У нас вы можете посмотреть бесплатно อนุสสติธรรมผู้ไม่ประมาท или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
พระธรรมในอุเทสนี้ชวนสนุกตั้งแต่เริ่มเห็นเจตนารมณ์ #พระมหาเถราจารย์สุทัศน์_โกสโล #พระราชภาวนาวัชราจารย์ ท่านเมตตาในธรรมเรื่อง อนุสติ ๑๐ (ความระลึกถึง, อารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ — recollection; constant mindfulness) สำหรับ วิภังค์ การขยายในหลักธรรมต่างๆ มีรายละเอียดที่เข้าใจได้ง่ายและยังได้ให้สติในกลอนสนุกๆสอดแทรกไว้ในเรื่องของธรรมที่ทำลายศีลและธรรม ชี้ให้เห็นโทษชัดเจนของสุรา อันเป็นอาวุธของธรรมทำลายชีวิตแห่งชาติตนและผู้อื่นไว้ในเทศนาบทนี้ด้วย ๑. พุทธานุสติ (ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระองค์ — recollection of the Buddha; contemplation on the virtues of the Buddha) ๒. ธัมมานุสติ (ระลึกถึงพระธรรม คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระธรรม — recollection of the Dhamma; contemplation on the virtues the Doctrine) ๓. สังฆานุสติ (ระลึกถึงพระสงฆ์ คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระสงฆ์ — recollection of the Sangha; contemplation on the virtues of the Order) ๔. สีลานุสติ (ระลึกถึงศีล คือ น้อมจิตรำลึกพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติปฏิบัติบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย — recollection of morality; contemplation on one’s own morals) ๕. จาคานุสติ (ระลึกถึงการบริจาค คือ น้อมจิตระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรมคือความเผื่อแผ่เสียสละนี้ที่มีในตน — recollection on liberality; contemplation on one’s own liberality) ๖. เทวตานุสติ (ระลึกถึงเทวดา คือ น้อมจิตระลึกถึงเทวดาทั้งหลายที่ตนเคยรู้และพิจารณาเห็นคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดานั้นๆ ตามที่มีอยู่ในตน — recollection of deities; contemplation on the virtues which make people become gods as can be found in oneself) ๗. มรณสติ (ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาที่จะให้เกิดความไม่ประมาท — mindfulness of death; contemplation on death) ๘. กายคตาสติ (สติอันไปในกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ อันไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา — mindfulness occupied with the body; contemplation on the 32 impure parts of the body) ๙. อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก — mindfulness on breathing) ๑๐. อุปสมานุสติ (ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือ ระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์ — recollection of peace; contemplation on the virtue of Nibbana) อ้างอิง:พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ............................................. #ราชสกุลนิลรัตน์_ณ_อยุธยา ผู้ถวายงาน กราบขออนุโมทนาทุกท่านที่ใส่ใจในคำสอนครู บาอาจารย์ทุกรูปผู้เป็นเนื้อนาบุญเป็นบุคคลที่มีความเพียรในการปฏิบัติอบรมจิตใจขอให้ท่านมีดวงตาแห่งธรรมและประสพความสำเร็จความเจริญทุกเมื่อ