Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ลาก่อนสามพราน в хорошем качестве

ลาก่อนสามพราน 11 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ลาก่อนสามพราน

00:00 | ประวัติความเป็นมา 00:54 | ลาก่อนสามพราน 05:12 | End Credits ลาก่อนสามพราน “ลาก่อน สามพราน ลาก่อน สามพราน ลาก่อน สามพราน ที่ รัก เอย…” เนื้อร้องท่อนสุดท้าย จากบทเพลง “ลาก่อนสามพราน” ที่ให้ความรู้สึก บีบหัวใจ สะเทือนอารมณ์ กับเหล่านักเรียนนายร้อยตำรวจในการต้องจากลาสถาบันอันเป็นที่รัก ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาอย่างเข้าถึงอารมณ์ จากปลายปากกาของครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ “ครูแก้ว อัจฉริยะกุล” บทเพลงนี้ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้ประพันธ์ทำนองขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เมื่อครั้งที่ครูเอื้อได้มีโอกาส มาสอนดนตรีให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ ครูเอื้อได้สัมผัสถึงความรัก ความผูกพัน ที่นักเรียนนายร้อยตำรวจมีต่อสถาบัน และเกิดความเศร้า ความอาลัย ในช่วงเวลาที่จบการศึกษาต้องจากลาสถาบันอันเป็นที่รักในขณะที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์คำร้องในบทเพลงนี้ ประพันธ์คำร้องออกมาได้อย่างลึกซึ้ง สวยงาม สอดคล้องกับทำนองเพลงที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้ประพันธ์ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนอยากจะให้สังเกต การเล่นคำ ซึ่งมีความไพเราะมาก โดยเฉพาะคำว่า จำลา จำใจ จำร้าง และ จำนรรจ์ จากบทเพลงนี้ “ลาก่อน สามพราน” ในปี พ.ศ.2566 เพลง “ลาก่อนสามพราน” ได้ถูกนำมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่อีกครั้ง และ ขับร้อง-บรรเลง ในรูปแบบวงป็อปออร์เคสตรา (Pop Orchestra) มีนักร้อง นักดนตรี ร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ให้กับเพลงนี้กว่า 70 ชีวิต และได้โปรดิวเซอร์มือทอง ภราดร เพ็งศิริ (ครูเต๋า) มาเป็นผู้ควบคุมการผลิต และปิติ เกยูรพันธ์ ที่ปรึกษาด้านดนตรี โดยในครั้งนี้ถูกตีความโดยนักดนตรีรุ่นใหม่ ของวงดุริยางค์ตำรวจเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เรียบเรียงเสียงประสาน โดย ร.ต.อ.ปริญญา ดุริยวิจิตร และส.ต.ต.หญิง เกวลี ผการัตน์ บัณฑิตสาขาดุริยางคศิลป์จากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และควบคุมวง (Conductor) โดย พ.ต.ท.กิตติกุล วรรณกิจ สารวัตร ฝ่ายดนตรี กองสวัสดิการ สำนักงานกำลังพล และมีผู้กองไวกิ้ง ร.ต.อ.หญิง ภัทรศยา ฤกษ์รัตน์ ผู้ผ่านเข้ารอบ 36 คนสุดท้าย ในรายการ The Golden Song ซีซั่น 5 เป็นผู้ขับร้อง บันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่ Studio 28 กรุงเทพมหานคร เมื่อ กันยายน 2566 และทำการเผยแพร่ ผ่านสื่อแห่งยุคสมัยนี้ (2566) ที่เรียกว่า Social Media ในทุกช่องทาง บันทึกโดย พล.ต.ท.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผู้บัญชาการ สำนักงานกำลังพล กันยายน 2566

Comments