У нас вы можете посмотреть бесплатно วิธีวิปัสสนา อานาปานสติ รู้ลมหายใจ บรรลุธรรมชาตินี้ เสียงธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
อานิสงส์ อานาปานุสติ ฝึกทุกวัน อยู่กับลมหายใจเข้าออก อย่างเร็ว 7 วัน อย่างกลาง 7 เดือน อย่างช้า 7 ปี บรรลุธรรม อานาปานสติ เพื่อเจริญปัญญา อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฏก เล่ม ๑๔ อานาปานสติเป็นสุดยอดกรรมฐาน จนถึงขนาดที่อาจารย์อภิธรรมบางท่านยกให้เลยว่า อานาปานสติเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ และมหาบุรุษระดับพระพุทธเจ้า อานาปานสติมี ๒ แบบ คือ มีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก และ มีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าเป็นแบบแรก หายใจไป ทีแรกลมหายใจจะยาว ลมจะลึก ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ให้เธอคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า…” ให้มีสติอยู่เฉพาะหน้า คืออยู่กับปัจจุบันเท่านั้นเอง ไม่ได้ให้บังคับ ไม่ได้ให้ไปดัดแปลง ไม่ได้ให้ทำอะไร ไม่ได้ให้ตึง ไม่ได้ให้หย่อน มีสติอยู่เฉพาะหน้า ใครที่หย่อน เคลิ้มๆ น่ะขาดสติ ใครที่นั่งเพ่งๆ นั้นมันรุนแรงไป ไม่ใช่ แค่มีสติอยู่ “ให้คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกยาว ให้รู้ว่าหายใจออกยาว…” อานาปานสติ หมายถึง การมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก (อาน- : ลมหายใจเข้า[ + อปาน- : ลมหายใจออก + สติ : ความระลึก) อานาปานสติเป็นได้ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน บางคัมภีร์กล่าวว่าเป็นอารมณ์กรรมฐานของมหาบุรุษทั้งหลาย มีอยู่ 16 คู่ โดยเป็นกายานุปัสสนา 4 คู่ เป็นเวทนานุปัสสนา 4 คู่ เป็นจิตตานุปัสสนา 4 คู่ และเป็นธัมมานุปัสสนา 4 คู่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การกำหนดรู้ในอานาปานสติ ตั้งแต่ข้อ 1-4 เป็นการกำหนดรู้ภายในกาย จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1. หายใจออก-เข้ายาวรู้ 2. หายใจออก-เข้าสั้นรู้ 3. หายใจออก-เข้า กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง 4. หายใจออก-เข้า เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ เมื่อเจริญอานาปานสติ จนสัมปชัญญะทั้งสี่บริบูรณ์ก็จะเกิดสติสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อศีลวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกันก็จะเกิดธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อจิตตวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะวิริยะพละสมดุลกับสมาธิพละก็จะเกิดวิริยะสัมโพชฌงค์ขึ้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ 5. หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในความรู้สึกปีติ เกิดขึ้นเมื่อบรรลุทุติยฌาน (ปีติสัมโพชฌงค์) 6. หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในความรู้สึกสุข เกิดขึ้นเมื่อบรรลุตติยฌาน 7. หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในจิตสังขารทั้งปวง 8.หายใจออก-เข้า กำหนดระงับจิตตสังขารทั้งปวง (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน เรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ 9. หายใจออก-เข้า พิจารณาจิต 10. หายใจออก-เข้า จิตบันเทิงร่าเริงก็รู้ 11. หายใจออก-เข้า จิตตั้งมั่นก็รู้ (สมาธิสัมโพชฌงค์) 12. หายใจออก-เข้า จักเปลื้องจิตก็รู้ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์ (สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 13. หายใจออก - เข้า พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ (ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ) 14. หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ) 15. หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ) 16. หายใจออก - เข้า พิจารณาสละคืนขันธ์ (สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ (หรือวิทานะญาณ) มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ) ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒] อ้างอิงแหล่งที่มาให้ความแปล วิกิพีเดีย