯ จะออกเสียงเป็น เอ สะกดด้วย ย ไม่ออกเสียงเป็น เออ สะกดด้วย ย เพราะภาษาบาลีไม่มีสระ เ-อ และเสียงที่ออกมาจะกล้ำกึ่งระหว่าง เอ กับ ไอ ๑๘. คำที่สะกดด้วย เ-ต และ เ-ก จะออกเสียงสั้นลงกว่าปกติ เช่น เอตตะกัง สวดว่า เอ็ด-ตะ-กัง เหต๎วา สวดว่า เห็ด-ตะ-วา ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, วิสุทธาเปกโข, เป็นต้น ๑๙. การออกเสียง ตะ ในคำว่า เหต๎วา จะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง คือจะออกเสียง ตะ เร็วและเบากว่าคำว่า เอตตะกัง ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับคำว่า อุตตะริท๎วิรัตตะติรัตตัง สวดว่า อุต-ตะ-ริด-ดะ-วิ-รัด-ตะ-ติ-รัด-ตัง มุขะท๎วารัง สวดว่า มุ-ขัด-ดะ-วา-รัง ส่วนมากนิยมว่า มุ-ขะ-ดะ-วา-รัง เสนาพ๎ยูหัง สวดว่า เส-นาบ-บะ-ยู-หั้ง น๎หาเยยยะ สวดว่า นะ-ห้า-เยย-ยะ เท๎ว สวดว่า ดะ-เว กัม๎ยะตัง สวดว่า กำ-มะ-ยะ-ตัง กัล๎ยา สวดว่า กัน-ละ-ยา พ๎ระห๎มะจาริง สวดว่า พะ-ระ-หะ-มะ-จา-ริง ตัส๎มา สวดว่า ตัด-สะ-หม้า อายัส๎มา สวดว่า อา-ยัด-สะ-หม้า ทิส๎วา สวดว่า ทิด-สะ-หว้า ทัต๎วา สวดว่า ทัด-ตะ-วา เชต๎วา สวดว่า เช็ด-ตะ-วา เปต๎วา สวดว่า เป็ด-ตะ-วา เป็นต้น ๒๐. นอกจากนี้ยังมีตัวที่ผสมด้วยพยัญชนะ ห เช่นคำว่า ตุณ๎หี, คิม๎หานันติ, อิมัม๎หา, คารัย๎หา, มูฬ๎โหสิ, ปัคคัณ๎เหยยะ, อัม๎หากัมเปตัง, ปัคคัย๎หะ เป็นต้น เมื่อออกเสียง ห ให้มีเสียงขึ้นจมูกด้วย ๒๑. คำว่า ภิยโยติ สวดว่า ภิยโยติ ไม่ใช่ พินโยติ (ภิย จะออกเสียงคล้ายกับคำว่า ภิ ธรรมดา แต่เสียงจะยาวกว่านิดหนึ่ง เพราะเพิ่มเสียงตัว ย เข้ามาสะกดด้วย) ทำนองเดียวกับคำว่า ขิยยะนะธัมมัง, ภิยโยกัม๎ยะตัง ๒๒. พยายามสวดให้ตัว ก ต่างจากตัว จ, ตัว ช ต่างจาก ตัว ย, ตัว ฉ ต่างจาก ตัว ส คำว่า ปะนายัส๎มันโต (ปะ-นา-ยัด-สะ-หมั้น-โต) ต่างจาก ปะนายัส๎มะโต คำว่า โหนติ ต่างจาก โหติ คำว่า อัญญัต๎ระ ต่างจาก อัญญะตะรัง คำว่า อาคัจฉันติ ต่างจาก อาคัจฉะติ ๒๓. เสียงสระให้สั้นยาวแตกต่างกัน เช่น สระ อะ ต่างจาก อา, สระ อิ ต่างจาก อี, สระ อุ ต่างจาก อู คำไหนที่ไม่ต้องออกเสียงก้องในลำคอ ก็อย่าให้มีเสียงก้อง

Comments