Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб พระปฐมเจดีย์และตำนานการสร้างกว่า 2,000 ปี ตำนานพญากง พญาพาน в хорошем качестве

พระปฐมเจดีย์และตำนานการสร้างกว่า 2,000 ปี ตำนานพญากง พญาพาน 10 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



พระปฐมเจดีย์และตำนานการสร้างกว่า 2,000 ปี ตำนานพญากง พญาพาน

#พระปฐมเจดีย์ และตำนานการสร้างกว่า 2,000 ปี ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ องค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งได้ส่งสมณฑูตมาประกาศพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีมีความเห็นตรงกันว่า พระโสณะเถระ และพระอุตระ ซึ่งเป็นสมณฑูตได้เดินทางมาตั้งหลักฐานการประกาศพุทธศาสนาที่นครปฐมเป็นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 3 แต่เดิมสร้างเป็นพระสถูปโบราณทรงบาตรคว่ำแบบเจดีย์อินเดีย และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบปฏิสังขรในสมัยรัชกาลที่ 4 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงผนวชและได้ธุดงค์มานมัสการองค์พระเจดีย์ องค์พระเจดีย์องค์เดิม ยอดปรางค์สูง 42 วา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลาผนวช ได้ทรงเสวยราชสมบัติในราว พ.ศ.2396 ทรงโปรดให้ก่อสร้างพระเจดีย์ใหญ่หุ้ม องค์เดิมไว้ให้สูง 120 เมตร พร้อมสร้างวิหารทิศและคต พระระเบียงโดยรอบ งานไม่ทันแล้วเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ปฏิสังขรองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างหอระฆังและประดับกระเบื้องจนสำเร็จ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ปฏิสังขรพระวิหารหลวงเขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่างๆ ไว้ที่ผนังด้านใน ทรงโปรดให้รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ และสร้างใหม่เพื่อประดิษฐาน พระร่วงโรจนฤทธิ์ ปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ศรีสัชนาลัย (จังหวัดสุโขทัย) ประกอบด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมากเหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร #พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป ชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2466 แต่ประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศ 7.42 เมตร หรือราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐานทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์และพระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระ เป็นกิริยาห้าม มีพระอุทรพลุ้ยออกมา ห่มจีวรบางคลุมแนบติดพระวรกาย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ทำด้วยโลหะทองเหลืองหนัก 100 หาบ การอัญเชิญพระร่วงโรจนฤทธิ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 จำเป็นต้องแยกชิ้นมาและมาประกอบเข้าด้วยกันที่จังหวัดนครปฐม แล้วเสร็จเป็นองค์ ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่ องค์พระปฐมเจดีย์เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เป็นที่เคารพสักการะของบรรดาศาสนิกชนทั่วโลก ย้อนยุคไปประมาณ 1,000-1,600 ปี ดินแดนย่านนครปฐม ราชบุรี และอำเภออู่ทองของจังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนี้ เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง มีชื่อว่า ทวาราวดี มีเมืองศรีวิชัย หรือนครปฐมในปัจจุบัน เป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อกับต่างประเทศ คือ จีน อินเดีย ชวา จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดได้ ยืนยันว่า เป็นจุดที่มีการติดต่อและรับเอาศิลปวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามาในสมัยนั้น พ.ศ. 1100 เมืองนครปฐมโบราณเป็นเมืองขนาดใหญ่ระดับรัฐนับถือพุทธศาสนา เมืองนครปฐมโบราณมีลำน้ำบางแก้วผ่ากลาง เส้นผ่าศูนย์กลางของเมืองราว 3 กิโลเมตร ถือว่ามีขนาดใหญ่กว่าเมืองอื่นๆ ในสุวรรณภูมิ แสดงให้เห็นความสำคัญที่มีเหนือบ้านเมืองอื่น และเหมาะสมกับศูนย์กลางวัฒนธรรมทวารวดี-ศรีวิชัยมากที่สุดในสุวรณภูมิ ส่วนพระปฐมเจดีย์ที่เราเห็นอยู่ปัจจุบัน สร้างขึ้นในยุคนี้เป็นเจดีย์ทรงกลมฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่อยู่นอกเมืองด้านทิศตะวันตก มีชื่อเรียกว่า มหาธาตุหลวงบ้าง, พระธมบ้าง พ.ศ. 1,500 สภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงเป็นที่ดอนมากขึ้น ฝั่งทะเลห่างไกลออกไป แม่น้ำท่าจีนแคบลง เมืองนครปฐมโบราณที่ค้าขายกับนานาชาติทางทะลกลายเป็นเมืองห่างไกลท่างทะเล มีบ้านเมืองอื่นเติบโตขึ้น เช่น ละโว้ (ลพบุรี), อโยธยาศรีรามเทพ (อยุธยา), สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี), ราชบุรี, เพชรบุรี ฯลฯ ทำให้ศูนย์กลางการคมนาคมค้าขายย้ายไปอยู่ทางฟากตะวันออกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองละโว้ เพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีขนาดใหญ่สำเภาเข้าออกสะดวก อำนาจทางการเมืองก็กว้างขวาง เพราเป็นเครือญาติกับอาณาจักรกัมพูชาที่ทะเลสาบเมืองเสียมเรียบ กับบ้านเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขง (อีสานและลาว) แล้วยังขยายเครือข่ายขึ้นไปถึงลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำสาละวิน ฯลฯ เป็นเหตุให้เมืองนครปฐมโบราณลดความสำคัญและรกร้างไป หลัง พ.ศ.1800มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เจ้านายรัฐสุโขทัย (หลานพ่อขุนผาเมือง) ทรงผนวชเป็นภิกษุที่รัฐสุโขทัย ทรงจาริกแสวงบุญ และทรงพาญาติโยมจากที่ต่างๆ มาบูรณปฏิสังขรณ์มหาธาตุหลวง หรือที่เรียกเป็นภาษาเขมรว่าพระธม (ธม แปลว่าใหญ่) ขณะเป็นเนินดินขนาดมหึมา จึงสร้างสถูปเหนือเนินดินขึ้นเป็นปรางค์ พ.ศ. 2100 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้โยกย้ายผู้คนและบ้านเล็กเมืองน้อยมารวมกันเป็นเมืองใหญ่ไว้ต่อต้านข้าศึก ที่บริเวณปากลำน้ำบางแก้วกับแม่น้ำท่าจีนสบกันให้ชื่อว่า เมืองนครไชยศรี [ตามตำนานนิทานท้าวแสนปมว่าพระเจ้าไชยสิริ จากเมืองเชียงแสน มาสร้างเมืองนี้ไว้นานแล้ว จึงนำพระนามไชยสิริ มาเป็นไชยศรี] เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Comments